อาเล็กซานดาร์ การาจอร์เจวิช

อาเล็กซานดาร์ คาราจอร์เจวิช ทรงเป็นที่รู้จักในนาม เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย (เซอร์เบีย: Александар Карађорђевић, Aleksandar Karađorđević; พระราชสมภพ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เซอร์เบีย เมื่อครั้งพระราชบิดาของพระองค์คือพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ทรงทำให้เจ้าชายเป็นมกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวียซึ่งเป็นพระองค์สุดท้าย ด้วยการสร้างรัฐบาลคอมมิวนิสต์และการตามมาซึ่งการล่มสลายแห่งยูโกสลาเวีย ทำให้ปัจจุบันทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์เซอร์เบีย โดยมีพระราชอิสริยยศเป็น เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ที่ 2 มกุฎราชกุมารแห่งเซอร์เบีย แต่ปัจจุบันเป็นสาธารณรัฐเซอร์เบีย

อาเล็กซานดาร์
มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย
ประมุขแห่งราชวงศ์การาจอร์เจวิช
ดำรงตำแหน่ง3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน
ก่อนหน้าเปตาร์ที่ 2
ทายาทฟิลิป
มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย
ระหว่าง17 กรกฎาคม – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าเปตาร์
ถัดไปราชาธิปไตยถูกล้มล้าง
พระราชสมภพ17 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
คู่อภิเษก
พระบุตร
ราชวงศ์คาราจอร์เจวิช
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย
พระมารดาสมเด็จพระราชินีอาเล็กซานดราแห่งยูโกสลาเวีย
ศาสนาเซอร์เบีย ออร์ทอดอกซ์

เจ้าชายอาเล็กซานดาร์เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งยูโกสลาเวีย ราชวงศ์คาราจอร์เจวิช กับสมเด็จพระราชินีอาเล็กซานดราแห่งยูโกสลาเวีย พระองค์มีพระราชอิสริยยศเป็น "มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์" ซึ่งได้มาตั้งแต่พระราชสมภพและพระราชบิดายังคงเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ ซึ่งเป็นการแตกแยกในเซอร์เบียด้วยผู้คนจำนวนมากที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์อันส่งผลต่อกับความมั่นคงของประเทศ

สถานภาพแรกพระราชสมภพ

แก้

เหมือนกับระบอบกษัตริย์ยุโรปหลายประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ได้เสด็จออกจากประเทศและทรงตั้งคณะรัฐบาลพลัดถิ่น เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ทรงออกจากยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 และมาถึงที่ลอนดอนในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ซึ่งมาจากการยอมจำนนของกองทัพหลวงยูโกสลาฟ

หลังจากการประชุมที่เตหะราน กลุ่มพันธมิตรได้เคลื่อนย้ายการสนับสนุนกลุ่มเช็ทนิกส์ไปยังกลุ่มคอมมิวนิสต์พาร์ทิสัน การแสดงความคิดเห็นในเหตุการณ์และสิ่งบังเกิดขึ้นกับพระบิดาของพระองค์ เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ตรัสว่า "พระบิดาทรงตรงไปตรงมามาก พระองค์ไม่สามารถเชื่อในพันธมิตรของพระองค์ได้ ซึ่งก็คือขั้วอำนาจประชาธิปไตยอเมริกาและพระญาติกับพระสหายในลอนดอนที่สามารถช่วยได้ แต่เกิดขึ้นได้อย่างเที่ยงตรง" ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2488 อิวาน ซิวบาซิก ทูตราชวงศ์ และยอซีป บรอซ ตีโต ผู้นำฝ่ายพาร์ทิสัน ได้ลงนามข้อตกลงที่ซึ่งพยายามรวมกันระหว่างพระราชวงศ์กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 กลุ่มเอวีเอ็นโอเจ ซึ่งเป็นกลุ่มพาร์ทิสันได้ประกาศตนเป็นรัฐบาลปกครองยูโกสลาเวีย และประกาศยกเลิกสิทธิอันชอบธรรมของพระราชวงศ์ ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไม่กี่เดือนหลังจากการกำเนิดของเจ้าชาย เอ็นวีเอโอเจได้ตังชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ประเทศได้ประกาศเป็นสาธารณรัฐคอมมิวนิสต์และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย ใน พ.ศ. 2490 พระราชวงศ์ได้ถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองยูโกสลาเวียและตำแหน่งของพระราชวงศ์ได้ถูกปลด

พระราชสมภพและเมื่อทรงพระเยาว์

แก้

เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ มกุฎราชกุมารเสด็จพระราชสมภพที่ห้อง 212 โรมแรมคาริจส์ในถนนบรูก ลอนดอน รัฐบาลอังกฤษให้อำนาจในการปกครองรัฐบาลพลัดถิ่นชั่วคราวบริเวณนั้นดังนั้นพระราชโอรสผู้เป็นมกุฎราชกุมารควรจะพระราชสมภพในดินแดนยูโกสลาฟ

พ่อแม่ทูนหัวของอาเล็กซานดาร์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวียกับเจ้าหญิงอาเล็กซานดราแห่งกรีซและเดนมาร์ก และเป็นพระราชนัดดาเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าอาเลกซันโดรสแห่งกรีซ กับ อัสปาซียา มาโนส ผ่านทางพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีพระองค์เป็นพระญาติของดัสเชสอีเลียนา มานอสแห่งชารท์ พระองค์ทรงมีเชื้อสายพระราชวงศ์ในยุคกลางคือราชวงศ์เนมานจิค

พระบิดามารดาของพระองค์ไม่สามารถดูแลพระองค์ได้เต็มที่เนื่องจากปัญหาด้านพลานามัยและการเงิน ดังนั้งพระองค์จึงได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าหญิงแอสปาเซีย พระอัยยิกา พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่ Institut Le Rosey วิทยาลัยคัลเวอร์, โรงเรียนกอร์ดอนสตอร์น, โรงเรียนมิลล์ฟิลด์และ Mons Officer Cadet School, Aldershot

อภิเษกสมรส

แก้
 
เจ้าชายอาเล็กซานดาร์และเจ้าหญิงมาเรีย เดอ กลอเรีย พระชายาองค์แรกในวันอภิเษกสมรส

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่วิลลาแมนริค เดอ ลา คอนเดสซา ใกล้เมืองเซบิยา ประเทศสเปน อาเล็กซานดาร์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย เดอ กลอเรีย แห่งออร์เลออง บราแกนซา ทั้ง 2 มีพระบุตรร่วมกัน 3 พระองค์ได้แก่

เนื่องจากการอภิเษกสมรสกับชาวโรมันคาทอลิก พระองค์จึงสูญเสียตำแหน่งลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ ที่ซึ่งทรงเป็นเชื้อสายในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียโดยผ่านทางพระโอรสของพระนางคือเจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาในจุดยืนของพระองค์ที่เป็นพระญาติห่าง ๆ อันไม่สามารถทำให้พระองค์กลายเป็นกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรได้ เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ยังทรงเป็นเชื้อสายของพระธิดาองค์โตในพระนางเจ้าวิกตอเรียคือเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี โดยพระโอรสทั้ง 3 ของพระองค์ทรงอยู่ในลำดับที่ 94, 95 และ 96 ด้วย

เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ทรงหย่ากับเจ้าหญิงมาเรียใน พ.ศ. 2528 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสใหม่กับแคทเทอรีน แคร์รี เบ็ทติส ธิดาในโรเบิร์ต แบ็ทติส และแอนนา ดอสติ ในวันที่ 20 กันยายนปีเดียวกัน และพิธีจัดอย่างเลื่อมใสที่โบสถ์ออร์ทอด็อกซ์เซนต์ซาวา, นอร์ธทิง ฮิลล์ ลอนดอน

เสด็จกลับยูโกสลาเวีย

แก้

เจ้าชายอาเล็กซานดาร์เสด็จมายูโกสลาเวียครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจด้านประชาธิปไตยเพื่อต่อต้านยุคสมัยของจอมเผด็จการสโลโบดัน มิโลเชวิช และทรงย้ายมาพำนักที่ยูโกสลาเวียหลังจากสโลโบดัน มิโลเชวิช ถูกปลดออกจากตำแหน่งใน พ.ศ. 2543 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 พลเมืองชาวยูโสลาเวียได้ฟื้นฟูพระราชวงศ์โดยรัฐบาลให้สิทธิในทรัพย์สิน รวมทั้งพระราชวังหลวง ปัจจุบันทรงพำนักที่พระราชวังหลวงที่เมืองเดดินเจและเขตพิเศษเบลเกรด

 
เจ้าชายอาเล็กซานดาร์และเจ้าหญิงแคทเทอรีน พระชายาองค์ปัจจุบัน

ความเชื่อในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

แก้

มกุฎราชกุมารอาเล็กซานดาร์ทรงสนับสนุนการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในเซอร์เบียและจะทรงเป็นกษัตริย์โดยถูกต้อง พระองค์เชื่อว่าระบอบกษัตริย์มีส่วนช่วยให้เซอร์เบียมี "ความมั่นคง, ความต่อเนื่องกันและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"

สมาชิกในหลายๆพรรคการเมืองสนับสนุนระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คริสตจักรออร์ทอด็อกซ์เซอร์เบียสนับสนุนในการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ นายกรัฐมนตรีซอราน ดินดิคได้มีนโยบายฟื้นฟูระบอบกษัตริย์แต่ได้ถูกลอบสังหารเสียก่อน โดยพรรคเดโมแครตของเขาไม่เห็นด้วยกับการฟื้นฟูพระราชวงศ์

มกุฎราชกุมารทรงสาบานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและจะบรรลุปณิธานที่ตั้งไว้ พระองค์และมกุฎราชกุมารีแคทเทอรีนทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์มากมายแก่ชาวเซอร์เบียได้แก่ สิทธิมนุษยชน เป็นต้น ในพระดำรัสครั้งทรงกล่าวในการที่เซอร์เบียเป็นสมาชิกในสหภาพยุโรปว่า

ในการรวมตัวครั้งนี้ เราคือเซอร์เบียและมอนเตเนโกรต้องนำเข้าสู่การพิจารณา อะไรก็ตามที่พวกเรานำไปในสหภาพยุโรป เรามีใช้เพียงทางเดียวและใช้ทำงานร่วมกันให้ดีต่อทุกชาติ มันจะเป็นศูนย์กลางที่จะพิจารณาความมั่นคงในอุดมการณ์ของพวกเราที่จะทำให้ดีขึ้นเมื่อเซอร์เบียมีความสงบอย่างสมบูรณ์

ด้วยประเทศมอนเตเนโกรได้ลงนามประกาศอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ได้พบในการโต้วาทีทางการเมืองประจำวัน ผู้นิยมกษัตริย์ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เอกสารนี้ได้รับการอนุมัติในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน โดยเกี่ยวกับสาธารณรัฐ ชาวเซอร์เบียไม่ได้เลือกการเปลี่ยนระบบรัฐบาล

มกุฎราชกุมารมีพระราชดำรัสเมื่อ 3 วัน หลังลงนาม ว่า

ได้มีการรับรองอย่างเป็นทางการแล้วเกี่ยวกับเอกราชแห่งมอนเตเนโกร ข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าใจแต่ข้าพเจ้าต้องการให้พี่น้องชาวมอนเตเนโกรประสบความสงบสุข, เป็นประชาธิปไตยและความสุข ชาวมอนเตเนโกรคือพี่น้องกันกับเราไม่ว่าจะอยู่ในเซอร์เบียหรือมอนเตเนโกร เป็นอย่างที่เป็นและเป็นเช่นนั้นตลอดไป


...ข้าพเจ้าเชื่อในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเซอร์เบีย พวกเราต้องภาคภูมิใจอีกครั้งในความเข้มแข็งของเซอร์เบียในช่วงสงบสุขในตนเองและประเทศเพื่อนบ้าน พวกเราภูมิใจและเชื่อถือและประเทศความสุขในวันของพระปัยกาพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 ดังนั้นเราสามารถทำได้ ถ้าเรามีการปกครองอันมาจากจิตวิญญาณแห่งปวงชนชาวเซอร์เบีย


...แท้จริงแล้วกษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง พระองค์จะทรงเป็นผู้คุ้มครองความเป็นเอกภาพแห่งปวงชน, ความมั่นคงทางการเมืองและความต่อเนื่องกันภายในประเทศ ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์จะเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งไม่ใช่ผลประโยชน์สำหรับตนหรือพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง อะไรก็ตามที่เป็นผลประโยชน์สำคัญของเซอร์เบีย


ข้าพเจ้าได้พบปะกับเหล่านักการเมือง พวกเราได้ทำงานด้วยกันเพื่อผลดีของเซอร์เบีย และจะเป็นมิตรภายใต้นามของประเทศในอนาคต ข้าพเจ้าได้ร้องขอเพื่อจุดจบของการขัดแย้งที่ต่อเนื่อง, การแบ่งพรรคแบ่งพวกและการโต้เถียง ข้าพเจ้าได้ร้องขอเรื่องการโต้วาทีโดยเสร็จสมบูรณ์ให้เห็นแก่ประโยชน์ของเซอร์เบีย เซอร์เบียจะสะอาดและปฏิบัติได้อย่างแท้จริงโดยไม่ลำเอียง

การกลับมาของพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2

แก้

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2550 เจ้าชายอาเล็กซานดาร์ทรงประกาศแผนการอัญเชิญพระบรมศพของพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวียกลับสู่มาตภูมิคือเซอร์เบียและฝังพระบรมศพที่สุสานหลวงพระราชวงศ์โอเปนัก ที่ซึ่งพระราชวงศ์การาจอร์เจวิชทุกพระองค์ได้ฝังที่นี้ และพระองค์ยังทรงปรารถนาให้อัญเชิญพระบรมศพของพระราชอัยยิกาคือมาเรียแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวียมาผังเคียงข้างพระราชอัยกาคือสมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย

ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าชายอาเล็กซานดาร์
 
ธงประจำพระองค์
การทูลฮิสรอยัลไฮเนส
การขานรับยัวรอยัลไฮเนส

อ้างอิง

แก้
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Alexander,_Crown_Prince_of_Yugoslavia
  • Official Royal Family website
  • royal.rs - Alexander, Crown Prince[ลิงก์เสีย]
  • The Mausoleum of the Serbian Royal Family
  • Crown Prince Alexander II Foundation for Education[ลิงก์เสีย]
  • Fenyvesi, Charles (1981). Royalty In Exile. London: Robson Books Ltd. ISBN 0-86051-131-6.
  • Louda, Jiri (1981). Lines of Succession. London: Orbis Publishing. ISBN 0-85613-276-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Pavle, Patriarch (29 November 1981). Letter to HRH Crown Prince Alexander II. Belgrade.
  • Luxmoore, Jonathon (8 December 1981). Serbian Orthodox Leader Calls For Monarchy To Be Reintroduced. Belgrade: Ecumenical News Daily Service.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า อาเล็กซานดาร์ การาจอร์เจวิช ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย    
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ยูโกสลาเวีย
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เซอร์เบีย
(การาจอร์เจวิช)
ภายใต้กฎหมาย

(3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 – ปัจจุบัน)
  ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่
หรือ
เจ้าชายปีเตอร์ รัชทายาทแห่งเซอร์เบีย