อาคารใบหยก 2
ตึกใบหยก 2 (อังกฤษ: Baiyoke Tower II) เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นตึกที่สูงเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศไทย และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2559 ก่อนถูกทำลายสถิติโดยตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร[1] ซึ่งตึกใบหยก 2 เป็นตึกที่ครองตำแหน่งตึกที่สูงที่สุดในไทยนานที่สุดเป็นเวลา 19 ปี มีลิฟต์แก้วเพื่อขึ้นไปสู่ห้องอาหารชั้นที่ 77 ตั้งอยู่ในย่านประตูน้ำ ซอยราชปรารภ 3 ถนนราชปรารภ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ใบหยก 2 Baiyoke Tower II | |||||
![]() อาคารใบหยก 2
| |||||
ข้อมูล | |||||
---|---|---|---|---|---|
ที่ตั้ง | 222 ซอยราชปรารภ 3 ถนนราชปรารภ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ | ||||
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2533-2540 | ||||
การใช้งาน | โรงแรม | ||||
ความสูง | |||||
เสาอากาศ / ยอด | 328.4 เมตร (1077 ฟุต)[1] | ||||
หลังคา | 304 เมตร (997 ฟุต)[1] | ||||
ชั้นสูงสุด | 290 เมตร (951 ฟุต)[1] | ||||
รายละเอียด | |||||
จำนวนชั้น | 88 ชั้น (+ ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น) | ||||
มูลค่า | 3.6 พันล้านบาท | ||||
บริษัท | |||||
สถาปนิก | Plan Architects | ||||
นายจ้าง | บริษัท อรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอ็นจิเนียร์ส จำกัด | ||||
ผู้พัฒนา | Land Development Corporation | ||||
เจ้าของ | พันธ์เลิศ ใบหยก | ||||
อ้างอิง: http://www.baiyokehotel.com/ |
ประวัติแก้ไข
ตึกใบหยก 2 เป็นอาคารในเครือใบหยก ซึ่งมี พันธ์เลิศ ใบหยก เป็นประธานและกรรมการผู้จัดการ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 โรงแรมเริ่มเปิดให้บริการใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2541 และในปีเดียวกันมีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่อง ไอทีวี ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 ของตึกใบหยก 2 ที่ความสูง 54 เมตร (150 ฟุต) บนยอดตึก และหลังจากนั้น สทท. กรมประชาสัมพันธ์ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11 / เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี (ชื่อในขณะนั้นของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 / เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งเป็นระบบยูเอชเอฟ ช่อง 32 ออกอากาศรวมกันโดยใช้เสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ช่องไอทีวีออกอากาศ (ต่อมาใช้ชื่อว่า ทีไอทีวี และปัจจุบันใช้ชื่อว่า ไทยพีบีเอส) ซึ่งตึกใบหยก 2 นับว่าเป็น ตึกระฟ้า หลังแรกของ ประเทศไทย ที่มีความสูงเกิน 300 เมตร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน จึงมีรายละเอียดการออกอากาศดังนี้ ททบ. ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 36 (ใช้โครงข่ายที่ 2) / บมจ. อสมท (หรือช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ระบบยูเอชเอฟ ช่อง 40 (ใช้โครงข่ายที่ 3)[ต้องการอ้างอิง] และในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีที่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการ จึงได้มีการเริ่มออกอากาศช่องความถี่โครงข่ายโทรทัศน์เพิ่มเติมคือ กรมประชาสัมพันธ์ (หรือ สทท.) ช่อง 26 (ใช้โครงข่ายที่ 1) / ไทยพีบีเอส ช่อง 44 (ใช้โครงข่ายที่ 4) / ททบ. ช่อง 52 (ใช้โครงข่ายที่ 5) เพราะด้วยความสูงของอาคาร ทำให้เสาส่งสัญญาณสามารถทำหน้าที่แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ได้ทั่วถึงในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้อาคารฯ กลายเป็นที่ตั้งของสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์หลักของ กรุงเทพมหานคร[ต้องการอ้างอิง]
รายละเอียดของอาคารแก้ไข
อาคารมีความสูง 304 เมตร (994 ฟุต) มีทั้งสิ้น 88 ชั้น (ถ้าไม่นับชั้นใต้ดินจะมี 85 ชั้น) พื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่ชื่อใบหยก สกาย
- ชั้น 18 เป็นโถง โรงแรม
- ตั้งแต่ชั้น 22 ถึง 74 เป็นห้องพักโรงแรม มีทั้งหมด 673 ห้อง
- ชั้น 18, 76, 78, 79, 81 และ 82 เป็นห้องอาหาร ชั้น 83 เป็นบาร์ดาดฟ้า
- ชั้น 77 และ 84 เป็นชั้นสำหรับชมทิวทัศน์ โดยที่ชั้น 84 เป็น ดาดฟ้า หมุนได้รอบ ทั้งสองชั้นนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 11.00 ถึง 23.00 น.
- ลิฟต์โดยสารอาคารนี้มีความเร็วสูงสุด 4.0 เมตร/วินาที (ส่วนพื้นที่โรงแรม) ความเร็วสูงสุด 2.1 เมตร/วินาที (ส่วนพื้นที่พลาซาและลานจอดรถ)
- ลิฟต์และบันไดเลื่อน ภายในอาคารส่วนใหญ่จะเป็นของยี่ห้อ Hitachi (ฮิตาชิ) จากประเทศญี่ปุ่น บำรุงรักษาและตรวจเช็คสภาพ โดย บริษัท สยามฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด บริษัทในเครือสยามกลการ
อุบัติเหตุแก้ไข
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เกิดอุบัติเหตุกับพนักงานติดป้ายโฆษณาของบริษัทโตชิบากำลังปฏิบัติงานอยู่ที่ชั้น 68 ของตึกใบหยก 2 จนทำให้พนักงานตกลงมาเสียชีวิตทันที 3 รายและบาดเจ็บอีก 2 ราย[2]
ตึกใบหยก 1แก้ไข
ตึกใบหยก 1 ตั้งอยู่เลขที่ 130 ถนนราชปรารภ มีชั้นทั้งหมด 43 ชั้น มีความสูง 151 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2530 และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดใน ประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2536 ก่อนจะถูกตึก สินสาธร ทาวเวอร์ ทำลายสถิติในปี พ.ศ. 2536 ตัวตึกมีจุดเด่นคือยอดตึกมีลักษณะเป็นโครงสามเหลี่ยมยอดแหลมและทาสีไล่เฉดเป็นสีรุ้ง เป็นที่ตั้งของโรงแรมใบหยกสวีทและมีร้านอาหารบนยอดตึกชื่อสกายเลาจน์ ชั้นล่างเป็นศูนย์รวมส่งเสื้อผ้าและศูนย์การค้าขนาดเล็ก
ระเบียงภาพแก้ไข
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Baiyoke Tower II. The Skyscraper Center
- ↑ http://www.nationchannel.com/main/news/politics/20120507/27823715/ความคืบหน้าสลิงนั่งร้านขาด/
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อาคารใบหยก 2 |
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อาคารใบหยก 2
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′14″N 100°32′28″E / 13.75384°N 100.540974°E
- อาคารใบหยก 2 ที่ฐานข้อมูลโครงสร้าง (Structurae) (เรียกข้อมูลวันที่ 2009-09-23)
ก่อนหน้า | อาคารใบหยก 2 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ | อาคารที่สูงที่สุดในไทย (พ.ศ. 2540 - 2559) |
คิง เพาเวอร์ มหานคร |