แม่น้ำยมุนา
แม่น้ำยมุนา เป็นแม่น้ำในประเทศอินเดีย ต้นน้ำมาจากธารน้ำแข็งยมุโนตรีที่ความสูง 6,387 เมตร (20,955 ฟุต) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยอดเขาบันดาลปูจในเทือกเขาหิมาลัยล่าง รัฐอุตตราขัณฑ์, ไหลเป็นระยะทาง 1,376 กิโลเมตร (855 ไมล์) ก่อนจะรวมเข้ากับแม่น้ำคงคาที่ตริเวนีสังฆัมในเมืองอลาหาบาด จุดที่ชาวฮินดูจัดพิธีกุมภเมลา แม่น้ำยมุนาไหลผ่านรัฐหรยาณา อุตตรประเทศ อุตตราขัณฑ์ และเดลี
ยมุนา ยมุนา (यमुना) ชมุนา (जमुना) | |
---|---|
แผนที่แม่น้ำยมุนา | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | อุตตราขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, อุตตรประเทศ, หรยาณา, เดลี |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ยมุโนตรี |
• ตำแหน่ง | Banderpooch peaks, Uttarkashi district, รัฐอุตตราขัณฑ์ |
• พิกัด | 31°01′0.12″N 78°27′0″E / 31.0167000°N 78.45000°E |
• ระดับความสูง | 4,500 เมตร (14,800 ฟุต)[1] |
ปากน้ำ | แม่น้ำคง |
• ตำแหน่ง | ตริเวนีสังฆัม, อลาหาบาด |
• พิกัด | 25°25′11.44″N 81°53′5.80″E / 25.4198444°N 81.8849444°E |
• ระดับความสูง | 74 เมตร (243 ฟุต) |
ความยาว | 1,376 กิโลเมตร (855 ไมล์) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 366,223 ตารางกิโลเมตร (141,399 ตารางไมล์) |
อัตราการไหล | |
• ตำแหน่ง | อลาหาบาด[2] |
• เฉลี่ย | 2,950 m3/s (104,000 cu ft/s) |
ลุ่มน้ำ | |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | โตนส์, หินโทน, หนุมานคงคา, สัสสูรขเทรี |
• ขวา | คีรี, Baghain, จัมพัล, เบตวัล, สินธุ, เกน |
แม่น้ำยมุนาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู และได้รับการเคารพบูชาในฐานะเทวียมุนา ซึ่งตามเทวตำนานเล่าว่าเป็นธิดาของพระสุรยะ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ และเป็นพี่/น้องสาวของพระยม เทพเจ้าแห่งความตาย เทวียมุนาจึงรู้จักในอีกนามว่ายมีเทวี ตามความเชื่อกระแสหลักของฮินดูเชื่อว่าการลงอาบน้ำในแม่น้ำยมนุนาจะช่วงชะล้างความทรมาณจากการตาย[3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Google (5 March 2023). "แม่น้ำยมุนา" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 5 March 2023.
- ↑ Jain, Sharad K.; Agarwal, Pushpendra K.; Singh, Vijay P. (2007). Hydrology and water resources of India. Springer. p. 341. Bibcode:2007hwri.book.....J. ISBN 978-1-4020-5179-1. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ Jain, Sharad K.; Pushpendra K. Agarwal; Vijay P. Singh (2007). Hydrology and water resources of India—Volume 57 of Water science and technology library. Springer. pp. 344–354. ISBN 978-1-4020-5179-1.
- ↑ Hoiberg, Dale (2000). Students' Britannica India, Volumes 1-5. Popular Prakashan. pp. 290–291. ISBN 0-85229-760-2.