สุริชัย หวันแก้ว

ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุริชัย หวันแก้ว (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 — ) ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม[1] คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรการพัฒนาระหว่างประเทศ และปัจจุบันเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธาน Asian Rural Sociological Association (ARSA) ที่ปรึกษาโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต [2] เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ดำรงตำแหน่งเลขานุการของกอส.ในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้าน การพัฒนา คนชายขอบ และโลกาภิวัตน์


สุริชัย หวันแก้ว

เกิด17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คู่สมรสรศ.ดร.ฉันทนา หวันแก้ว

ประวัติ แก้

อาจารย์สุริชัยเป็นนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะสังคมวิทยา และการมีส่วนร่วม เป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม (CUSRI) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นบุคลากรขององค์กรประชาธิปไตย คนสำคัญของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 อาจารย์สุริชัย เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ลาออกก่อนครบกำหนด เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 โดยให้เหตุผลว่า สภานิติบัญญัติฯในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้กำลังหมดความชอบธรรมลงแล้วจึงไม่สมควรผ่านร่างกฎหมายต่างๆ อย่างเร่งรีบเกินสมควรดังที่เป็นอยู่[3] อาจารย์สุริชัย ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ สาขาวิชาสังคมวิทยา ภาควิชาสังคม วิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 [4]

อาจารย์สุริชัย จบการศึกษาระดับปริญญาโท และได้รับ Ph.D. Candidate สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าของรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2564 สมรสแล้ว กับ รศ.ดร.ฉันทนา (บรรพศิริโชติ) หวันแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา แก้

รัฐศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม (สังคมวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

M.A. in Sociology (University of Tokyo) (1975)

Ph.D. Candidate in Sociology (University of Tokyo) (1978), All Courses Completed(ABD)

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 2561

เกษียณอายุราชการ 1 ตุลาคม  2552    

การทำงาน แก้

ตำแหน่งปัจจุบัน แก้

ศาสตราจารย์ สาขาสังคมวิทยา  (ตั้งแต่ 16 กันยายน 2552)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตั้งแต่ 29 มีนาคม 2555 -ปัจจุบัน)

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2553 - ปัจจุบัน)

ตำแหน่งในอดีต แก้

ในประเทศ แก้

- กรรมการบริหาร สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (2534-2538)

- ศาสตราภิชาน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2553)

- รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ (2532-2536)

- กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม (2535-2539)

- ประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการชนบทศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย (2539)

- คณะกรรมการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ (2544 – 2545)

- คณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค  (2544 – 2545)

- ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (2543 – 2545)

- ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2538 – 2546)

- ประธาน The first consultation of Asian People’s Alliance to Combat HIV/AIDS (APACHA) (July 2004)

- ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกนักเรียนแลกเปลี่ยนอาเซียนกระทรวงศึกษาธิการ

- กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ (2545 – 2548) และประเภทผู้แทนคณะและสถาบัน (2549 – 2552)

- กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการเกิดธรณีพิบัติ“สึนามิ” (กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ : ICT) (2548)

- กรรมการคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สังคมวิทยา ราชบัณฑิตยสถาน (2538 – 2548)

- ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) (2545 – 2547)

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเลขานุการร่วมคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (2546) โดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี (ประธานกรรมการ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน)

- ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (26 ธันวาคม 2549 – 2552)

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการสวัสดิการสังคมแห่งชาติ          

- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (2550)

- ผู้อำนวยการก่อตั้งหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ (2546 – 2547)

- กรรมการหลักสูตร “แพทย์กับสังคม”

- รองประธานกรรมการคณะกรรมการพิจารณาเรื่องการร้องทุกข์ และอุทธรณ์ของนิสิต จุฬาฯ

- ประธานอนุกรรมการวิจัยวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ 2536 – 2540 และ 2544 – 2548

- กรรมการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

- กรรมการตรวจสอบโครงการปรับแผนวิจัยแบบบูรณาการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ประจำปี พ.ศ. 2549)

- ผู้อำนวยการโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเซีย Asian Public Intellectual Fellowship Programme (Nippon Foundation) (สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) (2543-2558)

- กรรมการบริหารสมาคมวิจัยเชิงคุณภาพแห่งประเทศไทย (2538 – ปัจจุบัน)

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา (2550 – 2558)

ระหว่างประเทศ แก้

- Visiting Professor,  ที่ Hosei University (Tokyo) 1988-1989  และ Ritsumeikan University (Kyoto) 1996-1997 สอนวิชา Southeast-Asia Under Globalization และ Hitotsubashi University (Tokyo), 2000 (6 เดือน) สอนวิชา Globalization and Social Movements in Southeast Asia.

- Visiting Professor,  Department of Sociology, University of Illinois at Urbana-Champaign, USA. (2004).

- Visiting Professor, Institute of Asian and African Studies, Humbolt University, Berlin, Germany    (2012)

- President, Asian Rural Sociology Association  2004-2510 และ Vice-President, International Rural Sociology Association (IRSA) (2005-2510)

- ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือแบบพหุภาคีด้านวัฒนธรรมระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Multi-national Cultural Mission) (1996-1999)

- ผู้ประสานงานการจัดการประชุมนานาชาติเรื่องสิ่งท้าทายความมั่นคงของมนุษย์ในโลกไร้พรมแดน (“International Public Symposium on “Challenges to Human Security in a Borderless World” , ร่วมกับคณะกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ - Commission on Human Security ) (11 ธันวาคม 2545)

หนังสือ แก้

1.    บรรณาธิการ. แปล “สังคมญี่ปุ่น”  (เขียนโดย ชิเอ นาคาเน) 2526.

2.     “Nittai Kankei No Konnichi to Tai  Jin Rodosha (Thai Migrant Workers in Japan and Human Rights) in, Ebashi  Takashi, Editor,  Gai Kokujin  Rodosha to Jinken :  Nihon-Tai Kankei Kenkyu No Genba Kara,Tokyo : Hosei University Press, 1990.

3.     บรรณาธิการ. (ร่วม) “สารพิษกับสังคมนิคส์ : จากคลองเตยถึงกาญจนบุรี”  (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2537).

4.     บรรณาธิการ. (ร่วมกับ คุณหญิงไขศรี  ศรีอรุณ) “ศิลปวัฒนธรรมในกระแสการเปลี่ยนแปลง”สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ 2539.

5.     “Beyond Secularization : Buddhism and Alternative Development   Praxis in Thailand,”  Ryukoku Sogo-Chiiki Kenkyu,Kyoto, Japan : 1998.

6.     โลกกว้าง-จิตแคบ : โลกาภิวัตน์กับอนาคตของความเป็นไทย  (สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก,  เมษายน 2545).

7.     บรรณาธิการ. (ร่วมกับสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม) “White Paper on Industrial Development in the Existing Context of Globalisation and its Impacts on Sustainability”เพื่อนำเสนอในงานการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยพัฒนาที่ยั่งยืน ณ เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ (ตุลาคม 2545).

8.     บรรณาธิการ. “การพัฒนาที่ยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์กับทิศทางประเทศไทย”(สำนักพิมพ์เดือนตุลา, พฤศจิกายน 2545).

9.     บรรณาธิการ. “การวิจัยเพื่อฟื้นฟูชุมชน : มิติใหม่ของสังคมไทย”(สำนักพิมพ์เดือนตุลา, ธันวาคม 2545).

10.  บรรณาธิการ. “ทิศทางที่ยั่งยืนของสังคมไทยกับป่าชุมชน : มุมมองสหวิทยาการ”(สำนักพิมพ์เดือนตุลา, ธันวาคม 2545).

11.  จุฬาฯ กับสังคม : สรุปสังเคราะห์และข้อเสนอแนะ(สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย, ธันวาคม 2545).

12.  ความคับแคบของโลกาภิวัตน์ : สังคมวิทยากับการพัฒนาไทย. สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2546).

13.  กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ  (Marginalization)   (คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ  สาขาสังคมวิทยา,  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,  2546). ต่อมาตีพิมพ์ ครั้งที่ 2        คนชายขอบ : จากแนวคิดสู่ความจริง, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550.

14.  ผู้เขียน แนวทางนโยบายวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2547.

15.  บรรณาธิการ, เผชิญหน้าโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรม : นโยบายวัฒนธรรมในบริบทใหม่, สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  กระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติ,  2547.

16.  ผู้เขียน ภาวะต่างคนต่างอยู่ในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศไทยกับสิ่งท้าทายด้านความรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคม, วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 กันยายน 2556.

17.  บรรณาธิการ,  Human Security in a Borderless World, Proceedings of Commission  on Human Security Seminar, 2004.

18.  Editor, Rural Livelihoods and Human Insecurities in Globalizing Asian Economies(2007)

19.  Co-Editor, Asian Rural Sociology III: Globalization, Competitiveness and Human Insecurity in Rural Asia (2010)

20.  Editor, Long Walk to Democratic Governance: Nelson Mandela Distinguished Lecture 2014 by Anand Panyarachun (2015)

21.  Co-Editor, Surichai Wun'gaeo with Chantana Banpasirichote Wungaeo and Boike Rehbein,  Globalization and Democratization in Southeast Asia, Palgrave McMillan, 2016.

ผลงานวิจัย แก้

1.     ความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น : ผลกระทบและการบริหารทุน Japan Foundation (สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาฯ (2538) (หัวหน้าโครงการ).

2.     ผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกต่อท้องถิ่น(ทุนรัชดาภิเษกสมโภช 2540) (หัวหน้าโครงการ).

3.     มิติใหม่ของการศึกษาวัฒนธรรม,สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2540 (หัวหน้าโครงการ).

4.     ระบบการเรียนรู้เรื่องชนบทในมหาวิทยาลัยไทย : สังเคราะห์ในภาพรวม กรณีศึกษา ศึกษามหาวิทยาลัยใน 5 ภาคของประเทศไทย(ทุนทบวงมหาวิทยาลัย 2542) (หัวหน้าโครงการ).

5.     ชนบทศึกษาในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร(ทุนทบวงมหาวิทยาลัย 2542) (ร่วมกับ รศ.ดร. ปรีชา คุวินทร์พันธุ์).

6.     โครงการวิจัย “ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม(ระยะแรก)”ทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  และ สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, 2545. (นักวิจัยหลัก).

7.     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสังคม : การปรับตัวเชิงสถาบันกับทางเลือกในอนาคต(ทุนฝ่ายนโยบายวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545) (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, สิงหาคม 2545) (หัวหน้าโครงการ).

8.     แนวทางนโยบายวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2546.

9.     อนาคตอุดมศึกษาไทยภายใต้กระแสการค้าเสรีข้ามชาติ, สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2548 (เขียนบทที่ 9 เรื่อง “มหาวิทยาลัยท่ามกลางกระแสพายุที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ : สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย”).

10.  สังคมวิทยาสึนามิ : การรับมือกับภัยพิบัติ(สสส.และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ), โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2550. (หัวหน้าโครงการ)

11.  โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ของระบบการอภิบาลสุขภาพทุนสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2556 (หัวหน้าโครงการ).

12.  โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2556 – 2566 ทุนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,2556 (หัวหน้าโครงการ).

13.  โครงการศึกษาสังเคราะห์ข้อมูลด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทุนสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) , 2558 (หัวหน้าโครงการ).

14.  โครงการยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรม ทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2558 (หัวหน้าโครงการ).

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "เว็บไซต์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
  2. เว็บไซต์โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต
  3. "สุริชัย"ไขก๊อกค้านเร่งออกกม. "มีชัย"บรรจุด่วนถก 2 วัน 45 ฉบับ", หนังสือพิมพ์มติชน. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10868
  4. แต่งตั้ง 9 ศาสตราจารย์ใหม่ "มหิดล-จุฬาฯ" สุริชัย หวันแก้ว สาขาวิชาสังคมวิทยา ภาควิชาสังคม มติชนออนไลน์ 4 กพ. 2554
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๙๙, ๙ มกราคม ๒๕๕๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘