สุนัขตำรวจ (อังกฤษ: police dog) เป็นสุนัขที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือตำรวจและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ หน้าที่ของพวกมัน ได้แก่ ค้นหายาเสพติดและวัตถุระเบิด, ค้นหาผู้สูญหาย, ค้นหาหลักฐานที่เกิดเหตุ และโจมตีผู้คนที่ตกเป็นเป้าหมายของตำรวจ โดยสุนัขตำรวจต้องจำคำพูดและท่าทางมือหลาย ๆ อย่าง[1] สายพันธุ์ที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ เยอรมันเชเพิร์ด, เบลเยียมมาลีนอยส์, บลัดฮาวด์, ดัตช์เชเพิร์ด และสายพันธุ์ริทรีฟเวอร์[2] เมื่อไม่นานมานี้ เบลเยียมมาลีนอยส์ได้กลายเป็นสุนัขทางเลือกสำหรับงานตำรวจและทหารเนื่องจากแรงขับและการมุ่งเน้นที่แรงกล้า มาลีนอยส์มีขนาดเล็กและคล่องตัวกว่าสุนัขเยอรมันเชเพิร์ด รวมถึงมีปัญหาด้านสุขภาพน้อยกว่า[3] อย่างไรก็ตาม สุนัขเยอรมันเชเพิร์ดสายการทำงานที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีก็ประสบความสำเร็จและแข็งแกร่งเช่นเดียวกับมาลีนอยส์[4]

สุนัขตำรวจเบลเยียมมาลีนอยส์ระหว่างการสาธิตในประเทศอังกฤษ
การฝึกสุนัขสารวัตรทหาร
สุนัขตำรวจเอฟบีไอดัตช์เชเพิร์ด

ในหลายประเทศ การทำร้ายหรือฆ่าสุนัขตำรวจโดยเจตนาถือเป็นความผิดทางอาญา[5][6]

ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ หน่วยสุนัขตำรวจมักเรียกว่าเค-ไนน์ (K-9) หรือเคไนน์ (K9) ซึ่งเป็นการเล่นคำ[7][8] ที่ใช้แทนคำว่าเคไน (canine)

ประวัติ แก้

ประวัติตอนต้น แก้

สุนัขถูกนำมาใช้ในการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่ยุคกลาง จากนั้นทรัพย์สมบัติและเงินทองก็ได้รับการตัดทอนในหมู่บ้านเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาบลัดฮาวด์ของตำรวจตำบลที่ใช้ในการล่าคนนอกกฎหมาย ซึ่งในประเทศฝรั่งเศส ได้มีการใช้สุนัขในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแซ็ง-มาโล[โปรดขยายความ] ส่วนบลัดฮาวด์ที่ใช้ในประเทศสกอตแลนด์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Slough dogs" – ซึ่งคำว่า "Sleuth" (ที่หมายถึงนักสืบ) ได้มาจากสิ่งนี้[9] โดยระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 20 สุนัขตำรวจบนบริติชไอลส์และทวีปยุโรปถูกใช้เพื่อความสามารถในการติดตามเป็นหลัก[10]

การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้สาธารณชนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับความไม่เคารพกฎหมายที่เพิ่มขึ้น[10] ซึ่งในลอนดอน หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างโบว์สตรีตรันเนอส์ ได้พยายามที่จะควบคุมอาชญากรรมด้วยตัวพวกเขาเอง และด้วยเหตุนี้ สมาคมเอกชนจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยต่อต้านอาชญากรรม[11] ยามกลางคืนได้รับการว่าจ้างให้เฝ้าสถานที่ รวมถึงได้รับอาวุธปืนและสุนัขเพื่อป้องกันตนเองจากอาชญากร[ต้องการอ้างอิง]

ยุคสมัยใหม่ แก้

 
บรรดาบลัดฮาวด์ที่ใช้โดยเซอร์ ชาลส์ วอร์เรน เพื่อพยายามติดตามแจ็กเดอะริปเปอร์ ผู้เป็นฆาตกรต่อเนื่องในคริสต์ทศวรรษ 1880
 
เยอรมันเชเพิร์ดที่ใช้งานโดยชุทซ์โพลีทไซและผู้ช่วยเอ็สอาระหว่างการเลือกตั้งสหพันธรัฐเยอรมัน (มีนาคม ค.ศ. 1933) ไม่นานหลังจากการยึดอำนาจของนาซี

หนึ่งในความพยายามแรก ๆ ที่จะใช้สุนัขในการตรวจตราคือใน ค.ศ. 1889 โดยผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแห่งลอนดอน เซอร์ ชาลส์ วอร์เรน ซึ่งความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าของวอร์เรนในการระบุตัวและจับกุมฆาตกรต่อเนื่องอย่างแจ็กเดอะริปเปอร์ได้ทำให้เขาได้รับคำตำหนิมากมายจากสื่อมวลชน รวมถึงการถูกประณามว่าไม่ใช้บลัดฮาวด์เพื่อติดตามฆาตกร ในไม่ช้าเขาก็มีบลัดฮาวด์สองตัวที่ได้รับการฝึกเพื่อทดสอบการติดตามอย่างเรียบ ๆ จากที่เกิดเหตุอาชญากรรมของฆาตกรอีกคน ซึ่งผลลัพธ์ไม่น่าพอใจนัก โดยสุนัขล่าเนื้อตัวหนึ่งกัดผู้บัญชาการ และสุนัขทั้งสองก็วิ่งหนีไปในเวลาต่อมา โดยต้องให้ตำรวจนายหนึ่งค้นหาพวกมัน[12]

ในยุโรปภาคพื้นทวีปมีการใช้สุนัขเป็นจำนวนมากเป็นครั้งแรก ตำรวจในปารีสเริ่มใช้สุนัขเพื่อต่อต้านแก๊งอาชญากรที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืน แต่เป็นกรมตำรวจในเกนต์ ประเทศเบลเยียม ที่ริเริ่มโครงการประจำการสุนัขตำรวจที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1899[13] ในไม่ช้าวิธีดำเนินการเหล่านี้ก็แพร่กระจายไปยังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และประเทศเยอรมนี ในช่วงหลังการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในสาขานี้โดยเกิดขึ้นจากการทดลองในการผสมพันธุ์และการฝึกสุนัข ตำรวจเยอรมันเลือกสุนัขพันธุ์เยอรมันเชเพิร์ดเป็นสายพันธุ์ในอุดมคติสำหรับงานตำรวจ และเปิดโรงเรียนฝึกสุนัขแห่งแรกใน ค.ศ. 1920 ที่กรีนไฮเดอ[14] ในปีต่อ ๆ มา มีสุนัขพันธุ์เบลเยียมมาลีนอยส์จำนวนมากเข้ามาอยู่ในหน่วยนี้ สุนัขเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนอย่างเป็นระบบเพื่อให้เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ รวมถึงตามตัวและโจมตีเหล่าอาชญากร

ในอังกฤษ ตำรวจรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหนึ่งในกลุ่มแรก ๆ ที่ใช้สุนัขตำรวจใน ค.ศ. 1908 เพื่อหยุดยั้งการโจรกรรมจากท่าเรือในฮัล กระทั่งภายใน ค.ศ. 1910 กองกำลังตำรวจรถไฟได้ทดลองสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น เบลเยียมมาลีนอยส์, แลบราดอร์ริทรีฟเวอร์ และเยอรมันเชเพิร์ด[15]

การฝึก แก้

 
เบลเยียมมาลีนอยส์ขณะรับการฝึกให้โจมตี

สุนัขที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายนิยมใช้ ได้แก่ แอร์รีเดลเทร์เรียร์, อากิตะ, ครุเนินดาล, แตร์ฟือเริน, สุนัขมาลีนอยส์, เบอร์นีสเมาน์เทนด็อก, บลัดฮาวด์, บอร์เดอร์คอลลี, บ็อกเซอร์, บูวีเยเดฟล็องดร์, บรีอาร์ด, เคนคอร์โซ, บุลล์แมสติฟฟ์, โครเอเชียนชีปด็อก, โดเบอร์มันพินเชอร์, เยอรมันเชเพิร์ด, เยอรมันพอยน์เตอร์ขนสั้น, โกลเดินริทรีฟเวอร์, แลบราดอร์ริทรีฟเวอร์, ร็อตไวเลอร์, อิงกลิชสปริงเงอร์สแปเนียล และโดโกอาร์เฆนติโน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "K9 Unit: Duties and Responsibilities". New York State Department of Environmental Conservation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-14. Note:this webpage no longer exists
  2. Sen, Adrija (5 March 2019). "This Rescued Street Pup Is Now A Part Of The City's Elite Canine Squad" (ภาษาอังกฤษ). Times Internet. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019.
  3. Orlean, Susan. "Opinion | One Dog That Has Had Its Day" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-13.
  4. "FCI IGP World Championship 2019 Results".
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ slate
  6. "Government unleashes police dog protection laws". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 2018-02-25.
  7. "Why does the police use "K-9 Unit" instead of "dog"?". English Language & Usage StackExchange.
  8. "K-9 History: War Dogs In The U. S. Military".
  9. "Online Etymology Dictionary". etymonline.com.
  10. 10.0 10.1 Peña, Melvin (July 1, 2014). "Police Dogs: Just the Facts". Dogster. สืบค้นเมื่อ May 26, 2022.
  11. Beattie, J. M. (2012). The First English Detectives. The Bow Street Runners and the Policing of London, 1750–1840. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-969516-4.
  12. "Casebook:Jack The Ripper". Atchison Daily Globe. 17 October 1888.
  13. "The Origins of Police K-9". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2012.
  14. "History of the Police Dog". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2012. สืบค้นเมื่อ 17 December 2012.
  15. "The Dog Section". British Transport Police.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้