อินทรปรัสถ์ (อักษรโรมัน: Indraprastha "ที่ราบลุ่มของพระอินทร์"[1] หรือ "เมืองของพระอินทร์") ได้รับการกล่าวถึงในวรรณคดีอินเดียโบราณว่าเป็นเมืองของ อาณาจักรกุรุ เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่นำโดย ปาณฑพ ใหมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ ในภาษาบาลี เรียกว่า อินทปัต (อักษรโรมัน: Indapatta) นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงใน พระไตรปิฎกภาษาบาลี ว่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรกุรุในยุค มหาชนบท การวิจัยทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่ได้กำหนดสถานที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคของ นิวเดลี ในปัจจุบัน โดยเฉพาะป้อมปราการเก่า (Purana Qila)[2] เมืองนี้บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Khandavaprastha หรือ Khandava Forest ซึ่งมีชื่อมาจากป่าที่อยู่ที่แม่น้ำยมุนา (อ้างอิงจากบันทึกใน มหาภารตะ) ซึ่งถูกทำลายโดย พระกฤษณะ และ อรชุน เพื่อสร้างเมือง

ประวัติ แก้

เมืองอินทรปรัสถ์ถูกอ้างอิงใน มหาภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤต ที่รวบรวมในช่วงเวลาประมาณ 400 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่พระกฤษณะเรียกร้องให้สงบศึกเพื่อสันติภาพและเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามแห่งความหายนะ พระกฤษณะเสนอว่าหากหัสตินาปุระตกลงที่จะคืนอาณาจักรทั้ง 5 ของเมืองอินทรปรัสถ์ คืนให้กลับไปเป็นของพี่น้องปาณฑพ[3][4] พวกเขาก็จะพอใจและจะไม่เรียกร้องอะไรอีก ทุรโยธน์ปฏิเสธอย่างฉุนเฉียวโดยให้ความเห็นว่าเขาจะไม่คืนให้แม้แต่เพียงเศษเสี้ยว ดังนั้นจึงเกิดมหาสงครามครั้งใหญ่ จนทำให้มหากาพย์แห่งมหาภารตะเป็นที่รู้จักมากที่สุด มหาภารตะบันทึกว่าเมืองอินทรปรัสถ์ เป็นที่อยู่อาศัยของพวกปาณฑพซึ่งเปิดสงครามกับ เการพ ซึ่งไม่ได้บรรยายสถานที่ตั้งของเมืองอินทรปรัสถ์ไว้แน่นอนว่ามีอาณาเขตเท่าไร มีแต่ Purana Qila ในนิวเดลีในปัจจุบันเท่านั้นที่มักถูกอ้างถึง[a] และ มถุรา.[5] และได้รับการบันทึกไว้ในตำราที่เก่าแก่เมื่อศตวรรษที่ 14[6] ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชื่อว่า อินทปัต ยังคงถูกนำไปใช้อ้างอิงกับพื้นที่ Purana Qila อยู่[7] ในการศึกษาชื่อสถานที่ของอินเดียโบราณ Michael Witzel คิดว่านี่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ สถานที่จากมหากาพย์ภาษาสันสกฤตซึ่งมีการเก็บรักษาชื่อไว้ในยุคปัจจุบันเช่น โกสัมพี/โกสัม[8]

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ

  1. For instance, Indologist J. A. B. van Buitenen, who translated the Mahabharata, wrote in 1973 that "there can be no reasonable doubt about the locations of Hastinapura, of Indraprastha (Delhi's Purana Qila [...])

รายการอ้างอิง

  1. Upinder Singh (25 September 2017). Political Violence in Ancient India. Harvard University Press. p. 401. ISBN 978-0-674-98128-7.
  2. Imperial Gazetteer of India (1911). Imperial Gazetteer of India, v. 11. Oxford Press. p. 236.
  3. "Geeta Jayanti 2019: पांडवों ने कौरवों से मांगे थे ये पांच गांव जानिए इनके बारे में". Nai Dunia (ภาษาฮินดี). 2019-12-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.
  4. "इन पांच गांवों के कारण हुआ था पांडव और कौरवों में महाभारत का युद्ध | mahabharata war". hindi.webdunia.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02.
  5. J. A. B. van Buitenen; Johannes Adrianus Bernardus Buitenen; James L. Fitzgerald (1973). The Mahabharata, Volume 1: Book 1: The Book of the Beginning. University of Chicago Press. p. 12. ISBN 978-0-226-84663-7.
  6. Singh, Upinder, บ.ก. (2006). Delhi: Ancient History. Berghahn Books. pp. xvii–xxi, 53–56. ISBN 9788187358299.
  7. Amalananda Ghosh (1990). An Encyclopaedia of Indian Archaeology, Volume 2. Munshiram Manoharlal Publishers. pp. 353–354. ISBN 978-81-215-0089-0.
  8. Witzel, Michael (1999). "Aryan and non-Aryan Names in Vedic India. Data for the linguistic situation, c. 1900-500 B.C.". ใน Bronhorst, Johannes; Deshpande, Madhav (บ.ก.). Aryan and Non-Aryan in South Asia (PDF). Harvard University Press. pp. 337–404 (p.25 of PDF). ISBN 978-1-888789-04-1.