อิบาดะฮ์
อิบาดะฮ์ (อาหรับ: عبادة) เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับที่หมายถึงบริการหรือภาระจำยอม[1] ในศาสนาอิสลาม อิบาดะฮ์ มักแปลเป็น "การสักการะ" และ อิบาดาต—รูปพหุพจน์ของ อิบาดะฮ์—อิงถึงนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) ที่เกี่ยวกับพิธีทางศาสนาของชาวมุสลิม[2][3]
อิบาดะฮ์
แก้ในภาษาอาหรับ อิบาดะฮ์ เชื่อมกับคำศัพท์ใกล้เคียง เช่น "อุบูดียะฮ์" ("ทาส") ตัวคำในทางภาษาศาสตร์หมายถึง "การเชื่อฟังด้วยความอ่อนน้อม"[4]
ในศาสนาอิสลาม อิบาดะฮ์ มักแปลเป็น "การสักการะ" และหมายถึงการเชื่อฟัง, อ่อนน้อม และจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์[5][1]
แหล่งที่มาอื่น (เช่น จากซัยยิด อะบุล อะลา เมาดูดีย์ นักเขียนสายอิสลามนิยม[6] และคนอื่น)[7] ให้ขอบเขตของ อิบาดะฮ์ โดยรวมไปถึงการหลีกเลี่ยงคำพูดของตน "จากความสกปรก, การโกหก, การปองร้าย, เหยียดหยาม" และความไม่ซื่อสัตย์, เชื่อมั่นต่อกฎหมายชะรีอะฮ์ใน "ด้านการค้าและเศรษฐกิจ" และใน "ความสัมพันธ์กับพ่อแม่, ญาติ, เพื่อน" กับทุกคน[6]
อิบาดาต
แก้อิบาดาต (عبادات) เป็นรูปพหุพจน์ของ อิบาดะฮ์ ซึ่งมีความหมายมากกว่า อิบาดะฮ์ อย่างเดียว[8] มันอิงถึงนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) ใน "กฎการสักการะในศาสนาอิสลาม"[9] หรือ "พิธีกรรมสักการะทางศาสนาที่จำเป็นต่อมุสลิมทุกคนที่มีอายุและร่ายกายถึงเกณฑ์กำหนด"[10]
อิบาดาตถูกรวมใน "หลักการอิสลาม" ทั้ง 5 ข้อ:
- การประกาศความศรัทธา (ชะฮาดะฮ์) แปลได้เป็น "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์"[10]
- ละหมาด ทำเป็นเวลา 5 ครั้งต่อวันในเวลาที่กำหนด โดยมีกำหนดการชำระร่างกาย (เอาน้ำละหมาด), การเคลื่อนไหว (ยืนตรง, โค้ง, ก้มกราบ, นั่ง) และการกล่าวโองการจากอัลกุรอาน[10]
- ซะกาต -- ตามปรกติคือ 2.5% ของเงินเก็บและทรัพย์สินทั้งหมดของมุสลิม[10]
- ถือศีลอด -- การเลี่ยงจากการกินและดื่มในช่วงกลางวัน—โดยเฉพาะในช่วงเดือนเราะมะฎอน[10]
- แสวงบุญที่มักกะฮ์ (ฮัจญ์)[10]—การจาริกแสวงบุญในศาสนาอิสลามที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ของมุสลิมทุกปี และเป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมที่ต้องไปอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงชีวิตของตน โดยมุสลิมที่มีสุขภาพและรายได้เพียงพอต่อการเดินทางไป
รายงานจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดสาขาอิสลามศึกษาไว้ว่า "เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญในสังคมมุสลิม อิบาดาตได้ก่อรูปร่างแรกของหลักนิติศาสตร์อิสลามและรายงานส่วนใหญ่ในธรรมเนียมของศาสดา (ฮะดีษ)"[10] อิบาดาตเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในศาสนาอิสลาม (รายงานจากฟะลีล ญะมาลุดีน นักเขียน) เพราะถ้าไม่มีกฎหมายทางศาสนานี้ "มุสลิมอาจสร้างพิธีกรรมและการขอพรของตนเอง และศาสนาอิสลามก็จะสั่นคลอนแล้วหายไป"[11]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Tariq al-Jamil (2009). "Ibadah". ใน John L. Esposito (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press.
- ↑ "Encyclopaedia of Islam, Second Edition". Brill Online Reference Works. สืบค้นเมื่อ 9 April 2017.
- ↑ "The Oxford International Encyclopedia of Legal History". Oxford Reference. Oxford University Press. 2009. สืบค้นเมื่อ 9 April 2017.
- ↑ al-Qamoos al-Muhit
- ↑ "Al-Qur'an 51:56". Quran Surah Adh-Dhaariyat ( Verse 56 ) เก็บถาวร 2018-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 6.0 6.1 Abul A'la Maududi. "The Spirit of Worship in Islam (part 1 of 3): Worship and Prayer - The Religion of Islam". Islamreligion.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2017-04-09.
- ↑ Muhaimin, A. G. "4. The Ritual Practice: IBADAT: AN AMBIGUOUS CONCEPT OF RITUAL IN ISLAM". The Islamic Traditions of Cirebon: Ibadat and Adat Among Javanese Muslims. press-files.anu.edu.au. สืบค้นเมื่อ 9 April 2017.
- ↑ Wehr, Hans. "Mawrid Reader. Hans Wehr, A Dictionary of Modern Written Arabic, 4th ed. (hw4)". ejtaal.net. สืบค้นเมื่อ 2017-04-09.
- ↑ Bowker, John. "The Concise Oxford Dictionary of World Religions". oxfordreference.com. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 9 April 2017.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 "Ibadah - Oxford Islamic Studies Online". www.oxfordislamicstudies.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-08.
- ↑ Jamaldeen, Faleel (2012). Islamic Finance For Dummies. John Wiley & Sons. p. 41.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Ibadah in Islam
- The Meaning of Worship in Islam เก็บถาวร 2018-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ibadah เก็บถาวร 2020-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน