อุดมการณ์รวมกลุ่มไทย

อุดมการณ์รวมกลุ่มไทย เป็นอุดมการณ์ที่รุ่งเรืองในประเทศไทยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง 1940 ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนของชนชาติเดียวกันที่มีจุดมุ่งหมายในการรวมดินแดนทางการเมืองของชาวไทยทั้งหมดในประเทศไทย พม่า, มาลายา, กัมพูชา และลาวภายใต้รัฐไทยใหญ่ ซึ่งบางครั้งเรียกเป็น มหาอาณาจักรไทย

แผนที่ประวัติอาณาเขตต์ไทย พ.ศ. 2483 แสดงดินแดนอ้างสิทธิ์ที่สูญเสียไป แผนที่ฉบับต่าง ๆ ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์รวมกลุ่มไทย

ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่แทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลไทยได้สานความสัมพันธ์อันดีกับอำนาจจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสที่ปกครองดินแดนเพื่อนบ้าน คือ พม่า มาลายา กัมพูชา และลาว ความรู้สึกต่อต้านอาณานิคมถูกกีดกั้นอย่างแข่งขัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารภายใต้การนำของแปลก พิบูลสงครามขึ้นมามีอำนาจใน พ.ศ. 2481 แสวงหาการฟื้นฟูดินแดนที่"สูญเสียไป"อย่างแข็งขัน และยังได้ส่งเสริมอุดมการณ์รวมกลุ่มไทยอย่างจริงจัง[1] ผู้ออกแบบทรงปัญญาของชาตินิยมไทยใหม่คือหลวงวิจิตรวาทการ ประเทศนี้เปลี่ยนชื่อจากสยามไปเป็นไทย คำว่า "ไทย" ได้รับการตีความไปในทางเฉพาะ โดยไม่ได้สื่อเพียงเฉพาะผู้พูดภาษาไทย (สยาม) กลาง หรือแม้แต่กลุ่มภาษาไททั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมดินแดนทั้งหมดที่เคยอยู่ภายใต้อาณาจักรอยุธยาและรัตนโกสินทร์ด้วย[2]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในยุโรปเพื่อยึดดินแดนในกัมพูชาและลาวในสงครามระยะสั้น หลังการบุกครองไทยของญี่ปุ่น (ธันวาคม พ.ศ. 2484) ประเทศไทยมีจุดประสงค์ร่วมกันกับญี่ปุ่นและยึดครองพม่ากับมาลายาบางส่วน การปกครองของไทยไม่ได้รับการตอบรับจากประชากรกลุ่มนี้ โดยเฉพาะในลาวที่ทางการฝรั่งเศสส่งเสริมวาทศิลป์และการปฏิรูป "บูรณะ" วัฒนธรรมลาวภายใต้ข้าหลวงใหญ่อินโดจีน ฌ็อง เดอกู แต่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อลดความสนใจต่ออุดมการณ์รวมกลุ่มไทย และกระชับความร่วมมือลาวภายใต้ระบบอาณานิคมฝรั่งเศส แทนที่จะพัฒนาความรู้สึกชาตินิยมในการแบ่งแยกดินแดนลาว[3][4][5] ถึงกระนั้น การต่อต้านอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนของชนชาติเดียวกันเกิดขึ้นในกลุ่มชาตินิยมลาวที่มีเป้าหมายนำภาคเหนือของไทยส่วนใหญ่มาอยู่ภายใต้การปกครองของลาว พลเมืองใหม่ในไทยไม่กี่คนเท่านั้นที่ระบุตนเองเป็นชาว "ไทย" ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม สงครามสิ้นสุดที่ความพ่ายแพ้ของไทยและการโค่นล้มรัฐบาลทหาร ชายแดนไทยจึงกลับมามีสภาพเดิมก่อนสงครามตามสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Scupin, Raymond (1986). "Thailand as a Plural Society: Ethnic Interaction in a Buddhist Kingdom". Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies. 2 (3): 115–140. ISSN 0741-2037. JSTOR 40860216.
  2. 2.0 2.1 Paul Kratoska and Ben Batson, "Nationalism and Modernist Reform", in Nicholas Tarling (ed.), The Cambridge History of Southeast Asia, Volume 2, Part 1: From c. 1800 to the 1930s (Cambridge University Press, 1999), p. 305.
  3. Stuart-Fox, Martin (1995). "The French in Laos, 1887-1945". Modern Asian Studies. 29 (1): 111–139. doi:10.1017/S0026749X00012646. ISSN 0026-749X. JSTOR 312913. S2CID 146208659.
  4. Stuart-Fox, Martin (1993). "On the Writing of Lao History: Continuities and Discontinuities". Journal of Southeast Asian Studies. 24 (1): 106–121. doi:10.1017/S0022463400001521. ISSN 0022-4634. JSTOR 20071508. S2CID 154046093.
  5. Pholsena, Vatthana (2004). "The Changing Historiographies of Laos: A Focus on the Early Period". Journal of Southeast Asian Studies. 35 (2): 235–259. doi:10.1017/S002246340400013X. ISSN 0022-4634. JSTOR 20072579. S2CID 153487535.