สุรเดช ยะสวัสดิ์

สุรเดช ยะสวัสดิ์ (เกิด 27 สิงหาคม พ.ศ. 2499) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพะเยา และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน

สุรเดช ยะสวัสดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองอิสระ (เตรียมสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา)

ประวัติ

แก้

สุรเดช ยะสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของพลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา กับหม่อมราชวงศ์จิตราภา ยะสวัสดิ์ (สกุลเดิม นวรัตน)[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จาก CHAMBERLAYNE JUNIOR COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ จาก CURRY COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโท จาก NORTHEASTERN UNIVERSITY ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

สุรเดช ยะสวัสดิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพะเยา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543[2] และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในยุคที่มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค และในสมัยของนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เช่นเดียวกัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "วิทูรย์ ยะสวัสดิ์"ล่วง พร้อมความลับเดือนตุลา[ลิงก์เสีย]
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดพะเยา (นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ นางพวงเล็ก บุญเชียง)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-28. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้