ศูรเสน

(เปลี่ยนทางจาก สุรเสน)

แคว้นศูรเสน (อังกฤษ: Kingdom of Surasena; สันสกฤต: शूरसेन, Śūrasena) หรือ สุรเสน/สุรเสนะ ในภาษาบาลี เป็นอาณาจักรโบราณในอินเดีย มีมถุราเป็นเมืองหลวง เป็นหนึ่งในมหาชนบท 16 แคว้น[1] มีปรากฎในมหากาพย์ รามายณะ[2] and Cleisobra.[3]

แคว้นศูรเสน
Kingdom of Surasena

c. 700 BCE–c. 300 BCE
แคว้นศูรเสน และมหาชนบทแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ตอนปลาย
แคว้นศูรเสน และมหาชนบทแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ตอนปลาย
เมืองหลวงมถุรา
ภาษาทั่วไปSanskrit
ศาสนา
Hinduism
Buddhism
Jainism
การปกครองราชาธิปไตย
Maharaja 
ยุคประวัติศาสตร์Bronze Age, Iron Age
• ก่อตั้ง
c. 700 BCE
• สิ้นสุด
c. 300 BCE
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินเดีย

แคว้นศูรเสน อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ชัดเจนมากนัก แคว้นนี้มักได้รับการกล่าวถึงร่วมกับแคว้นกุรุ และแคว้นมัจฉะเสมอ ๆ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน โดยพระเจ้าแผ่นดินของแคว้นศูรเสนในสมัยพุทธกาล ในบันทึกปรากฏพระนามว่า พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ซึ่งสันนิษฐานตามพระนามนี้ว่า พระราชมารดาอาจจะเป็นเจ้าหญิงจากแคว้นอวันตี โดยมถุรา (หรือ มธุรา) เมืองหลวงของแคว้นศูรเสน ตั้งอยู่ทางฝั่งขวา หรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมุนา และอยู่กึ่งกลางของเส้นทางติดต่อระหว่างกรุงอินทรปรัสถ์ เมืองหลวงของแคว้นกุรุ กับโกสัมพี เมืองหลวงของแคว้นวังสะในสมัยนั้น ซึ่งในปัจจุบันเมืองนี้ เมืองต่างๆนี้ก็ยังคงชื่อเดิมอยู่ อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ เหนืออัคระ เมืองแห่งทัชมาฮาลขึ้นไปประมาณ 56 กิโลเมตร หรือ 35 ไมล์ อยู่ใต้กรุงเดลีลงมาประมาณ 141 กิโลเมตร หรือ 88 ไมล์ แต่ตัวเมืองมถุราปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ ณ ที่เดิมเลยเสียทีเดียว พื้นที่เมืองมถุราแต่เดิมนั้น บัดนี้เป็นซากเรียกกันว่า มโหลิ อยู่ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 8 กิโลเมตร หรือ 5 ไมล์

อ้างอิง แก้

  1. Raychaudhuri 1972, p. 85
  2. Raychaudhuri 1972, p. 71
  3. Majumdar, Ramesh Chandra (1995). Ancient India. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited. p. 173. ISBN 978-81-208-0436-4.