หม่อมพัด
หม่อมพัด เป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นบิดาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นพระราชบุตรในกรมหมื่นอินทรภักดี เจ้ากรมพระคชบาล และเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเพทราชา มีตำแหน่งอันเนื่องในกรมพระคชบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา
หม่อมพัด | |
---|---|
เกิด | กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา |
เสียชีวิต | กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา |
บุตร | เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) พระยาไชยบูรณ์ (จัน) |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้- เหตุการณ์ล้อมลูกช้างเผือก
เมื่อปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พรานป่าได้พบเห็นลูกช้างเผือกเดินตามแม่ช้างอยู่ในโขลงที่ป่าติดกับกรุงอังวะแถบเมืองเพชรบุรี พระยาเพชรบุรีจึงเกณฑ์คนไปติดตามคล้องช้างถึงสามร้อยยอดแต่ไม่พบร่องรอยลูกช้างเผือก จึงบอกนำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศให้ทรงทราบ จึงมีรับสั่งกรมหมื่นอินทรภักดี เจ้ากรมพระคชบาล โปรดให้จัดหม่อมพัด บุตรกรมหมื่นอินทรภักดี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงมีพระราชดำรัสสั่งเกณฑ์ไพร่พลในกรุงศรีอยุธยา และหัวเมืองทางใต้กำแพงกรุงศรีอยุธยาเป็นไพร่ 500 คนเศษ โปรดเกล้าฯ ตั้งหม่อมพัดเป็นข้าหลวงกรมพระคชบาลถืออาชญาสิทธิ์คุมไพร่ยกไปล้อมลูกช้างเผือกในป่าเขตกรุงอังวะ
หม่อมพัดกราบบังคมทูลลาแล้วเดินทางไปถึงเมืองปราณบุรี แล้วยกไพร่พลไปถึงเมืองตะนาวศรีของกรุงศรีอยุธยาจัดแจงส่งไพร่พลออกล้อมป่าเที่ยวหานานถึง 2 ปีเศษแต่ไม่พบลูกช้างเผือก จึงยกไพร่พลออกกลับไปยังพระนคร[1][2]: 18
หลักฐานขัดแย้ง
แก้หนังสือ ต้นตระกูลขุนนางไทย ของประยุทธ สิทธิพันธ์ กล่าวคลาดเคลื่อนว่า เหตุการณ์ล้อมลูกช้างเผือกนี้ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ และกล่าวว่า กรมหมื่นอินทรภักดีสั่งให้หม่อมเจ้าพัฒน์ บุตรกรมหมื่นอินทรภักดีเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)[1] จากการสอบหลักฐานหลายชิ้นเปรียบเทียบกันพบว่าความในหนังสือไม่ถูกต้อง ดังนี้
- หนังสือ วงศ์เจ้าพระยานคร ระบุว่า เจ้าพัฒน์เป็นบุตรปลัดเมืองคนก่อน[3] (ไม่ปรากฏนาม)
- กรมหมื่นอินทรภักดีเป็นเจ้ากรมพระคชบาล สิ้นพระชนม์เมื่อปีจุลศักราช ๑๑๑๒ มะเมียโทศก[4] (ตรงกับปี พ.ศ. 2293 ในปัจจุบัน) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพกรมหมื่นอินทรภักดีอย่างชั้นเจ้าต่างกรม ณ วัดไชยวัฒนาราม ตามความใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา หรือ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2275[5] ตาม คําให้การขุนหลวงหาวัด คราวสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเจ้าฟ้าอภัยกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร)
- ธรรมเนียบตระกูลสังเขปครั้งกรุงเก่า ต้นฉบับลายมือคัดของนายคุ้ม ร.ศ. ๕๓[2]: 18 (พ.ศ. 2378) ระบุว่า หม่อมพัดเป็นบุตรเจ้าพระพิไชยสุรินทร์แต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา เป็นเชื้อพระวงศ์แต่ไม่ได้สถาปนาขึ้นเป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์ และเป็นบิดาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) จึงไม่น่ามีอายุถึง พ.ศ. 2357 ตามประวัติของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 ประยุทธ สิทธิพันธ์. (2505). ต้นตระกูลขุนนางไทย. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา. หน้า 205–206.
- ↑ 2.0 2.1 กฤตภาส โรจนกุล. (2554). เอกสารการค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเรื่อง โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.] (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่). อ้างใน ลิขิตปรีชา (คุ้ม), หลวง. (2378). ธรรมเนียบตระกูลสังเขปครั้งกรุงเก่า ต้นฉบับลายมือคัดของนายคุ้ม ร.ศ. ๕๓. กรุงเทพพระมหานคร, [ม.ป.ท.] (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่).
- ↑ โกมารกุลมนตรี, พระยา. (2505). วงศ์เจ้าพระยานคร. เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ คุณกลั่น ณ นคร ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕. พระนคร: ร.พ. มหามุกฏราชวิทยาลัย. หน้า 10.
- ↑ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). พระนคร: กรมศิลปากร, 2511. หน้า 563.
- ↑ คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547. หน้า 85. ISBN 978-974-6457-67-5