หม่อมราชนิกุล

(เปลี่ยนทางจาก หม่อมราชนิกูล)

หม่อมราชนิกุล หรือ หม่อมราชนิกูล เป็นยศพิเศษที่พระราชทานให้แก่หม่อมราชวงศ์ชายที่ปฏิบัติความดีความชอบในราชการแผ่นดิน ถ้าเทียบกับพระยศเจ้านายถือว่ามีอิสริยยศต่ำกว่าพระองค์เจ้าตั้ง[หมายเหตุ 1] แต่สูงกว่าหม่อมเจ้า[2]: 42 [3]: 88  ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง ถือว่าศักดิ์สูงกว่าพระ แต่ต่ำกว่าพระยา[4]: 1, 298  สมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า เจ้าราชนิกุล ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปรากฏใช้คำว่า หม่อมราชสกุล[5]: 176 [6]: 69–70  หม่อมราชนิกุลท่านสุดท้ายในกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)[2]: 42 

อย่างไรก็ตาม หม่อมราชนิกูลนั้นไม่นับว่าเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์จึงไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์ และบุตร-ธิดาของหม่อมราชนิกูลก็ยังคงเป็นหม่อมหลวงเช่นเดิม ตั้งแต่อดีตหม่อมราชนิกูลมีจำนวนทั้งสิ้น 37 ท่าน โดยในปัจจุบันไม่มีผู้ดำรงยศนี้แล้ว

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)

เจ้าราชนิกูลสมัยอยุธยา แก้

เจ้าราชนิกูล หมายถึง พระญาติฝ่ายพระมหากษัตริย์แต่ไม่ได้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย[7]: 185  เข้าใจว่าเดิมมียศเสมอหม่อมเจ้าตั้ง[8]: 6  ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป[9] ทำเนียบศักดินาสมัยอยุธยาเรียกว่า เจ้า เป็นเชื้อพระวงศ์ถือศักดินาระหว่าง 800–1,000 ส่วนใหญ่มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ฝ่ายคชศักดิ์ (ขี่ช้าง) และอัศวราช (ขี่ม้า) รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด[10]: 122–123 

ทำเนียบศักดินาเจ้าราชนิกูลตามพระไอยการ 20 ตำแหน่ง[10]: 122–123 

หน้าที่ขี่ช้างค่ายต้นเชือก ศักดินา 1000 มี 4 ตำแหน่ง

  • เจ้าพิเทหราช
  • เจ้าอนุรุทเทวา
  • เจ้ามหานามราช
  • เจ้าราชาไชย

หน้าที่ขี่ช้างค้ำปลายเชือก ศักดินา 800 มี 6 ตำแหน่ง

  • เจ้าราชสีหยศ
  • เจ้าภรตราชา
  • เจ้าพงศ์ศีหบาท
  • เจ้าชาติเดชะ
  • เจ้ารามราฆพ
  • เจ้าทศเทพ

หน้าที่ขี่ช้างถือศักดิ์ ศักดินา 800 มี 4 ตำแหน่ง

  • เจ้านเรนทราชา
  • เจ้านราธิราช
  • เจ้าเทพราช
  • เจ้าเทวาธิราช

หน้าที่โขลงกระบือ (ขนส่งและการเกษตร) ศักดินา 800 มี 4 ตำแหน่ง

  • เจ้าราชาอุทัย
  • เจ้าไพชนะเทพ
  • เจ้ารามลักษณ์
  • เจ้าอัคราช

ตำแหน่งรองชั้นเดียวกัน ศักดินา 800 มี 2 ตำแหน่ง

  • เจ้าสุรินทร์
  • เจ้าอินทราช

รายนามเจ้าราชนิกูล แก้

สมัยกรุงศรีอยุธยา แก้

รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง
  1. พระศรีสุธรรมราชา[11]: 147 
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  1. พระปีย์[12]: 188 
รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา

เจ้าราชนิกูลรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเพิ่มคำว่า พระ กลายเป็น เจ้าพระ เช่น[13]: 126 

  1. เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ (ต่อมาสถาปนาเป็น กรมหมื่นอินทรภักดี)
  2. เจ้าพระอินทรอภัย
  3. เจ้าพระบำเรอภูธร[14]
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  1. พระพิเรนทรเทพ
  2. พระเทพวรชุน
  3. พระอไภยสุรินทร์
  4. พระอินทรอไภย

สมัยกรุงธนบุรี แก้

เจ้าราชนิกูลสมัยกรุงธนบุรีใช้คำว่า เจ้า เช่น[15]: 66 

  1. เจ้านราสุริวงษ์
  2. เจ้ารามลักษณ์
  3. เจ้าประทุมไพรจิตร
  4. เจ้าอนิรุทธ์เทวา (หม่อมประยงค์)[16]: 2 
  5. เจ้าเสง (ยังไม่ได้พระราชทานพระนาม)
  6. เจ้าบุญจัน (ยังไม่ได้พระราชทานพระนาม)

สมัยรัตนโกสินทร์ แก้

รัชกาลที่ 1–3 แก้

เจ้าราชนิกูลสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้คำว่า พระ เช่น[17]: 20 

  1. พระพงษ์นรินทร์ (เจ้าทัศพงษ์) โอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับคุณปรางพระสนม[18]: 5–6 
  2. พระอินทรอภัย (เจ้าทัศภัย) โอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับคุณปรางพระสนม[18]: 5–6 
  3. พระฦๅราชสุริยวงศ์ (หม่อมด้วง)[19]: 7 
  4. พระอนุรุทธเทวา (หม่อมฮวบ)[19]: 7 
  5. พระบำเรอราช (หม่อมเงิน)[19]: 7 
  6. พระบำเรอภูธร (จีนเรือง) (ต่อมาสถาปนาเป็นกรมขุนสุนทรภูเบศร์)
  7. พระราชานุวงศ์ (หม่อมทองคำ)[20]: 123 

รัชกาลที่ 4 แก้

สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เปลี่ยนคำว่า พระ เป็น หม่อม แทน[17]: 20 

รายนามหม่อมราชนิกุล แก้
 
หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
 
หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
  1. หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)
  2. หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์เนตร อิศรางกูร)
  3. หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร)
  4. หม่อมทศทิศฦๅเดช (หม่อมราชวงศ์ผิว พนมวัน)
  5. หม่อมนราธิราช (หม่อมราชวงศ์ชิต ศิริวงศ์)
  6. หม่อมนราธิราช (หม่อมราชวงศ์ใหม่ นพวงศ์)
  7. หม่อมอนุรุทธเทวา (หม่อมราชวงศ์โนรี ศิริวงศ์)
  8. หม่อมอนุรุทธเทวา (หม่อมราชวงศ์สายหยุด สนิทวงศ์)
  9. หม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง ศิริวงศ์)
  10. หม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)
  11. หม่อมนเรนทรราชา (หม่อมราชวงศ์มโนรถ ศิริวงศ์)
  12. หม่อมนเรนทรราชา (หม่อมราชวงศ์รัตน์ เสนีวงศ์)
  13. หม่อมนเรนทรราชา (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)
  14. หม่อมไพชยนต์เทพ (หม่อมราชวงศ์พิณ สนิทวงศ์)
  15. หม่อมดำรงรามฤทธิ์ (หม่อมราชวงศ์ฉาย พนมวัน)
  16. หม่อมดำรงรามฤทธิ์ (หม่อมราชวงศ์เชื้อ พนมวัน)
  17. หม่อมอนุวงศ์วรพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์สำเริง อิศรศักดิ์)
  18. หม่อมสีหพงษ์เพ็ญภาค (หม่อมราชวงศ์ตั้ว ชุมสาย)
  19. หม่อมอนุยันต์ศิริวงศ์ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร)
  20. หม่อมอนุยันต์ศิริวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ยัน พนมวัน)
  21. หม่อมศิริพงศ์อนุพันธ์ (หม่อมราชวงศ์ฉิม ดารากร)
  22. หม่อมอนุวัตรวรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์)
  23. หม่อมอนุวัตรวรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์จำนง นพวงศ์)
  24. หม่อมอนุวัตรวรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์สิงหนัท ปราโมช)
  25. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)
  26. หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
  27. หม่อมนิวัทธอิศรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์พยอม อิศรศักดิ์)
  28. หม่อมภารตราชา (หม่อมราชวงศ์โต มนตรีกุล)
  29. หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
  30. หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์สิงหนัท ปราโมช)
  31. หม่อมทวีวัฒนศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ทวี สนิทวงศ์)
  32. หม่อมสนิทวงศ์เสนี (หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์)
  33. หม่อมสุบรรณเสนี (หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ สุบรรณ)
  34. หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
  35. หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี)
  36. หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์ฉายฉาน ศิริวงศ์)
  37. หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธุ์ กฤดากร)

หมายเหตุ แก้

  1. พระองค์เจ้าตั้ง หมายถึง พระราชนัดดา หรือ หม่อมเจ้าที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาตั้งขึ้นเป็นพระองค์เจ้า[1]: 145 

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. สนิท บุญฤทธิ์ (รวบรวม). (2536). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก, 2536. 230 หน้า. ISBN 974-826-221-9
  2. 2.0 2.1 เล็ก พงษ์สมัครไทย. (2549). "คำว่า หม่อม ใช้มาตั้งแต่เมื่อใด? หม่อมแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?", ศิลปวัฒนธรรม, 27(4-6).
  3. ศรีสารา. (2539). พลอยแกมเพชร, 5(101-102).
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
  5. สงวน อั้นคง. (2507). ราชาศัพท์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้าวหน้า. 345 หน้า.
  6. วรนันท์ อักษรพงศ์. (2528). การใช้ราชาศัพท์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.. 361 หน้า..
  7. สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์. (2550). วารสารสมาคมประวัติศาสตร์, 29. 481 หน้า.
  8. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2472). อธิบายว่าด้วยยศเจ้า. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. 35 หน้า.
  9. "หม่อมราชนิกุล, หม่อมราชนิกูล", ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,484 หน้า. ISBN 978-616-7-07380-4
  10. 10.0 10.1 ธรรมคามน์ โภวาที, ถวิล สุนทรศาลทูล (บก.), และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (เผยแพร่). (2511). ประวัติมหาดไทย (ส่วนกลาง) ภาคที่ ๒ ตอนที่ ๒. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประวัติและพิพิธภัณฑ์มหาดไทย. 423 หน้า.
  11. เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล. (2562). ก่อนแผ่นดินเปลี่ยนราชบัลลังก์. กรุงเทพฯ: ไพลินบุ๊คเน็ต. 240 หน้า. ISBN 978-616-4415-19-5
  12. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่มที่ ๑๑. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ISBN 978-974-4178-87-9
  13. "ตั้งเจ้าราชนิกูล แผ่นดินสมเด็จพระมหาบุรุษ (พระเพทราชา) จุลศักราช ๑๐๔๔-๑๐๕๙," ใน พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค ๒ (๒๔๕๕). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
  14. พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล). กรุงเทพฯ: ริมป้อมปากคลองบางหลวง, 2407. หน้า 23.
  15. กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2564, ธันวาคม). ศิลปวัฒนธรรม, 43(2). อ้างใน พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน.
  16. นรินทรเทวี, พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวง และจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2526). จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ. 2310-2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. 37 หน้า. ISBN 974-7922-12-6
  17. 17.0 17.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2472). เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านายฉะบับมีพระรูป. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. 328 หน้า
  18. 18.0 18.1 กรรมการหอสมุดวชิรญาณ. (2512). "พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช," ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๑ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๓ (ต่อ)–๕๗) พงศาวดาร เมืองสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ชวา และโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๑. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. 305 หน้า.
  19. 19.0 19.1 19.2 เชาวน์ รูปเทวินทร์. (2523). ย่ำอดีต ชุด ๓ พระราชวีรกรรมอันหาญกล้า "ท่านบุญมา พระยาเสือ" เล่มที่ ๑ ภาคกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร.
  20. ปิยะนาถ บุนนาค. (2528). รายงานผลการวิจัย: การวิเคราะห์โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคม ในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2394). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 320 หน้า.
บรรณานุกรม
  • จุลลดา ภักดีภูมินทร์, "หม่อมราชนิกุล"[ลิงก์เสีย], นิตยสารสกุลไทย, ฉบับที่ 2409, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2543
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8