เมตา

บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐ

เมตา แพลตฟอมส์ (อังกฤษ: Meta Platforms)[9][10] ดำเนินการภายใต้ เมตา (Meta)[11] หรือเดิม เฟซบุ๊ก (Facebook)[12] เป็นบริษัทข้ามชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก, อินสตราแกรม และวอตส์แอปป์ กับบริษัทย่อยอื่น ๆ[13] โดยเฟซบุ๊กได้ทำการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และเริ่มซื้อขายบนตลาดหุ้นแนสแด็กอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2012

เมตาแพลตฟอร์ม
ชื่อทางการค้า
เมตา
ชื่อเดิมเฟซบุ๊ก (ค.ศ. 2004–2021)
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS30303M1027 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง4 มกราคม 2004; 20 ปีก่อน (2004-01-04) ที่เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่,
สหรัฐ
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก (ยกเว้นประเทศที่บล็อก)
บุคลากรหลัก
ตราสินค้า
รายได้เพิ่มขึ้น 85.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 32.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 29.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 159.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 128.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020)
เจ้าของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (14%)
พนักงาน
71,970 (31 ธันวาคม ค.ศ. 2021)
แผนกReality Labs
บริษัทในเครือNovi Financial
เว็บไซต์meta.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2][3][4][5][6][7][8]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 สื่อมวลชนรายงานว่าบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กวางแผนเปลี่ยนชื่อเพื่อ "สะท้อนถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างเมตาเวิร์ส"[14] จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมตาในวันที่ 28 ตุลาคม[15][16] ชื่อ เมตา มาจากคำว่า "เมทา" เป็นภาษากรีกที่หมายถึง "เหนือกว่า, ไกลโพ้น" บ่งบอกถึงแรงจูงใจแห่งอนาคต[17]

ประวัติ แก้

 
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ร่วมสร้างเฟซบุ๊กในหอพักมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเริ่มสร้างเว็บไซต์เฟซแมช (Facemash) ขึ้นร่วมกับผู้ก่อตั้งคนอื่น ๆ ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่ซักเคอร์เบิร์กเป็นนักศึกษาปีที่สองของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เฟซแมชเป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานเลือกภาพนักเรียนฮาร์วาร์ดสองคนเปรียบเทียบกันว่าคนไหนร้อนแรงกว่ากัน ซึ่งเพื่อการนี้ซักเคอร์เบิร์กได้ทำการเจาะระบบของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อคัดลอกรูปนักศึกษาที่ใช้ในระบบหอพักลงมาในระบบของเฟซแมช

ในสี่ชั่วโมงแรกของการเปิดเว็บไซต์ เฟซแมชมีผู้ใช้งาน 450 คน และมีรูปถูกดูทั้งหมด 22,000 รูป แต่ไม่กี่วันถัดมาเว็บไซต์ก็ถูกปิดโดยฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ส่วนซักเคอร์เบิร์กก็ถูกตั้งข้อหาบุกรุกระบบรักษาความปลอดภัย ละเมิดลิขสิทธิ์ ละเมิดความเป็นส่วนตัวและต้องเผชิญกับการไล่ออก อย่างไรก็ดี ในตอนท้ายข้อหาทั้งหมดตกไปและซักเคอร์เบิร์กก็ขยายโครงการออกไปโดยสร้างเครื่องมือสำหรับการศึกษาอย่างรวมกลุ่มกันก่อนการสอบปลายภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ โดยอัปโหลดรูปภาพสมัยโรมันจำนวน 500 รูป โดยแต่ละรูปจะเปิดสำหรับการแสดงความคิดเห็น ทำให้เพื่อนร่วมชั้นของเขาเริ่มแบ่งปันโน้ตซึ่งกันและกัน ซึ่งภายหลังศาสตราจารย์ผู้สอนได้กล่าวว่าเป็นการให้เกรดครั้งที่ดีที่สุดที่เขาเคยให้มา

ในภาคการศึกษาถัดมา ซักเคอร์เบิร์กได้เริ่มทำโครงการใหม่ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากบทความในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเรื่องเฟซแมช โดยในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเคอร์เบิร์กก็เปิดตัว "Thefacebook" ขึ้น แต่ใน 6 วันต่อมารุ่นพี่ฮาร์วาร์ด 3 คน ก็กล่าวหาซักเคอร์เบิร์กว่าลอกความคิดเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เครือข่ายสังคมไป ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นคดีความในชั้นศาล ในตอนแรก Thefacebook จำกัดสมาชิกเฉพาะนักศึกษาฮาร์วาร์ดเท่านั้น และภายในเดือนแรกของการเปิดตัว เกินครึ่งของนักศึกษาฮาร์วาร์ดก็สมัครเข้าใช้งานบริการนี้ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 บริการนี้ก็ขยายฐานผู้ใช้งานไปยังนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล และขยายต่อไปอีกในนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกไปจนถึงมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เฟซบุ๊กจัดตั้งเป็นบริษัทราวกลางปีค.ศ. 2004 โดยได้ฌอน พาร์คเกอร์มาเป็นประธานบริษัท และย้ายฐานปฏิบัติการไปยังเมืองแพโล แอลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย และไม่นานก็ได้รับเงินลงทุนก้อนแรกจาก ปีเตอร์ ธีล ผู้ร่วมก่อตั้งเพย์แพล ในปีค.ศ. 2005 เฟซบุ๊กตัด the ออกจาก thefacebook หลังจากซื้อโดเมน facebook.com มาในราคา 200,100 ดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ แก้

เฟซบุ๊กมีรายได้ส่วนใหญ่จากการขายโฆษณาในลักษณะของเว็บแบนเนอร์ อย่างไรก็ตามเฟซบุ๊กมีอัตราการคลิกเข้าชมโฆษณาต่อจำนวนโฆษณาที่ปรากฏต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่อื่น ๆ ข้อมูลจาก Businessweek.com กล่าวว่าเฟซบุ๊กมีอัตราการคลิกต่อจำนวนโฆษณาที่ปรากฏ ต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่อื่น ๆ ถึงห้าเท่า[18] อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบอย่างเจาะจงจะมองเห็นความแตกต่างได้มากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานกูเกิลเข้าชมโฆษณาที่ปรากฏเป็นอันแรกในอัตราเฉลี่ยประมาณ 8% (แปดหมื่นคนในหนึ่งล้านคน)[19] ส่วนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเข้าชมโฆษณาในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.04% (สี่ร้อยคนในหนึ่งล้านคน)[20]

ผู้จัดการฝ่ายขายของเฟซบุ๊ก ซาราห์ สมิธ รายงานว่าโฆษณาที่ประสบความสำเร็จบนเฟซบุ๊กมีอัตราการเข้าชมต่อจำนวนโฆษณาที่ปรากฏอยู่ที่ประมาณ 0.04 - 0.05% และมีแนวโน้มลดลงหลังจากผ่านไป 2 อาทิตย์[21] เมื่อเปรียบเทียบกับเว็บไซต์เครือข่ายสังคมคู่แข่งอย่างมายสเปซ พบว่ามายสเปซมีอัตรานี้อยู่ที่ประมาณ 0.1% ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นแต่ก็มากกว่าเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ BizReport.com ให้เหตุผลในเรื่องนี้ว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กมีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีสูงจึงมักใช้โปรแกรมกรองโฆษณาทำให้โฆษณาไม่ปรากฏขึ้นได้ รวมไปถึงการที่ตัวเฟซบุ๊กเป็นเหมือนเครื่องเหมือนสื่อสารชนิดหนึ่งทำให้คนสนใจในตัวบทสนทนาและไม่สนใจโฆษณาได้[22] อย่างไรก็ตาม สำหรับการโพสต์บนวอลล์ของเพจของผลิตภัณฑ์ บางบริษัทรายงานว่ามีอัตราการเข้าชมโฆษณาสูงถึง 6.49%[23] และในโฆษณารูปแบบวิดีโอ ก็มีการศึกษาพบว่ามากกว่า 40% ของผู้เข้าชมโฆษณาบนเฟซบุ๊กดูโฆษณาวิดีโอจนจบ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปซึ่งอยู่ในอัตราประมาณ 25%[24]

จำนวนผู้ลงโฆษณา แก้

ในปี ค.ศ. 2019 เฟซบุ๊กประกาศว่ามีผู้ลงโฆษณาที่ยังมีความเคลื่อนไหวมากกว่า 7 ล้านราย[25] โดยนิยามของผู้ลงโฆษณาที่ยังมีความเคลื่อนไหวคือบุคคลหรือบริษัทที่ลงโฆษณาในเฟซบุ๊กภายใน 28 วันย้อนหลัง ราคาของการโฆษณาเป็นราคาแปรผันตามการประมูลตามตำแหน่งและโอกาสที่จะได้รับการตอบรับระดับต่าง ๆ จากผู้ใช้ ข้อดีของการลงโฆษณาดิจิทัลเปรียบเทียบกับการลงโฆษณาแบบดั้งเดิม คือความสามารถในการตั้งเป้าโฆษณากับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถทำได้โดยสองวิธีกล่าวคือ เลือกจากพฤติกรรมการดู กดไลค์ และกดแชร์ กับอีกวิธีได้แก่การซื้อข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย หรือการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายคลึง (look alike)

การทำงาน แก้

การเข้าซื้อและควบรวมกิจการ แก้

ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เฟซบุ๊กได้ซื้อชื่อโดเมน fb.com จาก American Farm Bureau Federation เป็นจำนวนเงินที่ไม่เปิดเผย ต่อมาในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011 จึงมีการเปิดเผยว่าโดเมนนี้ถูกซื้อไปในราคา 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการซื้อโดเมนที่มีราคาสูงที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบตลอดกาล[26]

สำนักงานใหญ่ที่เมนโลพาร์ก แก้

ในช่วงต้นปีค.ศ. 2011 เฟซบุ๊กประกาศที่จะย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองแพโลแอลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปยังเมืองเมนโลพาร์ก รัฐเดียวกัน โดยซื้อมาจากซันไมโครซิสเต็มส์

สำนักงานย่อยที่ไฮเดอราบาด แก้

ในปีค.ศ. 2010 เฟซบุ๊กเปิดสำนักงานย่อยแห่งที่สี่ในเมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย[27][28][29] เป็นแห่งแรกของเฟซบุ๊กในเอเชีย[30] เฟซบุ๊กซึ่งในขณะนั้น มีผู้ใช้ทั่วโลกราว 750 ล้านคน โดย 23 ล้านคนนั้นอยู่ในอินเดีย ได้ประกาศว่าสำนักงานที่ไฮเดอราบาดจะเป็นฐานของการโฆษณาออนไลน์และทีมให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและนักโฆษณาในหลากหลายภาษา[31]

ในอินเดีย เฟซบุ๊กจดทะเบียนบริษัทในชื่อ Facebook India Online Services Pvt Ltd[32][33]

การดำเนินงาน แก้

เฟซบุ๊กสร้างศูนย์ข้อมูล (data center) แห่งใหม่ที่เมืองไพรน์วิลล์ รัฐออริกอน ศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ลดการใช้พลังงานลงอย่างมาก (น้อยลง 38%) เมื่อเทียบกับศูนย์ข้อมูลเดิม[34]

การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก แก้

 
ป้ายประกาศอิเล็กทรอนิกส์ที่ทอมสัน รอยเตอร์สต้อนรับบริษัทเฟซบุ๊กเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก

เฟซบุ๊กยื่นเอกสาร S1 ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 โดยยื่นคำขอดำเนินการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการเสนอขายหุ้นหนึ่งในครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เทคโนโลยีและเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต[35] หลังจากนั้นราคาต่อหุ้นของเฟซบุ๊กก็ขึ้นไปที่ราคา 38 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ให้มูลค่าของบริษัทอยู่ที่ 104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดเท่าที่บริษัทหน้าใหม่เคยทำ[36] การเสนอขาย IPO ทำเงินให้เฟซบุ๊ก 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำเงินสูงที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์อเมริกา[37][38] การซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นเริ่มต้นในวันที่ 18 พฤษภาคม


อ้างอิง แก้

  1. "Chris Cox is returning to Facebook as chief product officer". The Verge. June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
  2. "Facebook is getting more serious about becoming your go-to for mobile payments". The Verge. August 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 11, 2020.
  3. "Our History". Facebook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2015. สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
  4. Shaban, Hamza (January 20, 2019). "Digital advertising to surpass print and TV for the first time, report says". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 9, 2021. สืบค้นเมื่อ June 2, 2019.
  5. "FB Income Statement". NASDAQ.com.
  6. "FB Balance Sheet". NASDAQ.com.
  7. "Stats". Facebook. June 30, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2015. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
  8. "Facebook - Financials". investor.fb.com. สืบค้นเมื่อ January 30, 2020.
  9. "Delaware Corporate Entity Search". สืบค้นเมื่อ October 28, 2021. (file no. 3835815)
  10. Meta Platforms, Inc. (October 28, 2021). "Current Report (8-K)". Securities and Exchange Commission. สืบค้นเมื่อ October 29, 2021.
  11. Haq, Sana Noor (October 30, 2021). "Hebrew speakers mock Facebook's corporate rebrand to Meta". CNN. สืบค้นเมื่อ October 30, 2021.
  12. "Facebook Inc. Certificate of Incorporation" (PDF). September 1, 2020. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021. File Number 3835815
  13. "Facebook Reports Second Quarter 2021 Results". investor.fb.com. สืบค้นเมื่อ August 12, 2021.
  14. Heath, Alex (October 19, 2021). "Facebook is planning to rebrand the company with a new name". The Verge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 20, 2021.
  15. Dwoskin, Elizabeth (October 28, 2021). "Facebook is changing its name to Meta as it focuses on the virtual world". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  16. "Facebook announces name change to Meta in rebranding effort". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "Facebook changes its name to Meta as a part of rebrand | Programming Nation" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
  18. "Facebook May Revamp Beacon". BusinessWeek. New York. November 28, 2007. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  19. "Google AdWords Click Through Rates Per Position". AccuraCast. October 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  20. Denton, Nick (March 7, 2007). "Facebook 'consistently the worst performing site'". Gawker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  21. "Facebook Says Click Through Rates Do Not Match Those At Google". TechPulse 360. August 12, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-22. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  22. Leggatt, Helen (July 16, 2007). "Advertisers disappointed with Facebook's CTR". BizReport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  23. Klaassen, Abbey (August 13, 2009). "Facebook's Click-Through Rates Flourish ... for Wall Posts". Advertising Age. New York. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  24. Walsh, Mark (June 15, 2010). "Study: Video Ads On Facebook More Engaging Than Outside Sites". MediaPost. New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-16. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
  25. "Insights to Go from Facebook IQ". Facebook IQ.
  26. "FB.com acquired by Facebook". NameMon News. January 11, 2011.
  27. PTI (September 30, 2010). "Facebook opens office in India". The Hindu. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  28. "Kirthiga Reddy: The face behind Facebook". Businesstoday.intoday.in. May 15, 2011. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  29. Nikhil Pahwa (July 16, 2010). "Facebook Appoints Kirthiga Reddy As Head Of Indian Operations". Medianama.com. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  30. "Facebook's India face-Meet Kirthiga Reddy, Head and Director Online Operations, Facebook India". MSN India. November 14, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
  31. "Facebook's Hyderabad Office Inaugurated – Google vs Facebook Battle Comes To India". Watblog.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-01. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  32. "Not responsible for user-generated content hosted on website: Facebook India". Articles.economictimes.indiatimes.com. February 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  33. "Facebook India to court: Not responsible for user-generated content". M.timesofindia.com. February 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
  34. "Zuckerberg at Ore. Facebook data center". The Boston Globe. Associated Press. April 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 16, 2011.
  35. "Facebook Officially Files for $5 Billion IPO". KeyNoodle. February 1, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ February 1, 2012.
  36. Andrew Tangel and Walter Hamilton (17 May 2012). "Stakes are high on Facebook's first day of trading". The Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-18. สืบค้นเมื่อ 17 May 2012.
  37. Evelyn M. Rusli and Peter Eavis (May 17, 2012). "Facebook Raises $16 Billion in I.P.O." The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 17, 2012.
  38. Bernard Condon (May 17, 2012). "Questions and answers on blockbuster Facebook IPO". U.S. News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ May 17, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้