สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต

(เปลี่ยนทางจาก สุลต่านเมห์เมดที่ 2)

เมห์เหม็ดที่ 2 (ตุรกีออตโตมัน: محمد ثانى, อักษรโรมัน: Meḥmed-i s̱ānī; ตุรกี: II. Mehmed, ออกเสียง: [icinˈdʒi ˈmehmed]; 30 มีนาคม ค.ศ. 1432 - 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481) รู้จักกันในพระนาม เมห์เหม็ดผู้พิชิต (ตุรกีออตโตมัน: ابو الفتح, อักษรโรมัน: Ebū'l-Fetḥ, แปลตรงตัว'บิดาแห่งการพิชิต'; ตุรกี: Fatih Sultan Mehmed) เป็นสุลต่านออตโตมันที่ครองราชย์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1444 ถึงกันยายน ค.ศ. 1446 และอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1451 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1481 ในรัชสมัยแรก พระองค์สามารถเอาชนะกลุ่มครูเสดที่นำโดยจอห์น ฮุนยาดีหลังการโจมตีฮังการี ซึ่งละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพแห่งแซแก็ด เมื่อเมห์เหม็ดที่ 2 ครองราชย์อีกครั้งใน ค.ศ. 1451 พระองค์เสริมกำลังกองทัพเรือออตโตมันและเตรียมการโจมตีคอนสแตนติโนเปิล เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 21 พระองค์พิชิตคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) และทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์สิ้นสุดลง

สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต
คัยเซรีรูม (ซีซาร์แห่งโรมัน)
สุลต่านแห่งสองดินแดนและข่านแห่งสองทะเล[1]
พระบรมสาทิสลักษณ์ของเมห์เหม็ดที่ 2 โดยเจนตีเล เบลลีนี วาดใน ค.ศ. 1480
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน (ปะดีชาฮ์) องค์ที่ 7
ครองราชย์ครั้งที่ 1สิงหาคม ค.ศ. 1444 – กันยายน ค.ศ. 1446
ก่อนหน้ามูรัดที่ 2
ถัดไปมูรัดที่ 2
ครองราชย์ครั้งที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1451 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481
ก่อนหน้ามูรัดที่ 2
ถัดไปบาเยซิดที่ 2
ประสูติ30 มีนาคม ค.ศ. 1432
เอดีร์แน รัฐสุลต่านออตโตมัน
สวรรคต3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481(1481-05-03) (49 ปี)
ฮืนคาร์ชายือรือ (เทกฟูร์ชายือรือ) ใกล้กับเกบเซ จักรวรรดิออตโตมัน
ฝังพระศพมัสยิดฟาติฮ์ อิสตันบูล
พระมเหสี
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
เมห์เหม็ด บิน มูรัด ฮาน
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระราชบิดามูรัดที่ 2
พระราชมารดาฮือมา ฮาตุน
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[2][3]
ทูกรา

หลังการพิชิต เมห์เหม็ดทรงอ้างสิทธิ์เป็น "ซีซาร์"แห่งจักรวรรดิโรมัน (قیصر‎ روم Qayser-i Rûm) โดยอิงความจริงที่ว่าคอนสแตนติโนเปิลเป็นที่ตั้งและเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่ยังเหลือรอดมาตั้งแต่การแบ่งจักรวรรดิใน ค.ศ. 330 โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1[4] ข้ออ้างนี้มีเพียงอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลที่ให้การยอมรับ ถึงกระนั้น เมห์เหม็ดที่ 2 มองรัฐออตโตมันว่าเป็นรัฐสืบทอดของจักรวรรดิโรมัน และมองตัวพระองค์เองว่า "สืบทอด" จักรวรรดิมากกว่า "ทดแทน" มัน

เมห์เหม็ดทรงดำเนินการศึกต่อไปในอานาโตเลียแล้วรวมบริเวณนี้กับยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ไปทางตะวันตกถึงบอสเนีย พระองค์ยังปฏิรูปการเมืองและสังคม ส่งเสริมในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ และในช่วงปลายรัชสมัย พระองค์ได้ปรับปรุงคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิที่เจริญรุ่งเรือง ประเทศตุรกีสมัยใหม่และโลกมุสลิมส่วนมากมองพระองค์เป็นวีรบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีสถานที่หลายแห่งที่ตั้งชื่อตามพระองค์ด้วย

พระราชประวัติช่วงต้น แก้

 
การขึ้นครองราชย์ของเมห์เหม็ดที่ 2 ที่เอดีร์แน, ค.ศ. 1451

เมห์เหม็ดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1432 ที่เอดีร์แน เมืองหลวงของรัฐออตโตมันในเวลานั้น พระราชบิดาของพระองค์คือสุลต่านมูรัดที่ 2 (ค.ศ. 1404–1451) กับฮือมา ฮาตุน พระราชมารดาของพระองค์ที่เคยเป็นทาสไม่ทราบต้นกำเนิด[5][6][7]

ตามธรรมเนียมของผู้นำออตโตมันก่อนรัชสมัยของพระองค์ เมื่อเมห์เหม็ดที่ 2 มีพระชนมายุ 11 พรรษา พระองค์ถูกส่งไปที่อามัสยาพร้อมกับ ลาลัส (ที่ปรึกษา) สองคนเพื่อดูแลและได้รับประสบการณ์[7] หลังสุลต่านมูรัดที่ 2 ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฮังการีในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1444[8] พระองค์จึงสละราชสมบัติให้กับเมห์เหม็ดที่ 2 พระราชโอรสในพระชนมพรรษา 12 พรรษาในเดือนกรกฎาคม[9]/สิงหาคม[8] ค.ศ. 1444

ในรัชสมัยแรก พระองค์สามารถเอาชนะกลุ่มครูเสดที่นำโดยจอห์น ฮุนยาดีหลังการโจมตีฮังการี ซึ่งละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพแห่งแซแก็ดในเดือนกันยายน ค.ศ. 1444[8] ณ เวลานั้น สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงขอให้มูรัดที่ 2 พระราชบิดา ครองบัลลังก์อีกครั้ง แต่พระองค์ปฏิเสธ บันทึกเหตุการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระบุไว้ว่า[10] สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ทรงพระอักษรว่า "ถ้าเจ้าคือสุลต่าน จงมาและนำกองทัพของท่าน ถ้าข้าคือสุลต่าน ข้าจะสั่งให้เจ้ามาและนำกองทัพของข้า" จากนั้น มูรัดที่ 2 นำกองทัพออตโตมันและชนะยุทธการที่วาร์นาในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1444[8] ฮาลิล อีนัลจึก (Halil İnalcık) กล่าวว่าสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ไม่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระราชบิดา แต่มาจากความพยายามที่จะนำมูรัดที่ 2 กลับมาครองอำนาจโดยชันดาร์ลือ ฮาลิล พาชา (Çandarlı Halil Pasha)[9][10]

ใน ค.ศ. 1446 มูรัดที่ 2 กลับมาครองอำนาจอีกครั้ง เมห์เหม็ดที่ 2 ยังคงมีตำแหน่งสุลต่าน แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการมานิซาเท่านั้น หลังการสวรรคตของสุลต่านมูรัดที่ 2 ใน ค.ศ. 1451 เมห์เหม็ดที่ 2 กลายเป็นสุลต่านครั้งที่สอง อิบราฮิม เบย์แห่งคารามันรุกรานดินแดนพิพาทและสืบสวนการก่อกบฏต่อการปกครองของออตโตมันหลายครั้ง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงคุมศึกครั้งแรกต่ออิบราฮิมแห่งคารามัน ทางไบแซนไทน์ขู่ที่จะปล่อยตัวออร์ฮัน ผู้อ้างสิทธิในราชวงศ์ออตโตมัน[8]

สวรรคตและสิ่งสืบทอด แก้

 
สุสานของเมห์เหม็ดที่ 2 (สวรรคตใน ค.ศ. 1481) ทีฟาติฮ์ อิสตันบูล
 
เมห์เหม็ดที่ 2 ที่ด้านหลังของธนบัตร 1,000 ลีราตุรกีใน ค.ศ. 1986

ใน ค.ศ. 1481 เมห์เหม็ดทรงนำทัพออตโตมันเพื่อเริ่มศึกใหม่ที่จะยึดครองโรดส์และอิตาลีตอนใต้ แต่ก่อนที่จะไปถึงมัลเทเพ อิสตันบูล พระองค์กลับประชวรเสียก่อน อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์บางส่วนรายงานว่าพระองค์วางแผนที่จะโค่นล้มรัฐสุลต่านมัมลูกแห่งอียิปต์ ยึดครองอียิปต์ และอ้างสิทธิ์เป็นเคาะลีฟะฮ์[11] หลังประชวรไม่กี่วัน พระองค์สวรรคตในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1481 ด้วยพระชนมพรรษา 49 พรรษา และฝังในtürbeของพระองค์ใกล้บริเวณมัสยิดฟาติฮ์[12] Colin Heywood นักประวัติศาสตร์รายงานว่า "มีหลักฐานแวดล้อมที่สำคัญว่าเมห์เหม็ดถูกวางยาพิษ ซึ่งน่าจะเป็นคำสั่งของบาเยซิด พระราชโอรสคนโตและทายาทผู้สืบทอดของพระองค์"[13]

ข่าวการสวรรคตของเมห์เหม็ดสร้างความดีใจในทวีปยุโรปอย่างมาก โดยมีการจัดงานฉลองและสั่นระฆังโบสถ์ และมีการประกาศข่าวในเวนิสว่า: "La Grande Aquila è morta!" ('อินทรีใหญ่ตายแล้ว!')[14][15]

เมห์เหม็ดที่ 2 ได้รับการยอมรับในฐานะสุลต่านองค์แรกที่ประมวลกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ (เป็นเวลานานก่อนหน้าสุลัยมานผู้เกรียงไกร) การครองราชย์เป็นเวลา 31 ปี และสงครามจำนวนมากได้ขยายดินแดนจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเพิ่มดินแดนคอมสแตนติโนเปิล อาณาจักรและดินแดนเติร์กหลายแห่งในเอเชียน้อย บอสเนีย เซอร์เบีย และแอลเบเนีย เมห์เหม็ดสร้างชื่อเสียงอย่างมากทั้งในโลกอิสลามและคริสเตียน โดยFranz Babinger นักประวัติศาสตร์ได้รายงานว่า โลกคริสเตียนและพลเมืองบางส่วนมองตัวพระองค์เป็นทรราชกระหายเลือด[16] สะพานฟาติฮ์สุลต่านเมห์เหม็ดในอิสตันบูล (สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1988) ซึ่งข้ามช่องแคบบอสพอรัส ตั้งชื่อตามพระองค์ และพระนามกับพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์ยังปรากฏในธนบัตร 1000 ลีราตุรกีใน ค.ศ. 1986 ถึง 1992[17][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้][18]

อ้างอิง แก้

  1. Cihan Yüksel Muslu (2014). The Ottomans and the Mamluks: Imperial Diplomacy and Warfare in the Islamic World. p. 118. Mehmed presented himself to the world as The Sultan of two lands and the Khan of two seas
  2. The Essential World History, Volume II: Since 1500. เก็บถาวร 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน By William J. Duiker, Jackson J. Spielvogel
  3. The Rise of Turkey: The Twenty-First Century's First Muslim Power เก็บถาวร 18 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. By Soner Cagaptay
  4. Nicolle 2000, p. 85.
  5. Freely, John (2009). The Grand Turk: Sultan Mehmet II - Conqueror of Constantinople, Master of an Empire and Lord of Two Seas (ภาษาอังกฤษ). I.B. Tauris. p. 9. ISBN 978-1-84511-704-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  6. Babinger, Franz (1978). Mehmed the Conqueror and His Time (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 11. ISBN 978-0-691-01078-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  7. 7.0 7.1 Nicolle 2000, p. 19.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Nicolle 2000, p. 91.
  9. 9.0 9.1 Nicolle 2000, p. 9.
  10. 10.0 10.1 Erhan Afyoncu, (2009), Truvanın İntikamı (ISBN 978-605-4052-11-0), p. 2, (In Turkish)
  11. "Memlûkler". Güncel Kaynağın Merkezi (ภาษาตุรกี). 6 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 April 2017.
  12. "Fatih Mosque". Islamic Landmarks (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 26 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  13. Heywood, Colin (2009). "Mehmed II". ใน Ágoston, Gábor; Bruce Masters (บ.ก.). Encyclopedia of the Ottoman Empire. p. 368.
  14. The Grand Turk: John Freely, p. 180, 2009
  15. Minorities and the destruction of the Ottoman Empire, Salâhi Ramadan Sonyel, p. 14, 1993
  16. Babinger 1992, p. 432.
  17. تاريخ الدولة العليّة العثمانية، تأليف: الأستاذ محمد فريد بك المحامي، تحقيق: الدكتور إحسان حقي، دار النفائس، الطبعة العاشرة: 1427 هـ – 2006 م، صفحة:178–177 ISBN 9953-18-084-9
  18. Central Bank of the Republic of Turkey เก็บถาวร 2009-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Banknote Museum: 7. Emission Group – One Thousand Turkish Lira – I. Series เก็บถาวร 16 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน & II. Series เก็บถาวร 16 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. – Retrieved on 20 April 2009.

ข้อมูลทั่วไป แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้