จักรพรรดิยงเจิ้ง

(เปลี่ยนทางจาก อิ้นเจิ้น)

จักรพรรดิยงเจิ้ง (จีน: 雍正; พินอิน: Yōngzhèng) ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน , อิ้นเจวิน (ภาษาจีน : 胤禛) พระองค์เริ่มต้นชีวิตราชการโดยการไปช่วยงานรัชทายาทอื้นเหริงเป็นที่แรก จึงทำให้มีความสัมพันธ์อันดีกับรัชทายาท ต่อมาได้กระทำความดีหลายครั้งทำให้จักรพรรดิคังซีพอพระทัย ในปี 1698 รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์เป็น "เป่ยเล่อ" ต่อมาในปี 1708 รับเลื่อนฐานันดรเป็นองค์ชายชั้นหนึ่ง ดำรงพระยศ "เหอซั่วยงชินหวัง" (อ๋องพระมาลาเหล็ก) ที่เป็นฐานันดรสูงสุดที่เชื้อพระวงศ์จะได้รับ โดยรับหน้าที่บริหารจัดการเงินในท้องพระคลัง พระองค์มีนิสัยซื่อตรงเจ้าระเบียบ ไม่ยอมหักยอมงอ และทุ่มเทในการทำงานสูง จึงไม่เป็นที่ชื่นชอบขององค์ชายคนอื่นๆนัก นอกจากองค์ชาย 13(อิ้นเสียง) ที่พระองค์รักดั่งน้องชายแท้ๆ หลังจากการปลดรัชทายาทอิ้นเหริงออกจากตำแหน่งในครั้งที่ 2 ทำให้องค์ชายต่างๆแตกแยกหวังขึ้นเป็นรัชทายาทแทนที่ จึงก่อให้เกิดขั้วอำนาจ 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มของพระองค์กับองค์ชาย 13 และกลุ่มขององค์ชาย 8(อิ้นซื่อ)ที่มีองค์ชาย 9(อิ้นถัง)องค์ชาย 10(อิ้นเอ๋อ) รวมตัวกันเข้ามาเป็นศัตรูกับพระองค์เพื่อแย่งอำนาจ สถานการณ์ตึงเครียดถึงขนาดที่จักรพรรดิคังซีที่กำลังทรงพระประชวรหนัก ถึงกับมีราชโองการให้ปลดตำแหน่งงานราชการองค์ชายที่มีปัญหาออกจากตำแหน่งทุกคน ยกเว้นองค์ชาย 14(อิ้นถี) ที่เป็นแม่ทัพไปปราบกบฏ ทำให้มีการเล่าลือกันว่า จักรพรรดิคังซีทรงโปรดองค์ชาย 14 หวังให้เป็นรัชทายาทสืบต่อแต่เป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น และมีข่าวลือเล่ากันว่าวันที่จักรพรรดิคังซีสวรรคต พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซี จะมีข้อความ 3 ภาษาในฉบับเดียวกัน แม้จะเปลี่ยนแปลงตัวอักษรฮั่น แต่อักษรแมนจูกับมองโกลที่มีการเขียนคู่กันย่อมไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ)

ยงเจิ้ง
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์27 ธันวาคม ค.ศ. 1722 - 8 ตุลาคม ค.ศ. 1735
(12 ปี 285 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิคังซี
ถัดไปจักรพรรดิเฉียนหลง
พระราชสมภพ13 ธันวาคม ค.ศ. 1678(1678-12-13)
องค์ชายอิ่นเจิง
สวรรคต8 ตุลาคม ค.ศ. 1735(1735-10-08) (56 ปี)
ปักกิ่ง, จักรวรรดิชิง
ฝังพระศพสุสานไท่หลิง สุสานพระราชวงศ์ชิงฝ่ายตะวันออก
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเซี่ยน
จักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน
พระราชบุตร
  • องค์ชายหงฮุย
  • องค์ชายหงจุน
  • องค์ชายหงสือ
  • องค์ชายหงลี่
  • องค์ชายหงจาน
  • องค์ชายหงซาน
  • องค์ชายฟูยี่
  • องค์ชายฟูฮุย
  • องค์ชายฟูเป่ย
  • องค์ชายหงโจ้ว
  • พระราชธิดาพระองค์แรก(ไม่ทราบพระนาม)
  • พระราชธิดาเหอซั่วหวายเค่อ
  • พระราชธิดาพระองค์ที่3(ไม่ทราบพระนาม)
  • พระราชธิดาพระองค์ที่สี่(ไม่ทราบพระนาม)
พระนามเต็ม
Chinese: Aixin-Jueluo Yinzhen 愛新覺羅胤禛
Manchu: Aisin-Gioro In Jen
รัชศก
ยงเจิ้ง (Yongzheng , 1722 - 1735)
พระสมัญญานาม
จักรพรรดิ จิงเถียน Changyun Jianzhong Biaozheng เหวินหวู่ Yingming Kuanren Xinyi Ruisheng Daxiao Zhicheng Xian
敬天昌運建中表正文武英明寬仁信毅睿聖大孝至誠憲皇帝
พระอารามนาม
Qing Shizong
清世宗
ราชสกุลตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว
พระราชบิดาจักรพรรดิคังซี
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
ช่วงเวลา

เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น ปัจจุบันมีการค้นพบฏีกาในหอประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงเฉพาะในยุคของพระองค์ถึง 40,000 ฉบับ ซึ่งพระองค์ทรงใช้หมึกแดงเขียนตอบฏีกาทุกฉบับด้วย ทรงรวบอำนาจบริหารเข้าสู่ส่วนกลาง จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง)ผลงานที่โดดเด่นคือการเก็บภาษี ซึ่งแต่เดิมขุนนางและเชื้อพระวงศ์ไม่ต้องเสียภาษี แต่พระองค์ทรงแก้ไขกฏเกณฑ์นี้ให้มีการเสียภาษีกันทุกคน จนทำให้ฐานะการคลังของประเทศที่จวนจะล้มละลายในยุคปลายรัชกาลคังซี ซึ่งเหลือเงินในท้องพระคลังไม่ถึง 5 ล้านตำลึง เพิ่มขึ้นจนถึงในวันที่พระองค์สวรรคตมีเงินเหลือมากกว่า 50 ล้านตำลึง จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ

ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง

จักรพรรดิยงเจิ้งสวรรคต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1735 เป็นการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีฮ่องเต้ทั้งนี้โดยที่พระองค์ทรงพักผ่อนน้อยนอนวันละ 4 ชั่วโมงและทำงานหนักมาก ในช่วงท้ายพระชนม์ชีพมีอาการประชวรบ่อยครั้ง แต่ทรงโปรดโอสถที่มีสารหนูและปรอทเจือปน ที่ปรุงโดยนักพรตหมอผี โดยทรงคิดว่าทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยมีเรี่ยวแรงทำงานมากขึ้น จึงทำให้เกิดพิษในร่างกายจนสิ้นพระชนม์ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง[1] [2]

พระบรมวงศานุวงศ์ แก้

  • พระราชบิดา: จักรพรรดิคังซี
  • พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
  • พระอัครมเหสี (皇后)
  • พระมเหสี (皇貴妃)
  • พระอัครชายา (妃)
  • พระชายา (嬪)
  • พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (貴人)
    • พระสนมกัว (郭貴人)
    • พระสนมหลี่ (李貴人)
    • พระสนมอัน (安貴人)
    • พระสนมไฮ่ (海貴人)
    • พระสนมจาง (張貴人)
  • พระราชโอรส
    • องค์ชายหงฮุย (弘暉,1697–1704) ตุนชินอ๋อง (端親王)สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเสี้ยน สกุลอูลาน่าล่า
    • องค์ชายหงเฟิน (弘昐,1697–1699) พระโอรสในพระอัครชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์ชายหงหยุน (弘昀,1700–1710) พระโอรสในพระอัครชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์ชายหงสือ (弘時,1704–1726) พระโอรสในพระชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์ชายหงลี่ (弘曆,1711-1799) เป่าชินอ๋อง (宝亲王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวเซิ่งเสี้ยน สกุลหนิ่วฮู่ลู่
    • องค์ชายหงโจ้ว (弘晝,1712-1770) เหอกงชินอ๋อง (和恭親王,1733-1770);พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีฉุนเชวี่ย สกุลเกิ่ง
    • องค์ชายฝูอี (福宜,1720–1721) พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
    • องค์ชายฝูฮุ่ย (福惠,1721–1728) หวยชินอ๋อง (怀亲王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
    • องค์ชายฝูเฝย (福沛,1723) พระโอรสในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
    • องค์ชายหงเอี้ยน (弘曕,1733–1765) กั่วกงจุ้นอ๋อง (果恭郡王,1738-1765);พระโอรสของพระอัครชายาเฉียน สกุลหลิว
  • พระราชธิดา
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1694) พระธิดาในพระชายาเหมา สกุลซ่ง
    • องค์หญิงเหอซั่วหวายเค่อกงจวู่ (和硕怀恪公主,1695–1717) พระธิดาในพระอัครชายาฉี สกุลหลี่
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1706) พระธิดาในพระชายาเหมา สกุลซ่ง
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1715-1717) พระธิดาในสมเด็จพระมเหสีตุนซู่ สกุลเหนียน
  • พระราชธิดาบุญธรรม
    • องค์หญิงเหอซั่วสูเซิ่นกงจวู่ (和硕淑慎公主,1708–1784) พระธิดาในองค์ชายอิ้นเหริง
    • องค์หญิงเหอซั่วเหอฮุ่ยกงจวู่ (和硕和惠公主,1714–1731) พระธิดาในองค์ชายอิ้นเสียง
    • องค์หญิงเหอซั่วตวนรั่วกงจวู่ (和硕端柔公主,1714–1754) พระธิดาในองค์ชายอิ้นลู่

พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. [ลิงก์เสีย] เชิงอรรถยุทธภพ (22) : การลอบสังหารหย่งเจิ้งของหลี่ซื่อเหนียง จากผู้จัดการออนไลน์
  2. เชิงอรรถยุทธภพ (18) : กำเนิดศึกสายเลือด จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า จักรพรรดิยงเจิ้ง ถัดไป
จักรพรรดิคังซี    
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2265 - พ.ศ. 2278)
  จักรพรรดิเฉียนหลง