อียาน อ็องเดร เลอเกิง (ฝรั่งเศส: Yann André LeCun,[1] เดิมสะกดว่า Le Cun;[2] ออกเสียง: [jan ɑ̃dʁe ləkœ̃][2] หรือ [ləkɛ̃]; เกิดวันที่ 8 กรกฎาคม 1960) เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวฝรั่งเศส เชี่ยวชาญเรื่องการเรียนรู้ของเครื่อง คอมพิวเตอร์วิทัศน์ หุ่นยนต์พกพา และประสาทวิทยาเชิงคำนวณ เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เป็นรองประธานและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์เอไอที่บริษัทเมตา[3][4]

อียาน เลอเกิง
Yann LeCun
อียาน เลอเกิง ในปี 2018
เกิดอียาน อ็องเดร เลอเกิง
(1960-07-08) 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 (63 ปี)
ซัวซี-ซู-มงมอร็องซี จังหวัดวาล-ดวซ ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ศิษย์เก่าเอซีเย ปารีส (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยที่ 6 แห่งปารีส (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)
มีชื่อเสียงจากการเรียนรู้เชิงลึก
รางวัลรางวัลทัวริง (2018)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงานห้องทดลองเบล (1988-1996)
มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
เมตา
วิทยานิพนธ์Modèles connexionnistes de l'apprentissage (1987)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกมอริซ มิลกรัม
เว็บไซต์yann.lecun.com

เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะหนึ่งในผู้คิดค้นโครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ (ซีเอ็นเอ็น) โดยเขาได้นำมาใช้เพื่องานวิจัย การรู้จำอักขระด้วยแสง และคอมพิวเตอร์วิทัศน์[5][6] เขายังเป็นผู้ก่อตั้งเทคโนโลยีการบีบอัดภาพ DjVu ร่วมกับเลอง บอตู และแพทริก ฮัฟเนอร์ และพัฒนาภาษาโปรแกรม Lush ด้วย

เขาได้รับรางวัลทัวริง ปี 2018 จากผลงานการเรียนรู้เชิงลึกร่วมกับโยชัว เบนจิโอ และเจฟฟรีย์ ฮินตัน[7] ทั้งสามได้รับสมญานามว่าเป็น "เจ้าพ่อแห่งเอไอ" และ "เจ้าพ่อแห่งการเรียนรู้เชิงลึก"[8][9][10][11][12][13]

ชื่อ แก้

นามสกุลของเขาเดิมสะกดว่า Le Cun โดยแบ่งเป็นสองคำ[2] บรรพบุรุษของเขามาจากภูมิภาคแก็งก็องทางตอนเหนือของแคว้นเบรอตาญของฝรั่งเศส โดยคำนี้มาจากภาษาเบรอตงเก่า Le Cunff (แปลว่า "คนดี") อย่างไรก็ตาม หลังจากย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา หลายคนเข้าใจผิดว่า Le เป็นชื่อกลาง เขาจึงเปลี่ยนมาเป็นเขียนติดกันเป็น LeCun[14][15] เมื่อเขาไปบรรยายในประเทศจีน ในปี 2017 เขาใช้ชื่อภาษาจีนว่า หยาง ลี่คุน (จีนตัวย่อ: 杨立昆; จีนตัวเต็ม: 楊立昆; พินอิน: Yáng Lìkūn)[16]

อ้างอิง แก้

  1. "Version électronique authentifiée publiée au JO n° 0001 du 01/01/2020 | Legifrance". www.legifrance.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 2020-01-04.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Fun Stuff". yann.lecun.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
  3. "Artificial-intelligence pioneers win $1 million Turing Award". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  4. Metz, Cade (27 March 2019). "Turing Award Won by 3 Pioneers in Artificial Intelligence". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  5. "Convolutional Nets and CIFAR-10: An Interview with Yann LeCun". No Free Hunch. December 23, 2014. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  6. LeCun, Yann; Léon Bottou; Yoshua Bengio; Patrick Haffner (1998). "Gradient-based learning applied to document recognition" (PDF). Proceedings of the IEEE. 86 (11): 2278–2324. doi:10.1109/5.726791. สืบค้นเมื่อ November 16, 2013.
  7. "Fathers of the Deep Learning Revolution Receive ACM A.M. Turing Award". Association for Computing Machinery. New York. March 27, 2019. สืบค้นเมื่อ March 27, 2019.
  8. Vincent, James (March 27, 2019). "'Godfathers of AI' honored with Turing Award, the Nobel Prize of computing". The Verge. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020.
  9. Ranosa, Ted (March 29, 2019). "Godfathers Of AI Win This Year's Turing Award And $1 Million". Tech Times. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020.
  10. Reporters, Telegraph (March 27, 2019). "Nobel prize of tech awarded to 'godfathers of AI'". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020 – โดยทาง www.telegraph.co.uk.
  11. Shead, Sam. "The 3 'Godfathers' Of AI Have Won The Prestigious $1M Turing Prize". Forbes. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020.
  12. Ray, Tiernan. "Deep learning godfathers Bengio, Hinton, and LeCun say the field can fix its flaws". ZDNet. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020.
  13. Kahn, Jeremy (2019-03-27). "Three "Godfathers of Deep Learning" Selected for Turing Award". bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-10.
  14. ไม่ ชื่อของคุณไม่มีทางออกเสียงเป็นแบบนั้นได้.
  15. La leçon d’un maître de l’intelligence artificielle au Collège de France.
  16. https://36kr.com/p/5067858.html