สุลักษณ์ ศิวรักษ์

(เปลี่ยนทางจาก ส. ศิวรักษ์)

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2476) เจ้าของนามปากกา ส. ศิวรักษ์ เป็นนักเขียน นักปรัชญา นักคิด และนักวิชาการชาวไทย, ได้รับรางวัล รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "รางวัลโนเบลทางเลือก" ในปี พ.ศ. 2538[2][3] และยังได้รับรางวัลศรีบูรพาจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันอีกด้วย เขามีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น พุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า ช่วงแห่งชีวิต[4]

สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ส. ศิวรักษ์ ในการบรรยายที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก พ.ศ. 2552
เกิด27 มีนาคม พ.ศ. 2476 (91 ปี)[1]
ไทย จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
ชื่ออื่นส. ศิวรักษ์
ศิษย์เก่า
อาชีพนักวิชาการ, นักเขียน, นักปรัชญา
ความเกี่ยวข้อง
ทางการเมืองอื่น ๆ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
คู่สมรสนิลฉวี ศิวรักษ์
บุตร3 คน
บิดามารดา
  • เฉลิม ศิวรักษ์ (บิดา)
  • สุพรรณ ศิวรักษ์ (มารดา)

สุลักษณ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่งและอาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาโดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายครั้ง[5] แต่ก็พ้นผิดจากคุกได้ทุกครั้ง ครั้งหนึ่งเขาเคยยื่นถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระราชทานอภัยโทษ เขายังกล่าวแสดงความชื่นชมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกล่าวว่าหากไม่ได้รับพระบารมีปกเกล้าเขาคงต้องจำคุกอย่างแน่นอน[6]

ประวัติ แก้

 
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในฐานะบรรณาธิการของ อุโฆษสาร ของโรงเรียนอัสสัมชัญ

สุลักษณ์เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม่ เป็นบุตรคนที่ 2 ของเฉลิม และสุพรรณ (มีพี่สาว 1 คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์) สมรสกับนิลฉวี มีบุตร 1 คน ธิดา 2 คน

ครอบครัวของสุลักษณ์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน วงศ์สกุลทั้งหมดเป็นชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งเดินทางเข้ามาตั้งรกรากและแต่งงานกับชาวไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ 5 แม้พื้นฐานครอบครัวจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนก็ตาม แต่ก็ได้ผสมผสานจนกลายเป็นครอบครัวคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นหลัก[7] ส่วนพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นตระกูลที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่รับราชการในส่วนกลาง แต่ในช่วงที่สุลักษณ์เกิดนั้น เป็นช่วงที่ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำเกือบถึงขีดสุด จึงแยกครอบครัวมาอยู่ที่ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ[8] อันเป็นบ้านที่สุลักษณ์อาศัยอยู่ในปัจจุบัน หลังจากที่บิดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2489 สุลักษณ์ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในช่วงมัธยมต้น ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง และต่อมาจึงได้รับการอุปการะจากมารดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา

พ.ศ. 2495 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก โดยเข้าเรียนครั้งแรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2486 แล้วต้องพักการเรียน เพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง เกือบ 3 ปี ในระหว่างนี้ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร อันเป็นช่วงที่ได้รับประสบการณ์จากระบบการศึกษาในวัด แล้วกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 จนสำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์และวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์ เมืองแลมปีเตอร์ (University of Wales, Lampeter) ในแคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2503 สำเร็จการศึกษาและสอบเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักกฎหมายมิดเดิลเทมเปิล (The Middle Temple Bar Law Association) สหราชอาณาจักร

การเมือง แก้

สุลักษณ์ถือเป็นหนึ่งในนักเขียน นักวิชาการที่อยู่คู่กับสังคมการเมืองไทยมาตลอดประวัติศาสตร์หลังพ.ศ. 2500 เขานิยามตัวเองเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่ในขณะเดียวกันผู้คนที่สุลักษณ์ยกย่องในคุณงามความดีนั้นส่วนมากเป็นฝ่ายซ้าย[9] โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปรีดี พนมยงค์ อดีตสมาชิกคณะราษฎรและพรรคสหชีพ ซึ่งเคยมีปัญหากับสุลักษณ์อย่างรุนแรง ก่อนที่เขาจะได้อ่านจดหมายเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของพูนศุข พนมยงค์ ในปี พ.ศ. 2523[10] หลังจากนั้นสุลักษณ์ก็แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าตนนิยมชมชอบปรีดีตลอดมา นอกจากนั้นเขายังแสดงความนับถือในความสามารถของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกด้วย[11]

สุลักษณ์เป็นที่ปรึกษาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[12]ในปี พ.ศ. 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 1 กันยายน 2557 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ให้สัมภาษณ์รายการ "คืนความจริง" ว่า มาตราดังกล่าวเป็นเครื่องมือของทุกรัฐบาลเพื่อกดขี่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า การจับคนเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกครั้งเป็นการรังแกพระองค์ และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกรัฐบาลที่อ้างว่าจงรักภักดี ลึก ๆ แล้วไม่จงรัก และยกตัวอย่างจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีซึ่งจับคนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุด แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ของเยอรมนีก็สิ้นไปก่อนพระองค์สวรรคตเสียอีก สุลักษณ์ว่าเขาเสียใจที่ไม่มีปัญญาชนเห็นโทษของกฎหมายนี้ ไม่เห็นหัวใจของเสรีภาพ ไม่เห็นหัวใจของประชาธิปไตย ไม่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นลำดับ เป็นปศุสัตว์เชื่อง ๆ ให้ใครเขาสั่งได้ ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงครามกล่าวหาเขาว่าทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีมติฟ้องร้องเขาต่อ ศาลทหารกรุงเทพ ในความผิดฐานหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์[13]ต่อมาอัยการทหารไม่สั่งฟ้อง

สุลักษณ์ยังคงออกมาวิจารณ์การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตามทัศนะของตน ในช่องทางยูทูบ "เสมเสวนา" และ "ธนดิศ" โดยมีชุดคอนเทนต์คือ "การเมืองไทยยุคคณะราษฎร" และ "จักรีปริทัศน์" [14] และมักมีคอนเทนต์ตอบโต้กับสนธิ ลิ้มทองกุล หลายครั้ง

สุลักษณ์ได้เผยแพร่วิดีโอคลิป "คู่มือรับชม อนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ" เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ผ่านทางช่องธนดิศที่เผยแพร่ทางยูทูบตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567[15] โดยให้ความเห็นค่อนข้างรุนแรง กล่าวถึงภาพยนตร์ว่า "...ว่าปรีดีเป็นคนเลวร้าย ตั้งใจเล่นงานคณะราษฎร และยกย่องพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างไม่มีที่ติ โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ เป็นหนังมอมเมาคน"[16] อย่างไรก็ดี อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้ความเห็นต่อการวิจารณ์ของสุลักษณ์ว่า "วิจารณ์อะไรแบบไม่อยู่บนความจริงและหลักวิชาการ"[17]

รางวัล แก้

  • รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2537 จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บรรยายรับเชิญ(Visiting Professor) ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์, มหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา[18][19][20]
  • เกียวโด เจบีเอ็น - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ มูลนิธิสันติภาพนิวาโน (Niwano Peace Foundation) มอบรางวัลสันติภาพนิวาโนครั้งที่ 28 ให้กับนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ จากประเทศไทย
  • รับประกาศเกียรติคุณรับรางวัล Alternative Nobel Price หรือ  Right  Livelihood Award  (สัมมาอาชีวะ  ด้านการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย) ประจำปี 2538 ณ กรุงสตอคโฮล์ม รัฐสภาสวีเดน
  • รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "รางวัลโนเบลทางเลือก" ในปี พ.ศ. 2538

ผลงาน แก้

สุลักษณ์นับเป็นนักเขียนที่มีผลงานหนังสือมากที่สุดในประเทศ[21] รวมกว่า 200 เล่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมคำกล่าว หรือบทสัมภาษณ์ของเขาในที่สาธารณะ

  • ฯลฯ
  • ด้านใน ส.ศิวรักษ์ (2557)
  • ด้านหน้า ส.ศิวรักษ์ (2557)
  • สีซอให้คสช.ฟัง (2557)
  • ครูและแพทย์ ที่พึงปรารถนาในสังคมสยาม (2556)
  • กิน กาม เกียรติ ในวัย 80 (2556)
  • โฉมหน้า ส.ศิวรักษ์ (2556)
  • คนเก่าเล่าเรื่อง (2556)
  • ถ้อยคำจากรากผัก งานแปล (2556)
  • พิจารณากรมดำรงเมื่อพระชนม์ครบ 150 (2555)
  • สิ้นฤทธิ์ คึกฤทธิ์ (หรือ คึกฤทธิยาลัย) (2555)
  • สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล (2555)
  • รากงอกก่อนตาย (2555)
  • สอดสร้อยมาลา ศิวาลังการ (2554)
  • ลอกคราบเสด็จพ่อร.5 (2554)
  • มองไปข้างหลัง แลไปข้างหน้า เมื่อชราภาพครอบงำ (2554)
  • ปัจจุบันเป็นเวลาอันประเสริฐสุด งานแปล (2554)
  • เสียงจากปัญญาชนสยาม วัย 77 (2553)
  • สาบเสือเมื่อพ้นภัยพาล (2553)
  • พุทธศาสนากับปัญหาทางเพศและสีกากับผ้าเหลือง (2553)
  • เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ฉบับขยายความและเพิ่มเติม (2552)
  • เพียรพูดความจริงในวัยสนธยาแห่งชีวิต (2552)
  • คันฉ่องส่องพุทธธรรม (2551)
  • ศิวสีหนาท (2551)
  • ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม (2550)
  • พระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม (2550)
  • ฉลอง 200 ปี พระเจ้ากรุงสยาม (2548)
  • อ่าน-คนไทย (2548)
  • สรรพสาระสำหรับผู้แสวงหา (2548)
  • สอนสังฆราช (2547)
  • คันฉ่องส่องตัวตน (2546)
  • สาระพระพุทธศาสนาของธิเบต งานแปล (2546)
  • ทวนกระแสเพื่อความสว่างทางสังคม (2545)
  • นายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2543)
  • คิดถึงคุณป๋วย (2543)
  • อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย (2543)
  • ความเข้าในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ (2542)
  • ลอกคราบชนชั้นปกครองไทย (2541)
  • ปัญญาชนขบถน้ำผึ้งหยดเดียว (2541)
  • สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย (2539)
  • มีเพียงภาษาเป็นอาวุธ (2538)
  • ผจญมาร รสช. (2538)
  • แหวกแนวคิด (2538)
  • คนดีที่น่ารู้จัก (2537)
  • พิธีกรรมสำหรับพุทธศาสนิกร่วมสมัย งานแปล

(2536)

  • ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธเจ้า และมหาสาวิกาสมัยพุทธกาล (2534)
  • อโปโลเกีย (โสกราตีสแก้คดี) (2534)
  • ยูไทโฟร (วิธีการของโสกราตีส) (2534)
  • ศิลปะแห่งการแปล (2534)
  • ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง (2534)
  • ที่สุดแห่งสังคมสยาม (2533)
  • ความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาทาน

(2533)

  • มนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ (2533)
  • สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน (2532)
  • ควายไม่ฟังเสียงซอ (2532)
  • ปาฐกถาเรื่อง แนวคิดทางปรัชญาไทย (2532)
  • แนวคิดทางปรัชญาการเมือง
  • อริสโตเติล (2532)
  • อมิตาภพุทธ งานแปล (2532)
  • คำประกาศความเป็นไท หรือลายไทกับปัญญาชนสยาม (2531)
  • ซากผ่าขวาน (2531)
  • คันฉ่องส่องวรรณกรรม (2531)
  • ดังทางด่า (2531)
  • ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน (2531)
  • ลอกคราบวัฒนธรรมไทย (มาเข้าใจวัฒนธรรมกันดีกว่า) (2531)
  • เสฐียรโกเศศตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2531)
  • ภูฐาน สวรรค์บนดิน (2531)
  • คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย (2531)
  • ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่ (2530)
  • ทหารกับการเมืองไทย (2530)
  • ศาสนากับการพัฒนา (2530)
  • บันทึกของคนเดินทาง (2530)
  • สยามวิกฤต (2530)
  • ความคิดที่ขัดขวางและส่งเสริมประชาธิปไตยของไทย (2529)
  • กระบวนการคนหนุ่มสาวในรอบ 2 ทศวรรษ

ในสายตา ส.ศิวรักษ์ (2529)

  • ต่างฟ้า ต่างฝัน (2529)
  • ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง (2528)
  • ลอกคราบสังคมไทยเพื่ออนาคต (2528)
  • ลอกคราบสังคมเพื่อครู (2528)
  • เรื่อง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์ (2528)
  • ก้าวแรกของปรัชญาฝรั่ง รวมเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก (2526)
  • ศิลปะแห่งการแปล (2526)
  • สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล (2529)
  • ศิลปะแห่งการพูด (2526)
  • เจ้า-ข้า ฟ้าเดียวกัน (2525)
  • ศาสนากับสังคมไทย (2525)
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตามทัศนะของ ส. ศิวรักษ์ ในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2523 (2525)
  • รวมคำอภิปราย บทความและบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ที่เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (2525)
  • อยู่อย่างไทย ในสมัยศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมปาฐกถา ส. ศิวรักษ์ ที่แสดงใน ร.ศ.199 (2525)
  • พูดไม่เข้าหูคน (2524)
  • คันฉ่องส่องครู (2524)
  • ผู้ใหญ่ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ทั้งที่กะล่อนและไม่กะล่อน) (2524)
  • โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญา (2523)
  • บุคคลร่วมสมัยในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2523)
  • ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2523)
  • ศาสนากับสังคมไทย (2523)
  • อนาคตของไทยในสายตา ส. ศิวรักษ์ (2522)
  • อนาคตและอุดมคติสำหรับไทย (2522)
  • คันฉ่องส่องพระ (2522)
  • คันฉ่องส่องศาสนา (2522)
  • พระผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน พระธรรมเจดีย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (2522)
  • ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522
  • สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย (2540)
  • คุยกับกรมหมื่นพิทยลาภฯ (2520)
  • กรรมและนิพพาน งานแปล (2519)
  • ศาสนากับการพัฒนา (2519)
  • นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง (2519)
  • คุณความดีสอนกันได้หรือไม่ - แปลจากเมโน (2518)
  • จดหมายเหตุจากถนอมถึงคึกฤทธิ์ (ผ่านสัญญา และเสนีย์) (2518)
  • ตายประชดป่าช้า (2516)
  • กินน้ำเห็นปลิง (2516)
  • อดีตของอนาคต (2516)
  • ปรัชญาการศึกษา (2516)
  • ปีแห่งการอ่านหนังสือของ ส. ศิวรักษ์ (2515)
  • สมุดข้างหมอน (2514)
  • ตามใจผู้เขียน (2514)
  • จากยุววิทยา ถึงวิทยาสารปริทัศน์ (2514)
  • ตามใจผู้เขียน (2514)
  • วาระสุดท้ายของโสกราตีส (2514)
  • โสกราตีสในคุก (2514)
  • วิธีการของโสกราตีส (2514)
  • คุยคนเดียว ของส. ศิวรักษ์ (2513)
  • ปัญญาชนสยาม (2512)
  • นอนต่างแดน (2512)
  • สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ (2512)
  • ชวนอ่านและวิจารณ์หนังสือต่างๆ ของส. ศิวรักษ์ (2512)
  • สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศและพระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้สึก (2512)
  • ปัญญาชนสยาม (2512)
  • ไทยเขียนฝรั่ง (2511)
  • แนะหนังสือสำหรับผู้หญิง ของ ส.ศิวรักษ์ (2513)
  • สรรพสาระ ของ ส. ศิวรักษ์ (2511)
  • ลายสือสยาม (2510)
  • ความคิด-ความอ่าน และ นานาสังวาส ส.ศิวรักษ์ (2510)
  • พระดีที่น่ารู้จัก (2510)
  • ฝรั่งอ่านไทย และแบบอย่างการแปลหนังสือ กับเรื่องแปลต่าง ๆ (2510)
  • ของดีจากธิเบต รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต (2510)
  • หนังสือสนุก (2508)
  • จดหมายรักจากอเมริกา (2508)
  • คันฉ่องส่อง ส.ศิวรักษ์ (2508)
  • โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญาโดยบริบูรณ์ (2507)
  • เจ้าคุณอาจารย์ หรือ (พระภัทรมุนีที่ข้าพเจ้ารู้จัก) (2507)
  • ทฤษฎีแห่งความรัก (2507)
  • ช่วงแห่งชีวิตของ ส.ศิวรักษ์ แต่ก่อนเกิดจนจบการศึกษาจากเมืองอังกฤษ (2507)
  • ศิวพจนาตถ์ (2506)
  • เสด็จอังกฤษ (2505)
  • มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า (2504)
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2501)

อ้างอิง แก้

  1. วันเกิด อ.ศิวรักษ์
  2. ฅ คน กับบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ,blogazine.pub/ .วันที่ 9 เมษายน 2008
  3. ข้อเขียนพิเศษจากอ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เก็บถาวร 2016-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ,siamchronicle.com .วันที่ 23 มกราคม 2006
  4. ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์[ลิงก์เสีย] ,ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์ .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559
  5. สถาบันกษัตริย์ควรจะมีไว้เพื่อประโยชน์ของราษฎร” ส.ศิวรักษ์ กับ​สถาบันกษัตริย์ไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
  6. ส.ศิวรักษ์ เชื่ออัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นพระนเรศวรฯ เพราะ "พระบารมีปกเกล้าฯ"
  7. ส.ศิวรักษ์-เสวนาพุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง:ความกล้ากับการท้าทายโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรม ประชาไท สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2554
  8. ประวัติ ส.ศิวรักษ์ เก็บถาวร 2007-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เวบคลังปัญญาชนสยาม
  9. จุดยืนการเมืองของ ส.ศิวรักษ์
  10. สารคดี ปรีดี พนมยงค์
  11. ถาม-ตอบ ส.ศิวรักษ์ (ครั้งที่ 7)
  12. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[ลิงก์เสีย]
  13. ส.ศิวรักษ์ ยึดหลักอุเบกขา หลังถูกตั้งข้อหา ม. 112
  14. "เสมเสวนา SEM Talk - YouTube". www.youtube.com.
  15. ""อ.ไชยันต์" โต้ "ส.ศิวรักษ์" ร่าง รธน.ร.7 ไม่ได้มีแค่นายกฯ แต่มีสภานิติบัญญัติ-การเลือกตั้งด้วย". ผู้จัดการออนไลน์.
  16. "ผู้สร้าง '2475 Dawn of Revolution' เคลียร์ทุกปมข้องใจของหนัง หลัง 'ส.ศิวรักษ์' วิจารณ์แบบขาดกาลามสูตร (โต้ตอบช็อตต่อช็อต)". THE STATES TIMES.
  17. "'ผศ.ดร.อานนท์'ซัด'ส.ศิวรักษ์' ปัญญาอ่อนวิพากษ์แอนิเมชั่น 2475ฯ". ไทยโพสต์.
  18. รางวัลบูรพา
  19. "ผู้บรรยายรับเชิญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-06-23.
  20. "นักเขียนแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-23.
  21. ส. ศิวรักษ์ 84 The101.World

แหล่งข้อมูลอื่น แก้