ไกซาร์
ไกซาร์ (ละติน: Caesar, ออกเสียง: [ˈkae̯.sar]; กรีกโบราณ: Καῖσαρ) เป็นตำแหน่งของผู้เป็นจักรพรรดิที่มีที่มาจากชื่อสกุลของจูเลียส ซีซาร์ ผู้เผด็จการโรมัน การเปลี่ยนแปลงจากชื่อตระกูลเป็นตำแหน่งที่ถือครองโดยจักรพรรดิโรมันสามารถสืบต้นตอได้ถึง ค.ศ. 68 หลังการล่มสลายของราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส
ไกซาร์ | |
---|---|
การออกเสียง | ภาษาละตินคลาสสิก: [ˈkae̯sar] |
เพศ | ชาย |
ภาษา | ละติน |
ที่มา | |
ความหมาย | จักรพรรดิ |
ต้นกำเนิด
แก้ผู้ใช้ "ไกซาร์" ในฐานะชื่อสกุลคนแรกคือแซ็กสตุส ยูลิอุส ไกซาร์ ผู้ที่น่าจะเป็นบรรพบุรุษร่วมของลูกหลานทั้งหมดในตระกูลยูลิอี ไกซาเรส (Julii Caesares)[1] (กาอิอุส) จูเลียส ซีซาร์ (ยูลิอุส ไกซาร์) เป็นเหลนชายของแซ็กสตุส หลังจูเลียส ซีซาร์ ก่อสงครามกับวุฒิสภาแล้วยึดครองสาธารณรัฐโรมัน เขาตั้งตำแหน่ง ดิกตาตอร์แปร์แปตูโอ (dictator perpetuo) หรือ "ผู้เผด็จการตลอดชีพ" ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาครองอยู่เพียงประมาณเดือนเดียวก่อนถูกลอบสังหาร การเสียชีวิตของจูเลียส ซีซาร์ ไม่ได้นำไปสู่การฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐ แต่ก่อให้เกิดคณะสามผู้นำที่สอง ได้แก่ ผู้เผด็จการสามคนรวมถึงกาอิอุส อ็อกตาวิอุส ลูกชายบุญธรรมของจูเลียส ผู้แบ่งดินแดนและดำรงตำแหน่งเป็นเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ ในสมัยของเขา อ็อกตาวิอุสเรียกชื่อตนเองว่า "กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอุส" โดยมักย่อเป็น "กาอิอุส ไกซาร์"[2] เพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างตนกับจูเลียส ซีซาร์ สุดท้าย ความไม่ไว้วางใจและความอิจฉาระหว่างเผด็จการทั้งสามก็ทำให้พันธมิตรล่มสลาย และก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองซึ่งจบลงที่อ็อกตาวิอุสกลายเป็นผู้ควบคุมดินแดนโรมันทั้งหมด โดยอ็อกตาวิอุสประกาศตนเองเป็น อิมแปราตอร์ ("ผู้บัญชาการ") และสาธารณรัฐโรมันกลายเป็นจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ เมื่อขึ้นครองอำนาจในตำแหน่งนี้ อ็อกตาวิอุสได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "อิมแปราตอร์ ไกซาร์ เอากุสตุส"[3] โดยวุฒิสภาโรมันได้เพิ่มคำยกย่อง เอากุสตุส เข้าไป ด้วยเหตุนี้ ติแบริอุส ลูกชายบุญธรรมและผู้สืบทอดอำนาจของเอากุสตุส จึงทำตามพ่อ (เลี้ยง) และนำชื่อ "ไกซาร์" มาใช้ด้วยในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 4 โดยเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น "ติแบริอุส ยูลิอุส ไกซาร์" และเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิก็นำชื่อ "ติแบริอุส ไกซาร์ เอากุสตุส" มาใช้ ทำให้เกิดการสืบทอดชื่อ "ไกซาร์" มานับตั้งแต่นั้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology, vol. I, p. 537.
- ↑ Syme, Ronald (1959), "Livy and Augustus", Harvard Studies in Classical Philology, 64: 175, 179, doi:10.2307/310937, JSTOR 310937
- ↑ "40 maps that explain the Roman Empire". Vox. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
บรรณานุกรม
แก้- แม่แบบ:The Imperial Administrative System of the Ninth Century
- Jones, A.H.M.; J.R. Martindale & J. Morris (1971–1992). Prosopography of the Later Roman Empire. Cambridge University Press. ISBN 0-521-07233-6.
- Kazhdan, Alexander, บ.ก. (1991). The Oxford Dictionary of Byzantium. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-504652-8.
- Kienast, Dietmar; Werner Eck; Matthäus Heil (2017). Römische Kaisertabelle: Grundzüge einer römischen Kaiserchronologie. Darmstadt: WBG. ISBN 978-3-534-26724-8.
- Peachin, Michael (1990). Roman Imperial Titulature and Chronology, A.D. 235–284. Amsterdam: Gieben. ISBN 90-5063-034-0.
- Verpeaux, Jean, บ.ก. (1966). Pseudo-Kodinos, Traité des Offices (ภาษาฝรั่งเศส). Centre National de la Recherche Scientifique.
อ่านเพิ่ม
แก้- Ferjančić, Božidar (1970). "Севастократори и кесари у Српском царству" [Sebastocrators and Caesares in the Serbian Empire]. Зборник Филозофског факултета. Belgrade: 255–269.
- Pauly-Wissowa – Realencyclopädie der Classischen Altertumswissenschaft