หมู่บ้านฮอลันดา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บ้านฮอลันดา ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2177 หรือ ปี ค.ศ. 1634 โดยตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ ตำบลสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านฮอลันดาขึ้นในบริเวณที่เป็นบ้านฮอลันดาเดิม เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์เพื่อการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์
Baan Hollanda | |
ที่ตั้ง | ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|---|
พิกัด | 14°20′29″N 100°34′39″E / 14.34139°N 100.57750°E |
ประเภท | หมู่บ้าน |
ส่วนหนึ่งของ | อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
ความเป็นมา | |
สร้าง | พ.ศ. 2177 |
ละทิ้ง | พ.ศ. 2310 |
สมัย | อยุธยา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ผู้ขุดค้น | กรมศิลปากร |
สภาพ | ซากปรักหักพัง |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
การเปิดให้เข้าชม | พ.–อา. 09.00–17.00 น. |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | ดัตช์ |
ที่มา
แก้ในสมัยอยุธยา ชาวสยามใช้คำว่า "วิลันดา" หมายถึง เนเธอร์แลนด์หรือชาวดัตช์ มาจากคำภาษามลายูว่า "โอรังเบอลันดา" หมายถึง ชาวดัตช์ในชวาและที่อื่น ๆ ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซียในปัจจุบัน) คำว่า "เบอลันดา" เองอาจมาจากคำภาษาโปรตุเกสว่า "ออลันดา" (ฮอลแลนด์)
ชาววิลันดาหรือชาวฮอลันดานั้นเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2147 (ค.ศ. 1604) ตรงกับปลายช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต่อมาใน พ.ศ. 2151 (ค.ศ. 1608) จึงได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเอกาทศรถให้ตั้งสถานีการค้าแห่งแรก ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่ทางด้านใต้ภายในเกาะเมือง แต่มีพื้นที่จำกัด ใน พศ. 2177 (ค.ศ. 1634) สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงตอบแทนการที่วีโอซี (VOC หรือ Dutch East India Company) ให้ความช่วยเหลือทางการทหารด้วยการส่งเรือไปช่วยกองทัพสยามในกรณีพิพาทกับปัตตานี โดยพระราชทานที่ดินผืนใหญ่สำหรับก่อตั้งสถานีการค้า ซึงติดแม่น้ำเจ้าพระยาและอยู่นอกเกาะเมือง สะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือเป็นอย่างมาก
บ้านฮอลันดาในปัจจุบันได้ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ บอกเล่าความเป็นมาเมื่อครั้งอดีตของการเข้ามาตั้งถิ่นฐานการทำการค้า และวิถีความเป็นอยู่ของชาวฮอลันดาในประเทศไทย รวมถึงความสัมพันธ์กับชาวไทย บ้านฮอลันดาตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (หรือเรียกว่า เฟโอเซ) และชุมชนที่ประกอบด้วยชาวฮอลันดาและผู้คนเชื่อชาติอื่น
ในวาระเฉลิมฉลอง 400 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เนเธอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์และเจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเยือนที่ตั้งของบ้านฮอลันดาซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นและขุดแต่งส่วนที่เหลืออยู่ของสถานีการค้าวีโอซี สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อการก่อตั้งศูนย์ข้อมูลและจัดแสดงนิทรรศการ เป็นอนุสรณ์แสดงสัมพันธภาพอันยั่งยืนระหว่างสองประเทศ
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้- ธีรวัต ณ ป้อมเพชร. (2559). พระนครศรีอยุธยาในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้า. ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บก.), อโยธยาศรีรามเทพนครบวรทวารวดี: มรดกความทรงจำแห่งสยามประเทศ. น. 151-194. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยอิสระประวัติศาสตร์ไทย.
- ภาวรรณ เรืองศิลป์. (2553). ชาวต่างชาติกับกฎหมายและระเบียบสังคมไทยในสมัยอยุธยา: กรณีศึกษาหมู่บ้านฮอลันดา. บทความวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ออนไลน์.
- Bhawan Ruangsilp. (2007). Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya: Dutch Perceptions of the Thai kingdom, ca. 1604-1765. Leiden and Boston: Brill.
- Hatairat Montien. (2017). Baan Hollanda: A Critical Analysis. Ph.D. thesis (Architechtural Heritage Management and Tourism). Bangkok: Silpakorn University.