อีริก ซูเทอร์แลนด์ โลแมกซ์ (30 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012)[1] เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารแห่งกองทัพบกบริติช ที่ถูกส่งไปยังค่ายเชลยศึกสงครามของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1942 เขาได้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดสำหรับหนังสือของเขา, The Railway Man เกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในช่วงก่อน, ระหว่าง และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ชนะเลิศในการรับรางวัล NCR Book และ PEN/Ackerley Prize

อีริก เจ. โลแมกซ์
เกิดอีริก ซูเทอร์แลนด์ โลแมกซ์
30 พฤษภาคม ค.ศ. 1919(1919-05-30)
เอดินบะระ สกอตแลนด์
เสียชีวิต8 ตุลาคม ค.ศ. 2012(2012-10-08) (93 ปี)
เบริก-อะพอน-ทวีด อังกฤษ
สัญชาติบริติช
อาชีพเจ้าหน้าที่นายทหาร, นักเขียน
มีชื่อเสียงจากThe Railway Man

ช่วงชีวิตแรก แก้

โลแมกซ์ เกิดในเอดินบะระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 เขาได้ลาออกจากรอยัลไฮสคูล, เอดินบะระ ตอนอายุ 16 ปี ภายหลังจากการเข้าร่วมชิงงานบริการพลเรือนและได้รับการว่าจ้างงานในที่ทำการไปรษณีย์[2][3] เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1936 เขาได้กลายเป็นสเมียนการเรียงลำดับข้อมูลและเจ้าหน้าที่การสื่อสาร(telegraphist)ในเอดินบะระ[4] เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1937 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับชั้นธุรการ[5]

รับใช้ในกองทัพ แก้

ในปี ค.ศ. 1939 ตอนอายุ 19 ปี โลแมกซ์ได้เข้าร่วมเหล่าทหารสื่อสาร (Royal Corps of Signals) ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่กำลังร้อนระอุขึ้น[6] ในเวลาต่อมาก็ได้เข้าไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่นายร้อยทหารที่ 152 เขาได้รับหน้าที่เป็นร้อยตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เขาได้รับหมายเลขบริการ 165340[7] เขาได้เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารการสื่อสารวิทยุที่จะเข้าไปประจำการในกรมทหารภาคสนามที่ห้า, กองปืนใหญ่

ในฐานะที่เป็นร้อยตรี เขาได้ถูกจับกุมโดยทหารญี่ปุ่นภายหลังจากการยอมจำนนที่สิงคโปร์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942[6] เขาพร้อมกับเชลยศึกแห่งตะวันออกไกล (Far East Prisoners Of War-FEPOW) คนอื่น ๆ ได้ถูกบีบบังคับให้เดินขบวนทางเท้าไปยังเรือนจำจางี[3] จากนั้นเขาได้ถูกพาตัวไปที่จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย[1] และถูกบังคับให้สร้างเส้นทางรถไฟสายพม่า[6] ในปี ค.ศ. 1943 เขาและเชลยคนอื่นๆอีกห้าคนได้ถูกทรมานโดยพวกสารวัตรทหารญี่ปุ่นคือ เค็นเปย์ไท และตั้งข้อกล่าวหาว่า "ทำการเคลื่อนไหวในการต่อต้านญี่ปุ่น" ภายหลังจากวิทยุที่ซ่อนเอาไว้ในค่ายถูกพบเข้า เขาได้ถูกย้ายไปยังเรือนจำถนนออแทรมในสิงคโปร์สำหรับส่วนที่เหลือของสงคราม

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1946 หนังสือราชกิจจานุเบกษาได้กล่าวประกาศถึงเขาในฐานะผู้ที่ได้รับการสดุดี"ในการยอมรับถึงความกล้าหาญและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมในขณะที่ตกเป็นเชลยศึกสงคราม"[8] เขาได้รับเครื่องราชอิสรภรณ์ Efficiency Medal (ทหารอาสาสมัคร) ในปี ค.ศ. 1949[9] และได้รับยศตำแหน่งกิตติมศักดิ์ในตำแหน่งยศกัปตัน[10] เขาได้ออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1949[2]

ชีวิตต่อมาและเสียชีวิต แก้

ด้วยการที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตพลเรือนได้ โลแมกซ์ได้เข้าร่วมราชการอาณานิคมและส่งจดหมายไปยังโกลด์โคสต์(ปัจจุบันคือกานา) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1955 ภายหลังจากได้เรียนด้านการจัดการ เขาได้ทำงานให้กับคณะกรรม Scottish Gas และมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ เขาได้ลาออกในปี ค.ศ. 1982[2]

โลแมกซ์ได้เป็นผู้ป่วยรายแรกของมูลนิธิการแพทย์เพื่อการดูแลผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการทรมาณ ชีวิตในภายหลังของเขาได้รวมถึงการคืนดีกับหนึ่งในอดีตผู้ที่ทรมานเขา ล่ามแปลภาษา ทาคาชิ นากาเซะ ซึ่งมาจากเมืองคูราชิกิ, ประเทศญี่ปุ่น ทาคาชิได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวเขาเองในช่วงระหว่างและหลังสงครามที่มีชื่อเรื่องว่า Crosses and Tigers และบริจาคเงินให้แก่วัดพุทธที่อยู่ใกล้สะพานแห่งนั้นเพื่อชดใช้ในสิ่งที่ได้กระทำลงไปในช่วงสงคราม[11] การพบกันระหว่างทั้งสองคนได้ถูกถ่ายทำเป็นสารคดีที่ชื่อว่า ศัตรู, เพื่อนของฉัน(Enemy, My Friend? (1995)) ที่ถูกกำกับโดย Mike Finlason ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมาย[ต้องการอ้างอิง]

โลแมกซ์ได้เสียชีวิต​ลงเมื่อมีอายุได้เพียง 93 ปี ได้ถูกประกาศโดยสำนักข่าวบีบีซี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เขาได้เสียชีวิตลงที่เบริก-อะพอน-ทวีดในนอร์ทัมเบอร์แลนด์[1]

ชีวิตส่วนตัว แก้

อัตชีวิประวัติและภาพยนตร์ แก้

อื่นๆ แก้

เขาเป็นสมาชิกสภาแห่ง Freedom Association

งาน แก้

  • The Railway Man (ISBN 0-09-958231-7)
  • แม่แบบ:Lomax, Eric. 1995. The Railway Man. London: Jonathan Cape. ISBN

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "BBC News – Eric Lomax: The Railway Man author dies aged 93". bbc.co.uk. 8 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 Childs, Martin (10 October 2012). "Eric Lomax: War hero whose experiences in the Far East became a bestselling memoir". London: The Independent.
  3. 3.0 3.1 van der Vat, Dan (9 October 2012). "Eric Lomax obituary". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
  4. "No. 34282". The London Gazette. 8 May 1936. p. 2991.
  5. "No. 34387". The London Gazette. 9 April 1937. p. 2280.
  6. 6.0 6.1 6.2 Yardley, William (9 October 2012). "Eric Lomax, River Kwai Prisoner Who Forgave, Dies at 93". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
  7. "No. 35056". The London Gazette (Supplement). 24 January 1941. p. 547.
  8. "No. 37720". The London Gazette (Supplement). 10 September 1946. p. 4574.
  9. "Viewing Page 385 of Issue 38517". London-gazette.co.uk. 1949-01-21. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
  10. "Eric Lomax". The Daily Telegraph. London. 9 October 2012.
  11. Andreae, Christopher (9 August 1995). "Prisoner of War Learns To Forgive, Reconciles With His Interrogator". Christian Science Monitor.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้