สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย หรือทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 คาราจอร์เจวิช (ภาษาเซอร์เบีย, ภาษาโครแอต, ภาษาบอสเนีย, ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย: Petar II Karađorđević อักษรซีริลลิก: Петар II Карађорђевић) (6 กันยายน ค.ศ. 1923 - 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามและองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ก่อนหน้านี้เรียกว่าราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนในช่วงก่อน ค.ศ. 1929 พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตใน สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย กับเจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย พระบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร กับ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนแห่งสหราชอาณาจักร

ปีเตอร์ที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย
ครองราชย์9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1
ถัดไปไม่มี; ล้มเลิกราชาธิปไตย
พระราชสมภพ6 กันยายน ค.ศ. 1923(1923-09-06)
เบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย ราชอาณาจักรชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
สวรรคต3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970(1970-11-03) (47 ปี)
เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐ
ฝังพระศพโบสถ์พระอารามเซนต์เซวา รัฐอิลลินอย สหรัฐ
โบสถ์เซนต์จอร์จ Oplenac โทโพลา ประเทศเซอร์เบีย
คู่อภิเษกเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งกรีซ
พระราชโอรสมกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์แห่งยูโกสลาเวีย
ราชวงศ์คาราจอร์เจวิช
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
พระราชมารดามาเรียแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวีย

ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ แก้

 
เจ้าชายปีเตอร์และพระราชินีมาเรีย พระมารดา

การศึกษาของพระองค์เริ่มต้นขึ้นที่พระราชวังหลวง จากนั้นทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนแซนด์รอยด์ วิลต์เชอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อมีพระชนมายุได้ 11 พรรษา เจ้าชายปีเตอร์แห่งราชวงศ์คาราจอร์เจวิชทรงครองราชสมบัติแห่งยูโกสลาฟในปี ค.ศ. 1934 เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวียพระบรมชนกนาถของพระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ที่ฝรั่งเศส เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ สภาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีหัวหน้าคือ เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวียผู้เป็นพระญาติฝ่ายพระบิดาของพระองค์

สงครามโลกครั้งที่ 2 แก้

ถึงแม้ว่าสมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์และเหล่าคณะที่ปรึกษาของพระองค์ต่อต้านนาซีเยอรมนี ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าชายพอลทรงประกาศว่า ยูโกสลาเวียจะยึดมั่นในกติกาสัญญาไตรภาคี (ฝ่ายอักษะ) ในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1941 พระราชาธิบดีปีเตอร์ พระชนมพรรษา 17 พรรษา ทรงได้รับประกาศบรรลุนิติภาวะ และทรงได้การสนับสนุนจากอังกฤษในการรัฐประหารผู้ซึ่งยอมรับกติกาสัญญาไตรภาคี

ความยืดเยื้อของปฏิบัติการบาร์บารอสซา เยอรมนีได้โจมตียูโกสลาเวียและกรีซพร้อมๆกัน ตั้งแต่ 6 เมษายน ลุฟท์วัฟเฟอได้โจมตีเบลเกรดอย่างหนึ่งถึง 3 วัน 3 คืนเป็นปฏิบัติการลงโทษยูโกสลาเวีย ภายใน 1 สัปดาห์ เยอรมนี,บัลแกเรีย,ฮังการี และอิตาลีได้ระดมพลบุกยูโกสลาเวียและคณะรัฐบาลได้ประกาศยอมแพ้สงครามในวันที่ 17 เมษายน ยูโกสลาเวียได้ถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนโดยเยอรมนี บัลแกเรีย ฮังการี และอิตาลีตามความต้องการและครอบงำชาวโครแอต ชาวเซิร์บ และชาวมอนเตเนโกร สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์จำต้องเสด็จพระราชดำเนินออกนอกประเทศพร้อมคณะรัฐบาลยูโกสลาเวียเนื่องจากการบุกของฝ่ายอักษะ ในขั้นต้นเสด็จพระราชดำเนินพร้อมคณะรัฐบาลไปที่กรีซและเยรูซาเลม จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่บริติชปาเลสไตน์และกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังอังกฤษในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ที่ซึ่งทรงเข้าร่วมกับคณะรัฐบาลประเทศต่างๆที่ลี้ภัยจากการโจมตีของนาซี พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และทรงเข้าร่วมกองทัพอากาศอังกฤษ

ถึงอย่างไรก็ตามความล้มเหลวของกองทัพยูโกสลาฟ เกิดความขัดแย้งขึ้นสองฝ่าย ฝ่ายแรกคือกลุ่มหัวรุนแรงยูโกสลาฟที่ซึ่งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ซึ่งล้อมรอบไปด้วยกลุ่มสาธารณรัฐที่ประกอบด้วยรัฐบาลยูโกสลาฟนำโดยยอซีป บรอซ ตีโต อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มเช็ทนิกส์ เป็นกลุ่มที่โดดเด่นในกลุ่มการเคลื่อนไหวในเซอร์เบียทั้งหมด นำโดย นายพลเดรซา มิเฮลโรวิก ซึ่งได้ประกาศความแตกแยกครั้งนี้ในไม่ช้าโดยรัฐมนตรีกลาโหมของคณะรัฐบาลพลัดถิ่น การเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน กลุ่มเช็ทนิกส์ได้เข้าโจมตีที่มั่นของกลุ่มหัวรุนแรงยูโกสลาฟ การปลดปล่อยดินแดนและในไม่ช้าได้เริ่มต้นร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านพวกหัวรุนแรงแต่พยายามยึดครองดินแดนของเหล่าผู้สนับสนุนตนเอง พันธมิตรที่สนับสนุนมิเฮลโรวิกได้เปลี่ยนมาสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงที่ต่อสู้กับกองทัพเยอรมันที่เป็นกลุ่มเช็ทนิกส์ กลุ่มหัวรุนแรงได้รับการเห็นใจในเตหะรานและพันธมิตรยูโกสลาฟได้เข้าร่วมต่อต้าน ในปี ค.ศ. 1944 นายพลยอซีป บรอซ ตีโต ได้ถูกยอมรับโดยรัฐบาลพลัดถิ่นและสมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ได้ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพยูโกสลาฟ และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับรัฐบาลซึ่งได้รับการสนับสนุนในยูโกสลาเวียมีการต่อต้านฝ่ายอักษะและผู้สนับสนุนมากมาย

อภิเษกสมรส แก้

 
สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวียและเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งกรีซ พระมเหสี

สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งกรีซ ในลอนดอน วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1944

ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรส 1 พระองค์คือ มกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์แห่งยูโกสลาเวีย

การถอนพระราชอิสริยยศและการลี้ภัย แก้

ขณะทรงลี้ภัยสมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ทรงถูกถอนพระราชอิสริยยศโดยสมัชชารัฐธรรมนูญแห่งยูโกสลาเวียในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงปฏิเสธที่จะสละราชสมบัติ หลังสงครามยุติพระองค์ทรงตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา หลังจากทรงทรมานด้วยพระโรคตับแข็ง พระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970 ที่เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด หลังจากความล้มเหลวในการปลูกถ่ายตับ

พระบรมศพถูกทำพิธีที่โบสถ์พระอารามเซนต์เซวา รัฐอิลลินอย เป็นพระมหากษัตริย์ยุโรปเพียงพระองค์เดียวที่พระบรมศพฝังบนแผ่นดินอเมริกา พระราชโอรสของพระองค์คือ มกุฎราชกุมารอเล็กซานเดอร์แห่งยูโกสลาเวีย ทรงเป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์ยูโกสลาเวีย

พระราชตระกูล แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คาราดอร์ เปโทรวิช
 
 
 
 
 
 
 
8. อเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจเลนา เจวานนอวิช
 
 
 
 
 
 
 
4. ปีเตอร์ที่ 1 แห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เจฟเรม เนนาโนวิช
 
 
 
 
 
 
 
9. เพรสินา เนนาโนวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
2. อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. แกรนด์ดยุคเมอร์โก เปโทรวิช-นีเยกอช
 
 
 
 
 
 
 
10. นิโคลัสที่ 1 แห่งมอนเตเนโกร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. อนาสตาซีรา มาร์ทติโนวิช
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เปตรา วูคอวิช
 
 
 
 
 
 
 
11. มิเลนา วูคอวิช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจเรนา วอยโววิช
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. เจ้าชายชาร์ลส์ แอนโทนีแห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าชายลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงโจเซฟีนแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
6. เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงแอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. สมเด็จพระราชินีมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
15. แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง แก้


ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย    
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย
(คาราจอร์เจวิช)

(9 ตุลาคม ค.ศ. 1934 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945)
  ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง
ระบอบสาธารณรัฐสังคมนิยม    
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ยูโกสลาเวีย
(คาราจอร์เจวิช)
ภายใต้กฎหมาย

(29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970)
  เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย