อาสนวิหารบูร์ฌ
อาสนวิหารบูร์ฌ (ฝรั่งเศส: Cathédrale de Bourges) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Bourges) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์ฌในประเทศฝรั่งเศส และเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลบูร์ฌ โดยอุทิศแด่นักบุญสเทเฟน
![]() | |
---|---|
![]() อาสนวิหารมองจากบริเวณสวน | |
![]() | |
47°04′56″N 2°23′57″E / 47.08222°N 2.39917°E | |
ที่ตั้ง | บูร์ฌ แชร์ |
ประเทศ | ![]() |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
สถานะ | อาสนวิหาร |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | กอธิก |
แล้วเสร็จ | ค.ศ. 1230 |
![]() |
มหาวิหารบูร์ฌ * | |
---|---|
![]() | |
![]() มหาวิหารบูร์ฌ | |
ประเทศ | ![]() |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i) (ii) (vi) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2535 (คณะกรรมการสมัยที่ 16) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างด้วยความยิ่งใหญ่และกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหน้าบัน รูปปั้นประดับโดยรอบ และงานกระจกสี อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกละเลยมาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารแห่งนี้ก็โดดเด่นไม่แพ้กับอาสนวิหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในประเทศฝรั่งเศส
ประวัติแก้ไข
การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1195 ในปีเดียวกันกับมหาวิหารชาทร์ บริเวณบริเวณร้องเพลงสวดสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1214, ทางเดินกลางระหว่างปี ค.ศ. 1225 ถึงปี ค.ศ. 1250 และด้านหน้าในปี ค.ศ. 1270 สถาปนิกคือ Paul-Louis Boeswillwald และนายช่างก่อสร้างใหญ่คือ Philip Berruyer อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌได้รับการเสกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1324
อาสนวิหารบูร์ฌได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 1862 ตั้งอยู่ใจกลางเขตเมืองประวัติศาสตร์บูร์ฌซึ่งได้รับการคุ้มครองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี ค.ศ. 1992[1] โดยได้รับการยกย่องให้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมกอทิกและสัญลักษณ์แห่งพลังของศาสนาคริสต์ในฝรั่งเศสยุคกลาง
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ
บทความเกี่ยวกับมหาวิหาร วิหาร โบสถ์ หรือสถานที่สำคัญทางคริสต์ศาสนานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |