สุลักษณ์ ศิวรักษ์
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2476) เจ้าของนามปากกา ส. ศิวรักษ์ เป็นนักเขียน นักปรัชญา นักคิด และนักวิชาการชาวไทย, ได้รับรางวัล รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "รางวัลโนเบลทางเลือก" ในปี พ.ศ. 2538[2][3] และยังได้รับรางวัลศรีบูรพาจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันอีกด้วย เขามีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น พุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า ช่วงแห่งชีวิต[4]
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ | |
---|---|
ส. ศิวรักษ์ ในการบรรยายที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก พ.ศ. 2552 | |
เกิด | 27 มีนาคม พ.ศ. 2476[1] จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ชื่ออื่น | ส. ศิวรักษ์ |
ศิษย์เก่า |
|
อาชีพ | นักวิชาการ, นักเขียน, นักปรัชญา |
ความเกี่ยวข้อง ทางการเมืองอื่น ๆ | พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย |
คู่สมรส | นิลฉวี ศิวรักษ์ |
บุตร | 3 คน |
บิดามารดา |
|
สุลักษณ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่งและอาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ออกมาพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเหตุให้เขาโดนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายครั้ง[5] แต่ก็พ้นผิดจากคุกได้ทุกครั้ง ครั้งหนึ่งเขาเคยยื่นถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระราชทานอภัยโทษ เขายังกล่าวแสดงความชื่นชมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและกล่าวว่าหากไม่ได้รับพระบารมีปกเกล้าเขาคงต้องจำคุกอย่างแน่นอน[6]
ประวัติ
แก้สุลักษณ์เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดพระนคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม่ เป็นบุตรคนที่ 2 ของเฉลิม และสุพรรณ (มีพี่สาว 1 คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์) สมรสกับนิลฉวี มีบุตร 1 คน ธิดา 2 คน
ครอบครัวของสุลักษณ์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน วงศ์สกุลทั้งหมดเป็นชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งเดินทางเข้ามาตั้งรกรากและแต่งงานกับชาวไทยตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ 5 แม้พื้นฐานครอบครัวจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนก็ตาม แต่ก็ได้ผสมผสานจนกลายเป็นครอบครัวคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นหลัก[7] ส่วนพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นตระกูลที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่รับราชการในส่วนกลาง แต่ในช่วงที่สุลักษณ์เกิดนั้น เป็นช่วงที่ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำเกือบถึงขีดสุด จึงแยกครอบครัวมาอยู่ที่ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ[8] อันเป็นบ้านที่สุลักษณ์อาศัยอยู่ในปัจจุบัน หลังจากที่บิดาถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2489 สุลักษณ์ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในช่วงมัธยมต้น ก็ต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง และต่อมาจึงได้รับการอุปการะจากมารดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
พ.ศ. 2495 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก โดยเข้าเรียนครั้งแรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2486 แล้วต้องพักการเรียน เพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง เกือบ 3 ปี ในระหว่างนี้ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร อันเป็นช่วงที่ได้รับประสบการณ์จากระบบการศึกษาในวัด แล้วกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 จนสำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์และวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์ เมืองแลมปีเตอร์ (University of Wales, Lampeter) ในแคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2503 สำเร็จการศึกษาและสอบเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักกฎหมายมิดเดิลเทมเปิล (The Middle Temple Bar Law Association) สหราชอาณาจักร
การเมือง
แก้สุลักษณ์ถือเป็นหนึ่งในนักเขียน นักวิชาการที่อยู่คู่กับสังคมการเมืองไทยมาตลอดประวัติศาสตร์หลังพ.ศ. 2500 เขานิยามตัวเองเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่ในขณะเดียวกันผู้คนที่สุลักษณ์ยกย่องในคุณงามความดีนั้นส่วนมากเป็นฝ่ายซ้าย[9] โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปรีดี พนมยงค์ อดีตสมาชิกคณะราษฎรและพรรคสหชีพ ซึ่งเคยมีปัญหากับสุลักษณ์อย่างรุนแรง ก่อนที่เขาจะได้อ่านจดหมายเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของพูนศุข พนมยงค์ ในปี พ.ศ. 2523[10] หลังจากนั้นสุลักษณ์ก็แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าตนนิยมชมชอบปรีดีตลอดมา นอกจากนั้นเขายังแสดงความนับถือในความสามารถของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกด้วย[11]
สุลักษณ์เป็นที่ปรึกษาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[12]ในปี พ.ศ. 2549 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 1 กันยายน 2557 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ให้สัมภาษณ์รายการ "คืนความจริง" ว่า มาตราดังกล่าวเป็นเครื่องมือของทุกรัฐบาลเพื่อกดขี่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า การจับคนเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกครั้งเป็นการรังแกพระองค์ และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ทุกรัฐบาลที่อ้างว่าจงรักภักดี ลึก ๆ แล้วไม่จงรัก และยกตัวอย่างจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีซึ่งจับคนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากที่สุด แล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ของเยอรมนีก็สิ้นไปก่อนพระองค์สวรรคตเสียอีก สุลักษณ์ว่าเขาเสียใจที่ไม่มีปัญญาชนเห็นโทษของกฎหมายนี้ ไม่เห็นหัวใจของเสรีภาพ ไม่เห็นหัวใจของประชาธิปไตย ไม่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นลำดับ เป็นปศุสัตว์เชื่อง ๆ ให้ใครเขาสั่งได้ ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงครามกล่าวหาเขาว่าทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีมติฟ้องร้องเขาต่อ ศาลทหารกรุงเทพ ในความผิดฐานหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์[13]ต่อมาอัยการทหารไม่สั่งฟ้อง
สุลักษณ์ยังคงออกมาวิจารณ์การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตามทัศนะของตน ในช่องทางยูทูบ "เสมเสวนา" และ "ธนดิศ" โดยมีชุดคอนเทนต์คือ "การเมืองไทยยุคคณะราษฎร" และ "จักรีปริทัศน์" [14] และมักมีคอนเทนต์ตอบโต้กับสนธิ ลิ้มทองกุล หลายครั้ง
สุลักษณ์ได้เผยแพร่วิดีโอคลิป "คู่มือรับชม อนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ" เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ผ่านทางช่องธนดิศที่เผยแพร่ทางยูทูบตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567[15] โดยให้ความเห็นค่อนข้างรุนแรง กล่าวถึงภาพยนตร์ว่า "...ว่าปรีดีเป็นคนเลวร้าย ตั้งใจเล่นงานคณะราษฎร และยกย่องพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างไม่มีที่ติ โดยไม่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ เป็นหนังมอมเมาคน"[16] อย่างไรก็ดี อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้ความเห็นต่อการวิจารณ์ของสุลักษณ์ว่า "วิจารณ์อะไรแบบไม่อยู่บนความจริงและหลักวิชาการ"[17]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รางวัล
แก้- รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2537 จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
- ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บรรยายรับเชิญ(Visiting Professor) ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์, มหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา[18][19][20]
- เกียวโด เจบีเอ็น - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ มูลนิธิสันติภาพนิวาโน (Niwano Peace Foundation) มอบรางวัลสันติภาพนิวาโนครั้งที่ 28 ให้กับนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ จากประเทศไทย
- รับประกาศเกียรติคุณรับรางวัล Alternative Nobel Price หรือ Right Livelihood Award (สัมมาอาชีวะ ด้านการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย) ประจำปี 2538 ณ กรุงสตอคโฮล์ม รัฐสภาสวีเดน
- รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล (Alternative Nobel, Right Livelihood Award) หรือ "รางวัลโนเบลทางเลือก" ในปี พ.ศ. 2538
ผลงาน
แก้สุลักษณ์นับเป็นนักเขียนที่มีผลงานหนังสือมากที่สุดในประเทศ[21] รวมกว่า 200 เล่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรวมคำกล่าว หรือบทสัมภาษณ์ของเขาในที่สาธารณะ
- ฯลฯ
- ด้านใน ส.ศิวรักษ์ (2557)
- ด้านหน้า ส.ศิวรักษ์ (2557)
- สีซอให้คสช.ฟัง (2557)
- ครูและแพทย์ ที่พึงปรารถนาในสังคมสยาม (2556)
- กิน กาม เกียรติ ในวัย 80 (2556)
- โฉมหน้า ส.ศิวรักษ์ (2556)
- คนเก่าเล่าเรื่อง (2556)
- ถ้อยคำจากรากผัก งานแปล (2556)
- พิจารณากรมดำรงเมื่อพระชนม์ครบ 150 (2555)
- สิ้นฤทธิ์ คึกฤทธิ์ (หรือ คึกฤทธิยาลัย) (2555)
- สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล (2555)
- รากงอกก่อนตาย (2555)
- สอดสร้อยมาลา ศิวาลังการ (2554)
- ลอกคราบเสด็จพ่อร.5 (2554)
- มองไปข้างหลัง แลไปข้างหน้า เมื่อชราภาพครอบงำ (2554)
- ปัจจุบันเป็นเวลาอันประเสริฐสุด งานแปล (2554)
- เสียงจากปัญญาชนสยาม วัย 77 (2553)
- สาบเสือเมื่อพ้นภัยพาล (2553)
- พุทธศาสนากับปัญหาทางเพศและสีกากับผ้าเหลือง (2553)
- เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ฉบับขยายความและเพิ่มเติม (2552)
- เพียรพูดความจริงในวัยสนธยาแห่งชีวิต (2552)
- คันฉ่องส่องพุทธธรรม (2551)
- ศิวสีหนาท (2551)
- ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม (2550)
- พระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม (2550)
- ฉลอง 200 ปี พระเจ้ากรุงสยาม (2548)
- อ่าน-คนไทย (2548)
- สรรพสาระสำหรับผู้แสวงหา (2548)
- สอนสังฆราช (2547)
- คันฉ่องส่องตัวตน (2546)
- สาระพระพุทธศาสนาของธิเบต งานแปล (2546)
- ทวนกระแสเพื่อความสว่างทางสังคม (2545)
- นายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2543)
- คิดถึงคุณป๋วย (2543)
- อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย (2543)
- ความเข้าในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ (2542)
- ลอกคราบชนชั้นปกครองไทย (2541)
- ปัญญาชนขบถน้ำผึ้งหยดเดียว (2541)
- สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย (2539)
- มีเพียงภาษาเป็นอาวุธ (2538)
- ผจญมาร รสช. (2538)
- แหวกแนวคิด (2538)
- คนดีที่น่ารู้จัก (2537)
- พิธีกรรมสำหรับพุทธศาสนิกร่วมสมัย งานแปล
(2536)
- ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธเจ้า และมหาสาวิกาสมัยพุทธกาล (2534)
- อโปโลเกีย (โสกราตีสแก้คดี) (2534)
- ยูไทโฟร (วิธีการของโสกราตีส) (2534)
- ศิลปะแห่งการแปล (2534)
- ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง (2534)
- ที่สุดแห่งสังคมสยาม (2533)
- ความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาทาน
(2533)
- มนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ (2533)
- สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน (2532)
- ควายไม่ฟังเสียงซอ (2532)
- ปาฐกถาเรื่อง แนวคิดทางปรัชญาไทย (2532)
- แนวคิดทางปรัชญาการเมือง
- อริสโตเติล (2532)
- อมิตาภพุทธ งานแปล (2532)
- คำประกาศความเป็นไท หรือลายไทกับปัญญาชนสยาม (2531)
- ซากผ่าขวาน (2531)
- คันฉ่องส่องวรรณกรรม (2531)
- ดังทางด่า (2531)
- ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน (2531)
- ลอกคราบวัฒนธรรมไทย (มาเข้าใจวัฒนธรรมกันดีกว่า) (2531)
- เสฐียรโกเศศตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2531)
- ภูฐาน สวรรค์บนดิน (2531)
- คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย (2531)
- ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่ (2530)
- ทหารกับการเมืองไทย (2530)
- ศาสนากับการพัฒนา (2530)
- บันทึกของคนเดินทาง (2530)
- สยามวิกฤต (2530)
- ความคิดที่ขัดขวางและส่งเสริมประชาธิปไตยของไทย (2529)
- กระบวนการคนหนุ่มสาวในรอบ 2 ทศวรรษ
ในสายตา ส.ศิวรักษ์ (2529)
- ต่างฟ้า ต่างฝัน (2529)
- ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง (2528)
- ลอกคราบสังคมไทยเพื่ออนาคต (2528)
- ลอกคราบสังคมเพื่อครู (2528)
- เรื่อง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์ (2528)
- ก้าวแรกของปรัชญาฝรั่ง รวมเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก (2526)
- ศิลปะแห่งการแปล (2526)
- สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล (2529)
- ศิลปะแห่งการพูด (2526)
- เจ้า-ข้า ฟ้าเดียวกัน (2525)
- ศาสนากับสังคมไทย (2525)
- สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตามทัศนะของ ส. ศิวรักษ์ ในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2523 (2525)
- รวมคำอภิปราย บทความและบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ที่เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (2525)
- อยู่อย่างไทย ในสมัยศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมปาฐกถา ส. ศิวรักษ์ ที่แสดงใน ร.ศ.199 (2525)
- พูดไม่เข้าหูคน (2524)
- คันฉ่องส่องครู (2524)
- ผู้ใหญ่ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ทั้งที่กะล่อนและไม่กะล่อน) (2524)
- โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญา (2523)
- บุคคลร่วมสมัยในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2523)
- ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ (2523)
- ศาสนากับสังคมไทย (2523)
- อนาคตของไทยในสายตา ส. ศิวรักษ์ (2522)
- อนาคตและอุดมคติสำหรับไทย (2522)
- คันฉ่องส่องพระ (2522)
- คันฉ่องส่องศาสนา (2522)
- พระผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน พระธรรมเจดีย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (2522)
- ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522
- สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย (2540)
- คุยกับกรมหมื่นพิทยลาภฯ (2520)
- กรรมและนิพพาน งานแปล (2519)
- ศาสนากับการพัฒนา (2519)
- นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง (2519)
- คุณความดีสอนกันได้หรือไม่ - แปลจากเมโน (2518)
- จดหมายเหตุจากถนอมถึงคึกฤทธิ์ (ผ่านสัญญา และเสนีย์) (2518)
- ตายประชดป่าช้า (2516)
- กินน้ำเห็นปลิง (2516)
- อดีตของอนาคต (2516)
- ปรัชญาการศึกษา (2516)
- ปีแห่งการอ่านหนังสือของ ส. ศิวรักษ์ (2515)
- สมุดข้างหมอน (2514)
- ตามใจผู้เขียน (2514)
- จากยุววิทยา ถึงวิทยาสารปริทัศน์ (2514)
- ตามใจผู้เขียน (2514)
- วาระสุดท้ายของโสกราตีส (2514)
- โสกราตีสในคุก (2514)
- วิธีการของโสกราตีส (2514)
- คุยคนเดียว ของส. ศิวรักษ์ (2513)
- ปัญญาชนสยาม (2512)
- นอนต่างแดน (2512)
- สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ (2512)
- ชวนอ่านและวิจารณ์หนังสือต่างๆ ของส. ศิวรักษ์ (2512)
- สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศและพระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้สึก (2512)
- ปัญญาชนสยาม (2512)
- ไทยเขียนฝรั่ง (2511)
- แนะหนังสือสำหรับผู้หญิง ของ ส.ศิวรักษ์ (2513)
- สรรพสาระ ของ ส. ศิวรักษ์ (2511)
- ลายสือสยาม (2510)
- ความคิด-ความอ่าน และ นานาสังวาส ส.ศิวรักษ์ (2510)
- พระดีที่น่ารู้จัก (2510)
- ฝรั่งอ่านไทย และแบบอย่างการแปลหนังสือ กับเรื่องแปลต่าง ๆ (2510)
- ของดีจากธิเบต รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต (2510)
- หนังสือสนุก (2508)
- จดหมายรักจากอเมริกา (2508)
- คันฉ่องส่อง ส.ศิวรักษ์ (2508)
- โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญาโดยบริบูรณ์ (2507)
- เจ้าคุณอาจารย์ หรือ (พระภัทรมุนีที่ข้าพเจ้ารู้จัก) (2507)
- ทฤษฎีแห่งความรัก (2507)
- ช่วงแห่งชีวิตของ ส.ศิวรักษ์ แต่ก่อนเกิดจนจบการศึกษาจากเมืองอังกฤษ (2507)
- ศิวพจนาตถ์ (2506)
- เสด็จอังกฤษ (2505)
- มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า (2504)
- สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2501)
อ้างอิง
แก้- ↑ วันเกิด อ.ศิวรักษ์
- ↑ ฅ คน กับบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ,blogazine.pub/ .วันที่ 9 เมษายน 2008
- ↑ ข้อเขียนพิเศษจากอ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เก็บถาวร 2016-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ,siamchronicle.com .วันที่ 23 มกราคม 2006
- ↑ ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์[ลิงก์เสีย] ,ช่วงแห่งชีวิต ส.ศิวรักษ์ .สืบค้นเมื่อ 15/04/2559
- ↑ สถาบันกษัตริย์ควรจะมีไว้เพื่อประโยชน์ของราษฎร” ส.ศิวรักษ์ กับสถาบันกษัตริย์ไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
- ↑ ส.ศิวรักษ์ เชื่ออัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นพระนเรศวรฯ เพราะ "พระบารมีปกเกล้าฯ"
- ↑ ส.ศิวรักษ์-เสวนาพุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง:ความกล้ากับการท้าทายโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรม ประชาไท สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2554
- ↑ ประวัติ ส.ศิวรักษ์ เก็บถาวร 2007-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เวบคลังปัญญาชนสยาม
- ↑ จุดยืนการเมืองของ ส.ศิวรักษ์
- ↑ สารคดี ปรีดี พนมยงค์
- ↑ ถาม-ตอบ ส.ศิวรักษ์ (ครั้งที่ 7)
- ↑ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ส.ศิวรักษ์ ยึดหลักอุเบกขา หลังถูกตั้งข้อหา ม. 112
- ↑ "เสมเสวนา SEM Talk - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ ""อ.ไชยันต์" โต้ "ส.ศิวรักษ์" ร่าง รธน.ร.7 ไม่ได้มีแค่นายกฯ แต่มีสภานิติบัญญัติ-การเลือกตั้งด้วย". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "ผู้สร้าง '2475 Dawn of Revolution' เคลียร์ทุกปมข้องใจของหนัง หลัง 'ส.ศิวรักษ์' วิจารณ์แบบขาดกาลามสูตร (โต้ตอบช็อตต่อช็อต)". THE STATES TIMES.
- ↑ "'ผศ.ดร.อานนท์'ซัด'ส.ศิวรักษ์' ปัญญาอ่อนวิพากษ์แอนิเมชั่น 2475ฯ". ไทยโพสต์.
- ↑ รางวัลบูรพา
- ↑ "ผู้บรรยายรับเชิญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-06-23.
- ↑ "นักเขียนแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-23.
- ↑ ส. ศิวรักษ์ 84 The101.World
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sulak Sivaraksa - 1995 Right Livelihood Award Recipient เก็บถาวร 2005-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เก็บถาวร 2007-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน