อินเดียสมัยกลาง

อินเดียสมัยกลาง สื่อถึงยุคสมัยที่ยาวนานของประวัติศาสตร์หลังคลาสสิกของอนุทวีปอินเดียระหว่าง "สมัยโบราณ" กับ "สมัยใหม่" มักถือว่าอยู่ในช่วงประมาณจากการแตกสลายของจักรวรรดิคุปตะในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงจุดเริ่มต้นของสมัยใหม่ตอนต้นใน ค.ศ. 1526 ด้วยการสถาปนาจักรวรรดิโมกุล แม้ว่านักประวัติศาสตร์บางส่วนถือว่าทั้งจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดช้ากว่าจุดเหล่านี้ สมัยกลางนั้นแบ่งออกเป็นสมัยกลางตอนต้นและสมัยกลางตอนปลาย

ป้อมเมหรานครห์สร้างขึ้นในอินเดียสมัยกลางในรัชสมัยโชธแห่งราฐูร

ในสมัยกลางตอนต้น มีรัฐมากกว่า 40 แห่งในอนุทวีปอินเดียที่มีวัฒนธรรม ภาษา ระบบการเขียน และศาสนาที่แตกต่างกัน[1] ในช่วงเริ่มต้นสมัยนี้ ศาสนาพุทธเคยเป็นศาสนาหลักทั่วพื้นที่ ด้วยจักรวรรดิปาละที่ดำรงได้ไม่นานในที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา สนับสนุนสถาบันทางศาสนาพุทธ หนึ่งในสถาบันเหล่านั้นคือนาลันทามหาวิหาร ศูนย์กลางทางการศึกษาและนำเอเชียใต้ที่แบ่งแยกเข้าสู่เวทีปัญญาระดับโลก ในบริเวณรัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน ความสำเร็จอีกอันคือการประดิษฐ์เกม จตุรังคะ ที่ภายหลังนำเข้าสู่ยุโรปและกลายเป็นหมากรุก[2] ส่วนในอินเดียใต้ อาณาจักรฮินดูโจฬะของทมิฬมีชื่อเสียงจากจักรวรรดิโพ้นทะเลที่ควบคุมส่วนต่าง ๆ ของศรีลังกา มาเลเซีย และอินโดนีเซียปัจจุบันในฐานะดินแดนโพ้นทะเล และช่วยกระจายศาสนาฮินดูและพุทธเข้าไปยังพื้นที่วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ในสมัยเดียวกัน ภูมิภาคเพิ่อนบ้านอย่างอัฟกานิสถาน ทิเบต และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลเอเชียใต้[4]

ในช่วงสมัยกลางตอนปลาย การรุกรานของอิสลามเป็นระลอกจากบริเวณเอเชียกลาง อัฟกานิสถาน และอิหร่านในปัจจุบัน เข้าพิชิตดินแดนจำนวนมากในอินเดียเหนือ ก่อตั้งรัฐสุลต่านเดลีที่ดำรงอยู่จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16[5] ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อมถอยในเอเชียใต้ แต่ศาสนาฮินดูยังคงอยู่รอดและเสริมกำลังตนเองในพื้นที่ที่ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครอง ส่วนในบริเวณตอนใต้ จักรวรรดิวิชัยนครยืนหยัดต่อการพิชิตของมุสลิม และเริ่มต้นความเป็นศัตรูกับรัฐสุลต่านแบฮ์แมนีเป็นเวลานาน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นำไปสู่การนำเข้าดินปืน การสถาปนาโมกุล จักรวรรดิมุสลิมใหม่ และการจัดตั้งสถานีการค้าของยุโรปโดยอาณานิคมโปรตุเกส[6] จักรวรรดิโมกุลเป็นหนึ่งในสามจักรวรรดิดินปืนอิสลาม ร่วมกับจักรวรรดิออตโตมันและเปอร์เซียของซาฟาวิด[7][8][9] การพัฒนาทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนแปลงสังคมอินเดีย ทำให้ช่วงสมัยกลางตอนปลายสิ้นสุดลง และเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยใหม่ตอนต้น

คำนิยามและการกำหนดช่วงเวลา

แก้

คำนิยามหนึ่งรวมช่วงสมัยจากคริสต์ศตวรรษที่ 6[10] ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 7[11] หรือคริสต์ศตวรรษที่ 8[12] จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งโดยพื้นฐานบังเอิญตรงกับสมัยกลางของทวีปยุโรป โดยอาจแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ: 'สมัยกลางตอนต้น' ที่อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง 13 และ 'สมัยกลางตอนปลาย' ที่อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 16 ซึ่งสิ้นสุดด้วยจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโมกุลใน ค.ศ. 1526 สมัยโมกุลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 18 มักเรียเป็นสมัยใหม่ตอนต้น[10] แต่บางครั้งรวมอยู่ในสมัย 'กลางตอนปลาย'[13]

คำนิยามอีกแบบหนึ่งมักพบในนักเขียนล่าสุดที่ยังคงใช้คำนี้อยู่ นำการเริ่มต้นของสมัยกลางไปข้างหน้า ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1,000 หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 12[14] จุดสิ้นสุดอาจย้อนกลับไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้ช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองของชาวมุสลิมอย่างมีประสิทธิผลจนถึงบริติชราช[15] หรือสมัย "กลางตอนต้น" เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และสิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 11[16]

การใช้คำว่า "สมัยกลาง" ในฐานะคำที่ใช้เรียกยุคสมัยในประวัติศาสตร์อินเดียมักถูกคัดค้าน และอาจพบได้ยากมากขึ้น (มีการอภิปรายที่คล้ายกันในแง่ของประวัติศาสตร์จีน)[17] เป็นที่โต้แย้งกันว่าทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของยุคสมัยไม่ได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในประวัติศาสตร์อินเดียจริง ๆ เมื่อเทียบกับช่วงที่เทียบเท่าของยุโรป[18] Burton Stein ยังคงใช้แนวคิดนี้ในหนังสือ A History of India (1998) ของเขา โดยสื่อถึงช่วงสมัยจากคุปตะถึงโมกุล แต่นักเขียนล่าสุดส่วนใหญ่ที่ใช้คำนี้เป็นชาวอินเดีย โดยเป็นที่เข้าใจได้ว่าพวกเขามักระบุระยะเวลาที่ครอบคลุมไว้ในชื่อเรื่อง[19]

สมัย

แก้

สมัยกลางตอนต้น

แก้

สมัยกลางตอนปลาย

แก้

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

แก้

ผลงานประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่เขียนเกี่ยวกับอินเดียสมัยกลางได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ของสมัยนั้น E. Sreedharan โต้แย้งว่า ตั้งแต่ช่วงขึ้นศตวรรษใหม่จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 นักประวัติศาสตร์อินเดียมักได้รับแรงขับเคลื่อนด้วยชาตินิยมอินเดีย[20] ปีเตอร์ ฮาร์ดีสังเกตว่า ผลงานประวัติศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับอินเดียสมัยกลางจนถึงตอนนั้นส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ชาวบริติชและฮินดู ในขณะที่ผลงานของนักประวัติศาสตร์มุสลิมสมัยใหม่กลับมีบทบาทน้อย[21] เขาโต้แย้งว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์มุสลิมสมัยใหม่เกี่ยวกับอินเดียสมัยกลางในเวลานั้นบางส่วนได้รับแรงขับเคลื่อนจากการแก้ต่างอิสลาม (Islamic apologetics) ด้วยความพยายามพิสูจน์ "ชีวิตของมุสลิมสมัยกลางให้เข้ากับโลกสมัยใหม่" ("the life of medieval Muslims to the modern world.")[22]

Ram Sharan Sharma ได้วิจารณ์ลักษณะที่เรียบง่ายของประวัติศาสตร์อินเดียที่ถูกแบ่งออกเป็น สมัย "ฮินดู" โบราณ, สมัย "มุสลิม" กลาง และสมัย "บริติช" ใหม่ เขาโต้แย้งว่า ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างช่วงที่สมัยโบราณสิ้นสุดลงและช่วงสมัยกลางเริ่มต้นขึ้น โดยระบุขอบเขตตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13[23]

อ้างอิง

แก้
  1. Keay, John (2000). India: A History. Grove Press. pp. xx–xxi.
  2. Murray, H.J.R. (1913). A History of Chess. Benjamin Press (originally published by Oxford University Press). ISBN 978-0-936317-01-4. OCLC 13472872.
  3. History of Asia by B.V. Rao p.211
  4. "The spread of Hinduism in Southeast Asia and the Pacific". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  5. Berger et al. 2016, p. 107.
  6. "mughal_index". www.columbia.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 2019-06-14.
  7. Dodgson, Marshall G.S. (2009). The Venture of Islam. Vol. 3. University of Chicago Press. p. 62. ISBN 978-0-226-34688-5.
  8. Streusand, Douglas E. (2011). Islamic Gunpowder Empires: Ottomans, Safavids, and Mughals. Philadelphia: Westview Press. ISBN 978-0-8133-1359-7.
  9. Charles T. Evans. "The Gunpowder Empires". Northern Virginia Community College. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
  10. 10.0 10.1 "India before the British: The Mughal Empire and its Rivals, 1526-1857". University of Exeter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
  11. Chakravarti, Mahadev, The Concept of Rudra-Śiva Through the Ages, pp. 153-154, 1986, Motilal Banarsidass Publ., ISBN 8120800532, 9788120800533, google books เก็บถาวร 19 ตุลาคม 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Stein, Burton (27 April 2010), Arnold, D. (บ.ก.), A History of India (2nd ed.), Oxford: Wiley-Blackwell, p. 105, ISBN 978-1-4051-9509-6
  13. Parthasarathi, Prasannan (2011), Why Europe Grew Rich and Asia Did Not: Global Economic Divergence, 1600–1850, Cambridge University Press, pp. 39–45, ISBN 978-1-139-49889-0, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023, สืบค้นเมื่อ 28 March 2019
  14. According to the article on "Architecture" เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Banglapedia, "Unlike European periodisation, the medieval period in Indian history is generally regarded to have started with the coming of the Muslims, particularly the conquest of Delhi towards the end of the twelfth century by the Ghorids of Afghanistan." The "generally regarded" is dubious.
  15. Singh, Upinder (2008). A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. Pearson Education India. p. 6. ISBN 978-81-317-1120-0. Due to such reasons, most historians have discarded the Hindu-Muslim-British periodization of the Indian past in favour of a more neutral classification into the ancient, early medieval, and modern periods. The dividing lines may vary, but the ancient period can be considered as stretching roughly from the earliest times to the 6th century CE; the early medieval from the 6th to the 13th centuries; the medieval from the 13th to 18th centuries; and the modern from the 18th century to the present. The current use of these terms shifts the focus away from religious labels towards patterns of significant socio-economic changes.
  16. Ahmed, xviii
  17. Keay, 155 "... the history of what used to be called 'medieval' India ..."
  18. Rowland, 273
  19. Examples: Farooqui; Radhey Shyam Chaurasia, History of Medieval India: From 1000 A.D. to 1707 A.D., 2002, google books เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Satish Chandra, Medieval India: From Sultanat to the Mughals, 2004 (2 vols), google books เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Upinder Singh, A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th century, 2008, google books เก็บถาวร 5 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. Sreedharan, E. (2004). A Textbook of Historiography, 500 B.C. to A.D. 2000. Orient Blackswan. p. 437. ISBN 8-125-02657-6.
  21. Sreedharan, E. (2004). A Textbook of Historiography, 500 B.C. to A.D. 2000. Orient Blackswan. p. 451. ISBN 8-125-02657-6.
  22. Sreedharan, E. (2004). A Textbook of Historiography, 500 B.C. to A.D. 2000. Orient Blackswan. p. 457. ISBN 8-125-02657-6.
  23. Sharma, Ram Sharan (2003). Early Medieval Indian Society (pb). Orient Blackswan. pp. 17–18. ISBN 9788125025238. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.

ข้อมูล

แก้
  • Avari, Burjor, India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from C. 7000 BCE to CE 1200, 2016 (2nd edn), Routledge, ISBN 1317236734, 9781317236733, google books
  • Berger, Eugene; Israel, George; Miller, Charlotte; Parkinson, Brian; Reeves, Andrew; Williams, Nadejda (2016). World History Cultures, States and Society to 1500 (PDF). University of North Georgia Press. ISBN 978-1-940771-10-6. OCLC 961216293.
  • Farooqui, Salma Ahmed, A Comprehensive History of Medieval India: From Twelfth to the Mid-Eighteenth Century, 2011, Pearson Education India, ISBN 8131732029, 9788131732021, google books
  • Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
  • Keay, John, India: A History, 2000, HarperCollins, ISBN 0002557177
  • Michell, George, (1977) The Hindu Temple: An Introduction to its Meaning and Forms, 1977, University of Chicago Press, ISBN 978-0-226-53230-1
  • Rowland, Benjamin, The Art and Architecture of India: Buddhist, Hindu, Jain, 1967 (3rd edn.), Pelican History of Art, Penguin, ISBN 0140561021

อ่านเพิ่ม

แก้
ข้อมูลปฐมภูมิ
  • Babur, ., & Thackston, W. M. (2002). The Baburnama: Memoirs of Babur, prince and emperor. New York: Modern Library.
  • Muḥammad, A. K., & Pandit, K. N. (2009). A Muslim missionary in mediaeval Kashmir: Being the English translation of Tohfatu'l-ahbab.
  • V. S. Bhatnagar (1991). Kānhaḍade Prabandha, India's Greatest Patriotic Saga of Medieval Times: Padmanābha's Epic Account of Kānhaḍade. Aditya Prakashan. ISBN 978-81-85179-54-4.
  • Jain, M. The India They Saw : Foreign Accounts (4 Volumes) Delhi: Ocean Books, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้