สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2

สุลต่านอับดุลฮามิดที่สอง (อังกฤษ: Abdul Hamid II; ภาษาตุรกีออตโตมาน: عبد الحميد ثانی `Abdü’l-Ḥamīd-i sânî, ตุรกี: İkinci Abdülhamit)) พระองค์เป็นสุลต่านระหว่าง พ.ศ. 2419 – 2452 เป็นผู้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิออตโตมานเป็นฉบับแรก ภายหลังทรงยุบสภาและยึดอำนาจกลับคืนมาจึงถูกกลุ่มยังเติร์กปฏิวัติ

สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2
السلطان عبد الحميد الثاني
เคาะลีฟะฮ์แห่งออตโตมัน
อะมีรุลมุอ์มินีน
สุลต่านแห่งออตโตมัน
ไกเซอรี รูม
ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง
เชห์ซาเด (เจ้าชาย) อับดุล ฮามิด ในปีค.ศ. 1867.
เคาะลีฟะฮ์ออตโตมันองค์ที่ 26
สุลต่านออตโตมันองค์ที่ 34 (จักรพรรดิ)
ระยะปกครอง31 สิงหาคม ค.ศ.1876 – 27 เมษายน ค.ศ.1909
Sword girding7 กันยายน ค.ศ.1876
ก่อนหน้าสุลต่านมูรัดที่ 5
ต่อไปสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 5
ขุนนางราชมนตรี
ประสูติ21 กันยายน ค.ศ. 1842(1842-09-21)[1][2]
พระราชวังโทพคาปึ, คอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล), จักรวรรดิออตโตมัน)
สวรรคต10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918(1918-02-10) (75 ปี)
พระราชวังเบย์เลอร์เบยี, คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิออตโตมัน
ฝังพระศพสุสานสุลต่านมะฮ์มูดที่ 2, ฟาติฮ์, อิสตันบูล
พระมเหสีนาซีเกดา คาดืน
เบดริเฟเล็ก คาดืน
นูเรฟซุน คาดืน
บีดัร คาดืน
ดิลเปเซนด์ คาดืน
เมซีดีเมสตัน คาดืน
เอ็มซาลีนูร คาดืน
มืชฟิกา คาดืน
ซัสการ์ ฮานืม
เปย์เวสเต ฮานืม
เปเสนด์ ฮานืม
เบฮิเซ ฮานืม
นาซิเย ฮานืม
พระราชบุตรsee below
พระนามเต็ม
Abdul Hamid bin Abdul Mecid
รัชศก
Decline and modernization of the Ottoman Empire: 1828–1908
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระราชบิดาสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1
พระราชมารดามารดาแท้จริง:
ติริมืจกาน คาดืน
มารดารับเลี้ยง:
เปเรชตู คาดืน
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ทูกรา
สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2
ตราของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2

ประวัติ แก้

พระองค์ประสูติเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2385 เป็นโอรสของสุลต่านอับดุลเมจิดที่หนึ่ง ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากสุลต่านมูรัดที่ 5 ซึ่งประชวรด้วยโรคประสาทอย่างหนักจนถูกถอดออกจากราชบัลลังก์ พระองค์ซึ่งแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนระบบรัฐธรรมนูญจึงได้ขึ้นครองราชย์เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2419 อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสุลต่าน พระองค์ได้พยายามต่อรองที่รักษาอำนาจไว้ให้ได้มากที่สุด รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้เมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2419 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่สุลต่านมาก ชาติตะวันตกจึงมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและเรียกร้องให้แก้ไข แต่พระองค์ปฏิเสธ รัสเซียจึงโจมตีจักรวรรดิออตโตมันในคาบสมุทรบอลข่าน และเทือกเขาคอเคซัสใน พ.ศ. 2420 โดยอ้างว่าเป็นสงครามเพื่อปกป้องชาวสลาฟที่นับถือศาสนาคริสต์ ในที่สุดรัสเซียยกทัพมาถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในระหว่างนั้น สุลต่านมีความขัดแย้งกับรัฐสภาในการออกกฎหมาย พระองค์จึงยุบสภาเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 แล้วไม่มีการเลือกตั้งใหม่อีกเลย

 
ชาวมุสลิมอะดืยเกที่อพยพเนื่องจากบ้านเกิดถูกรัสเซียโจมตีระหว่างการรุกรานเทือกเขาคอเคซัสของรัสเซีย

สงครามกับรัสเซียสิ้นสุดลงโดยสนธิสัญญาซานสเตฟาโน โดยออตโตมันต้องให้เอกราชแก่เซอร์เบีย โรมาเนีย มอนเตเนโกร ให้บัลแกเรียปกครองตนเอง และยกมณฑลเบสซาเรเบีย เบเตกซ์และและอาร์ตจานให้แก่รัสเซีย อย่างไรก็ตาม ต่อมา อังกฤษและออสเตรีย-ฮังการีเข้ามาบีบให้รัสเซียทำสนธิสัญญาใหม่ โดยลดขนาดของบัลแกเรียให้เล็กลง ออสเตรีย-ฮังการีมีอำนาจในการบริหารบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ส่วนอังกฤษได้ตั้งฐานทัพที่เกาะไซปรัส

สุลต่านอับดุลฮามิดที่สองทรงมีข้อขัดเคืองกับมัดฮัต ปาชา และระแวงว่าปาชาจะเป็นศัตรูจึงคิดกำจัด โดยเนรเทศออกจากจักรวรรดิในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419 ก่อนจะให้ไปเป็นข้าหลวงแห่งซีเรียและอิซมีร์ ต่อมาใน พ.ศ. 2424 ทรงกล่าวหาว่าปาชามีส่วนในการลอบปลงพระชนม์สุลต่านอับดุล อะซีซใน พ.ศ. 2419 ก่อนจะพิพากษาว่าผิดจริงและถูกเนรเทศไปอาระเบีย และถูกลอบสังหารในที่สุดใน พ.ศ. 2426 สุลต่านอับดุลฮามิดที่สองทรงระแวงเสมอว่าจะมีคนปองร้าย จึงมีตำรวจลับไว้ป้องกันพระองค์ มักอาศัยอยู่ในวังที่สร้างใหม่นอกกรุงคอนสแตนติโนเปิลชื่อพระราชวังเยิลเดิซ ใน พ.ศ. 2424 มหาอำนาจในยุโรปพยายามเข้ามายึดครองดินแดนในจักรวรรดิออตโตมาน เช่น บังคับให้ยกเทสซาลีให้กรีซ ฝรั่งเศสยึดตูนีเซียเป็นรัฐในอารักขา และอังกฤษยึดครองอียิปต์ ในขณะที่พระองค์พยายามรักษาอำนาจและสร้างความนิยมในหมู่ชาวอาหรับ ส่งเสริมการไปแสวงบุญที่เมกกะ สร้างทางรถไฟสายฮิจาซจากดามัสกัสไปยังเมดินา ระหว่าง พ.ศ. 2444 – 2451 โดยไม่ใช้เงินจากยุโรป ทรงสนับสนุนการสร้างรถรางและสาธารณูปโภค ขยายเครือข่ายโทรเลขไปทั่วจักรวรรดิ ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบตะวันตก ก่อตั้งมหาวิทยาลัยอิสตันบูลใน พ.ศ. 2443

อย่างไรก็ตาม พระองค์ต้องเผชิญกับการต่อต้านทั้งจากชาวเติร์กและกลุ่มชนอื่นในจักรวรรดิ กลุ่มนักศึกษาแพทย์และทหารได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มยังเติร์กเพื่อรอโอกาสจะยึดอำนาจ ชาวอาหรับ กรีก และอาร์เมเนียได้รับแนวคิดชาตินิยมจากตะวันตกและพยายามแยกตัวเป็นอิสระ ชาวกรีกบนเกาะครีตก่อกบฏเพื่อขอแยกตัวไปรวมกับกรีซ สุลต่านอับดุลฮามิดที่สองให้ทหารปราบปรามอย่างรุนแรง กรีซจึงประกาศสงครามกับออตโตมานใน พ.ศ. 2440 ผลของสงครามออตโตมานเป็นฝ่ายชนะ แต่ชาติตะวันตกกลับยื่นมือเข้ามาบีบบังคับจนพระองค์ต้องยอมรับให้เกาะครีตปกครองตนเอง

ในการปราบปรามกลุ่มยังเติร์ก พระองค์ทรงปราบปรามด้วยความรุนแรง จนกระทั่งนายพลเชมซี ปาชา นายทหารของพระองค์ถูกทหารด้วยกันเองยิงเสียชีวิตหลังจากรายงานข่าวการปราบปรามพวกยังเติร์กมายังพระองค์เมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ในวันรุ่งขึ้น พระองค์จึงออกประกาศว่าจะยอมให้เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ต่อมาอีก 9 เดือน สุลต่านพยายามจะยึดอำนาจคืน กลุมยังเติร์กรู้ตัวก่อนจึงตัดสินใจถอดพระองค์ออกจากราชสมบัติเมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2452 และตั้งอนุชาของพระองค์ขึ้นเป็นสุลต่านแทน พระนามว่าสุลต่านเมห์เมดที่ 5 พระองค์ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองซาโลนิกา แต่ได้เสด็จกลับมาประทับที่พระราชวังเบย์เลอร์เบยีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลฝั่งเอเชียจนสิ้นพระชนม์เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รวมพระชนม์ได้ 75 พรรษา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abdulhamid II". Encyclopedia Britannica. Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, IL: Encyclopedia Britannica Inc. p. 22. ISBN 978-1-59339-837-8.
  2. Some sources state that his birth date was on 22 September.
  3. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2. ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 4-8