สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต
เมห์เหม็ดที่ 2 (ตุรกีออตโตมัน: محمد ثانى, อักษรโรมัน: Meḥmed-i s̱ānī; ตุรกี: II. Mehmed, ออกเสียง: [icinˈdʒi ˈmehmed]; 30 มีนาคม ค.ศ. 1432 - 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481) รู้จักกันในพระนาม เมห์เหม็ดผู้พิชิต (ตุรกีออตโตมัน: ابو الفتح, อักษรโรมัน: Ebū'l-Fetḥ, แปลตรงตัว 'บิดาแห่งการพิชิต'; ตุรกี: Fatih Sultan Mehmed) เป็นสุลต่านออตโตมันที่ครองราชย์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1444 ถึงกันยายน ค.ศ. 1446 และอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1451 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1481 ในรัชสมัยแรก พระองค์สามารถเอาชนะกลุ่มครูเสดที่นำโดยจอห์น ฮุนยาดีหลังการโจมตีฮังการี ซึ่งละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพแห่งแซแก็ด เมื่อเมห์เหม็ดที่ 2 ครองราชย์อีกครั้งใน ค.ศ. 1451 พระองค์เสริมกำลังกองทัพเรือออตโตมันและเตรียมการโจมตีคอนสแตนติโนเปิล เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 21 พระองค์พิชิตคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) และทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์สิ้นสุดลง
สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต | |||||
---|---|---|---|---|---|
คัยเซรีรูม (ซีซาร์แห่งโรมัน) สุลต่านแห่งสองดินแดนและข่านแห่งสองทะเล[1] | |||||
พระบรมสาทิสลักษณ์ของเมห์เหม็ดที่ 2 โดยเจนตีเล เบลลีนี วาดใน ค.ศ. 1480 | |||||
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน (ปะดีชาฮ์) องค์ที่ 7 | |||||
ครองราชย์ครั้งที่ 1 | สิงหาคม ค.ศ. 1444 – กันยายน ค.ศ. 1446 | ||||
ก่อนหน้า | มูรัดที่ 2 | ||||
ถัดไป | มูรัดที่ 2 | ||||
ครองราชย์ครั้งที่ 2 | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1451 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481 | ||||
ก่อนหน้า | มูรัดที่ 2 | ||||
ถัดไป | บาเยซิดที่ 2 | ||||
ประสูติ | 30 มีนาคม ค.ศ. 1432 เอดีร์แน รัฐสุลต่านออตโตมัน | ||||
สวรรคต | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481 ฮืนคาร์ชายือรือ (เทกฟูร์ชายือรือ) ใกล้กับเกบเซ จักรวรรดิออตโตมัน | (49 ปี)||||
ฝังพระศพ | มัสยิดฟาติฮ์ อิสตันบูล | ||||
พระมเหสี |
| ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ออตโตมัน | ||||
พระราชบิดา | มูรัดที่ 2 | ||||
พระราชมารดา | ฮือมา ฮาตุน | ||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี[2][3] | ||||
ทูกรา |
หลังการพิชิต เมห์เหม็ดทรงอ้างสิทธิ์เป็น "ซีซาร์"แห่งจักรวรรดิโรมัน (قیصر روم Qayser-i Rûm) โดยอิงความจริงที่ว่าคอนสแตนติโนเปิลเป็นที่ตั้งและเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่ยังเหลือรอดมาตั้งแต่การแบ่งจักรวรรดิใน ค.ศ. 330 โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1[4] ข้ออ้างนี้มีเพียงอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลที่ให้การยอมรับ ถึงกระนั้น เมห์เหม็ดที่ 2 มองรัฐออตโตมันว่าเป็นรัฐสืบทอดของจักรวรรดิโรมัน และมองตัวพระองค์เองว่า "สืบทอด" จักรวรรดิมากกว่า "ทดแทน" มัน
เมห์เหม็ดทรงดำเนินการศึกต่อไปในอานาโตเลียแล้วรวมบริเวณนี้กับยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ไปทางตะวันตกถึงบอสเนีย พระองค์ยังปฏิรูปการเมืองและสังคม ส่งเสริมในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ และในช่วงปลายรัชสมัย พระองค์ได้ปรับปรุงคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิที่เจริญรุ่งเรือง ประเทศตุรกีสมัยใหม่และโลกมุสลิมส่วนมากมองพระองค์เป็นวีรบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีสถานที่หลายแห่งที่ตั้งชื่อตามพระองค์ด้วย
พระราชประวัติช่วงต้น
แก้เมห์เหม็ดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1432 ที่เอดีร์แน เมืองหลวงของรัฐออตโตมันในเวลานั้น พระราชบิดาของพระองค์คือสุลต่านมูรัดที่ 2 (ค.ศ. 1404–1451) กับฮือมา ฮาตุน พระราชมารดาของพระองค์ที่เคยเป็นทาสไม่ทราบต้นกำเนิด[5][6][7]
ตามธรรมเนียมของผู้นำออตโตมันก่อนรัชสมัยของพระองค์ เมื่อเมห์เหม็ดที่ 2 มีพระชนมายุ 11 พรรษา พระองค์ถูกส่งไปที่อามัสยาพร้อมกับ ลาลัส (ที่ปรึกษา) สองคนเพื่อดูแลและได้รับประสบการณ์[7] หลังสุลต่านมูรัดที่ 2 ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฮังการีในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1444[8] พระองค์จึงสละราชสมบัติให้กับเมห์เหม็ดที่ 2 พระราชโอรสในพระชนมพรรษา 12 พรรษาในเดือนกรกฎาคม[9]/สิงหาคม[8] ค.ศ. 1444
ในรัชสมัยแรก พระองค์สามารถเอาชนะกลุ่มครูเสดที่นำโดยจอห์น ฮุนยาดีหลังการโจมตีฮังการี ซึ่งละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพแห่งแซแก็ดในเดือนกันยายน ค.ศ. 1444[8] ณ เวลานั้น สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงขอให้มูรัดที่ 2 พระราชบิดา ครองบัลลังก์อีกครั้ง แต่พระองค์ปฏิเสธ บันทึกเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระบุไว้ว่า[10] สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงพระอักษรว่า "ถ้าเจ้าคือสุลต่าน จงมาและนำกองทัพของท่าน ถ้าข้าคือสุลต่าน ข้าจะสั่งให้เจ้ามาและนำกองทัพของข้า" จากนั้น มูรัดที่ 2 นำกองทัพออตโตมันและชนะยุทธการที่วาร์นาในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1444[8] ฮาลิล อีนัลจึก (Halil İnalcık) กล่าวว่าสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ไม่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระราชบิดา แต่มาจากความพยายามที่จะนำมูรัดที่ 2 กลับมาครองอำนาจโดยชันดาร์ลือ ฮาลิล พาชา (Çandarlı Halil Pasha)[9][10]
ใน ค.ศ. 1446 มูรัดที่ 2 กลับมาครองอำนาจอีกครั้ง เมห์เหม็ดที่ 2 ยังคงมีตำแหน่งสุลต่าน แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการมานิซาเท่านั้น หลังการสวรรคตของสุลต่านมูรัดที่ 2 ใน ค.ศ. 1451 เมห์เหม็ดที่ 2 กลายเป็นสุลต่านครั้งที่สอง อิบราฮิม เบย์แห่งคารามันรุกรานดินแดนพิพาทและสืบสวนการก่อกบฏต่อการปกครองของออตโตมันหลายครั้ง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงคุมศึกครั้งแรกต่ออิบราฮิมแห่งคารามัน ทางไบแซนไทน์ขู่ที่จะปล่อยตัวออร์ฮัน ผู้อ้างสิทธิในราชวงศ์ออตโตมัน[8]
สวรรคตและสิ่งสืบทอด
แก้ใน ค.ศ. 1481 เมห์เหม็ดทรงนำทัพออตโตมันเพื่อเริ่มศึกใหม่ที่จะยึดครองโรดส์และอิตาลีตอนใต้ แต่ก่อนที่จะไปถึงมัลเทเพ อิสตันบูล พระองค์กลับประชวรเสียก่อน อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์บางส่วนรายงานว่าพระองค์วางแผนที่จะโค่นล้มรัฐสุลต่านมัมลูกแห่งอียิปต์ ยึดครองอียิปต์ และอ้างสิทธิ์เป็นเคาะลีฟะฮ์[11] หลังประชวรไม่กี่วัน พระองค์สวรรคตในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481 ด้วยพระชนมพรรษา 49 พรรษา และฝังในtürbeของพระองค์ใกล้บริเวณมัสยิดฟาติฮ์[12] Colin Heywood นักประวัติศาสตร์รายงานว่า "มีหลักฐานแวดล้อมที่สำคัญว่าเมห์เหม็ดถูกวางยาพิษ ซึ่งน่าจะเป็นคำสั่งของบาเยซิด พระราชโอรสคนโตและทายาทผู้สืบทอดของพระองค์"[13]
ข่าวการสวรรคตของเมห์เหม็ดสร้างความดีใจในทวีปยุโรปอย่างมาก โดยมีการจัดงานฉลองและสั่นระฆังโบสถ์ และมีการประกาศข่าวในเวนิสว่า: "La Grande Aquila è morta!" ('อินทรีใหญ่ตายแล้ว!')[14][15]
เมห์เหม็ดที่ 2 ได้รับการยอมรับในฐานะสุลต่านองค์แรกที่ประมวลกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ (เป็นเวลานานก่อนหน้าสุลัยมานผู้เกรียงไกร) การครองราชย์เป็นเวลา 31 ปี และสงครามจำนวนมากได้ขยายดินแดนจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเพิ่มดินแดนคอมสแตนติโนเปิล อาณาจักรและดินแดนเติร์กหลายแห่งในเอเชียน้อย บอสเนีย เซอร์เบีย และแอลเบเนีย เมห์เหม็ดสร้างชื่อเสียงอย่างมากทั้งในโลกอิสลามและคริสเตียน โดยFranz Babinger นักประวัติศาสตร์ได้รายงานว่า โลกคริสเตียนและพลเมืองบางส่วนมองตัวพระองค์เป็นทรราชกระหายเลือด[16] สะพานฟาติฮ์สุลต่านเมห์เหม็ดในอิสตันบูล (สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1988) ซึ่งข้ามช่องแคบบอสพอรัส ตั้งชื่อตามพระองค์ และพระนามกับพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์ยังปรากฏในธนบัตร 1000 ลีราตุรกีใน ค.ศ. 1986 ถึง 1992[17][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้][18]
อ้างอิง
แก้- ↑ Cihan Yüksel Muslu (2014). The Ottomans and the Mamluks: Imperial Diplomacy and Warfare in the Islamic World. p. 118.
Mehmed presented himself to the world as The Sultan of two lands and the Khan of two seas
- ↑ The Essential World History, Volume II: Since 1500. เก็บถาวร 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน By William J. Duiker, Jackson J. Spielvogel
- ↑ The Rise of Turkey: The Twenty-First Century's First Muslim Power เก็บถาวร 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. By Soner Cagaptay
- ↑ Nicolle 2000, p. 85.
- ↑ Freely, John (2009). The Grand Turk: Sultan Mehmet II - Conqueror of Constantinople, Master of an Empire and Lord of Two Seas (ภาษาอังกฤษ). I.B. Tauris. p. 9. ISBN 978-1-84511-704-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
- ↑ Babinger, Franz (1978). Mehmed the Conqueror and His Time (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 11. ISBN 978-0-691-01078-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
- ↑ 7.0 7.1 Nicolle 2000, p. 19.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Nicolle 2000, p. 91.
- ↑ 9.0 9.1 Nicolle 2000, p. 9.
- ↑ 10.0 10.1 Erhan Afyoncu, (2009), Truvanın İntikamı (ISBN 978-605-4052-11-0), p. 2, (In Turkish)
- ↑ "Memlûkler". Güncel Kaynağın Merkezi (ภาษาตุรกี). 6 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 April 2017.
- ↑ "Fatih Mosque". Islamic Landmarks (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 26 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ Heywood, Colin (2009). "Mehmed II". ใน Ágoston, Gábor; Bruce Masters (บ.ก.). Encyclopedia of the Ottoman Empire. p. 368.
- ↑ The Grand Turk: John Freely, p. 180, 2009
- ↑ Minorities and the destruction of the Ottoman Empire, Salâhi Ramadan Sonyel, p. 14, 1993
- ↑ Babinger 1992, p. 432.
- ↑ تاريخ الدولة العليّة العثمانية، تأليف: الأستاذ محمد فريد بك المحامي، تحقيق: الدكتور إحسان حقي، دار النفائس، الطبعة العاشرة: 1427 هـ – 2006 م، صفحة:178–177 ISBN 9953-18-084-9
- ↑ Central Bank of the Republic of Turkey เก็บถาวร 2009-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Banknote Museum: 7. Emission Group – One Thousand Turkish Lira – I. Series เก็บถาวร 16 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน & II. Series เก็บถาวร 16 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. – Retrieved on 20 April 2009.
ข้อมูลทั่วไป
แก้- Arnold, Thomas (2001). The Renaissance at War. Cassell & Co. ISBN 0-304-35270-5.
- Nicolle, David (2000). Constantinople 1453: The End of Byzantium. Osprey Publishing. ISBN 1-84176-091-9.
- แม่แบบ:Mehmed the Conqueror and His Time
- Fine, John V. A. Jr. (1994) [1987]. The Late Medieval Balkans: A Critical Survey from the Late Twelfth Century to the Ottoman Conquest. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Press. ISBN 0-472-08260-4.
- Finkel, Caroline (2005). Osman's Dream: The Story of the Ottoman Empire, 1300–1923. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-02396-7.
- Dyer, T. H., & Hassall, A. (1901). A history of modern Europe From the fall of Constantinople. London: G. Bell and Sons.
- Finkel, Caroline (2007). Osman's Dream: The Story of the Ottoman Empire, 1300–1923. Basic Books. ISBN 978-0-465-02396-7.
- Fredet, Peter (1888). Modern History; From the Coming of Christ and Change of the Roman Republic into an Empire, to the Year of Our Lord 1888. Baltimore: J. Murphy & Co. 383 pp
- Harris, Jonathan, The End of Byzantium. New Haven CT and London: Yale University Press, 2010. ISBN 978-0-300-11786-8
- İnalcık; Halil, Review of Mehmed the Conqueror and his Time
- Imber, Colin, The Ottoman Empire, 1300–1650: The Structure of Power. 2nd Edition. New York: Palgrave Macmillan, 2009. ISBN 978-0-230-57451-9
- Müller-Wiener, Wolfgang (1977). Bildlexikon zur Topographie Istanbuls: Byzantion, Konstantinupolis, Istanbul bis zum Beginn d. 17 Jh (ภาษาเยอรมัน). Tübingen: Wasmuth. ISBN 978-3-8030-1022-3.
- Necipoğlu, Gülru (1991). Architecture, Ceremonial, and Power: The Topkapi Palace in the Fifteenth and Sixteenth Centuries. Architectural History Foundation.
- Philippides, Marios, Emperors, Patriarchs, and Sultans of Constantinople, 1373–1513: An Anonymous Greek Chronicle of the Sixteenth Century. Brookline MA: Hellenic College Press, 1990. ISBN 0-917653-16-5
- แม่แบบ:The Papacy and the Levant
- Silburn, P. A. B. (1912). The evolution of sea-power. London: Longmans, Green and Co.
- Stavrides, Théoharis (2001). The Sultan of Vezirs: The Life and Times of the Ottoman Grand Vezir Mahmud Pasha Angelovic (1453–1474). Brill. ISBN 978-90-04-12106-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Contemporary portraits
- Chapter LXVIII: "Reign of Mahomet the Second, Extinction of Eastern Empire" by Edward Gibbon
- Constantinople Siege & Fall, BBC Radio 4 discussion with Roger Crowley, Judith Herrin & Colin Imber (In Our Time, 28 December 2006)