52°31′7″N 13°22′35″E / 52.51861°N 13.37639°E / 52.51861; 13.37639

อาคารไรชส์ทาค
Reichstagsgebäude
ด้านหน้าของอาคารไรชส์ทาค
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทอาคารรัฐสภา
เมืองกรุงเบอร์ลิน
ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
เริ่มสร้าง9 มิถุนายน ค.ศ. 1884
ปรับปรุงค.ศ. 1992
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกเพาล์ วัลลอท
เคยถูกวางเพลิงในค.ศ. 1933

อาคารไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstagsgebäude [ˈʁaɪçstaːksɡəˌbɔʏdə]) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาคารที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค (เยอรมัน: Deutscher Bundestag – Plenarbereich Reichstagsgebäude [ˈdɔʏtʃɐ ˈbʊndəsˌtaːk ˈpleːnaːɐ̯bəˌʁaɪç ˈʁaɪçstaːksɡəˌbɔʏdə]) เป็นอาคารรัฐสภาทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่พลัทซ์แดร์รีปูบลิกในกรุงเบอร์ลิน เป็นที่ตั้งของบุนเดิสทาค(สภาสหพันธ์)ของเยอรมัน มันยังเป็นสถานที่ที่ประชุมของบุนเดิสแฟร์ซัมลุง(สมัชชาสหพันธ์) ที่ซึ่งได้เลือกประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีอีกด้วย

อาคารรูปแบบสไตล์นีโอ-เรเนซองส์ ถูกสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1884 และ 1894 ในเขตเทียร์กาเทิน บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำชเปร ตามการออกแบบโดยสถาปนิกชาวเยอรมันนามว่า เพาล์ วัลลอท มันเป็นที่ตั้งของทั้งรัฐสภาไรชส์ทาคของจักรวรรดิเยอรมันและรัฐสภาไรชส์ทาคของสาธารณรัฐไวมาร์ สภาสหพันธ์ไรชส์ยังได้ประชุมกันที่นั่นในตอนแรก อาคารนี้ได้ถูกใช้โดยรัฐสภาไรชส์ทาคของนาซีเยอรมนี แต่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาคใน ค.ศ. 1933 ทำให้ไม่สามารถใข้อาคารนี้ได้อีกต่อไป และรัฐสภาไรชส์ทาคจึงย้ายไปอยู่ที่โรงอุปรากรครอลล์ที่อยู่ใกล้เคียง เหตุเพลิงไหม้ ค.ศ. 1933 กลายเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในการยึดอำนาจของระบอบนาซี อาคารนี้ได้รับความเสียหายเพิ่มเติมในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสัญลักษณ์ของอาคารได้ตกเป็นเป้าหมายที่สำคัญของกองทัพแดงในช่วงยุทธการที่เบอร์ลิน

ภายหลังสงคราม อาคารแห่งนี้ได้ถูกปรับปรุงและบูรณะขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1960 และใช้สำหรับการจัดงานนิทรรศการและกิจกรรมพิเศษ เนื่องจากที่ตั้งในเบอร์ลินตะวันตกทำให้ไม่สามารถใช้เป็นอาคารรัฐสภาของเยอรมนีทั้งสองประเทศได้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 1999 สถาปนิกนอร์มัน ฟอสเตอร์ได้ออกแบบอาคารไรชส์ทาคขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นอาคารรัฐสภาในเยอรมนีที่ได้รวมชาติเป็นหนึ่งเดียวในปัจจุบัน กุญแจอาคารได้ถูกส่งมอบอย่างเป็นทางการให้แก่โวล์ฟกัง เธียร์เซ ประธานสภาแห่งบุนเดิสทาค วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1999 สถานที่สำคัญของเมืองคือโดมกระจกแบบวอล์กอินที่ได้ถูกออกแบบใหม่เหนือห้องประชุมใหญ่ ซึ่งได้ถูกเสนอโดยศิลปินและสถาปนิกชาวเยอรมันนามว่า Gottfried Böhm