สุณิสา ทิวากรดำรง
ร้อยโทหญิง สุณิสา เลิศภควัต หรือ สุณิสา ทิวากรดำรง (ชื่อเล่น เจิ๊ยบ) เป็นอดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย[1] อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตทหารประจำศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก อดีตนักจัดรายการวิทยุและผู้สื่อข่าวสายทหาร[2]
สุณิสา ทิวากรดำรง | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด |
ถัดไป | พ.อ.(พ) สรรเสริญ แก้วกำเนิด |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2520 เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2553–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้สุณิสา เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2520 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2541 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผ่านการฝึกอบรมจากสำนักข่าวเอพีทีเอ็น (ประเทศไทย) ได้รับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นฝึกงานกับสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของญี่ปุ่น 3 เดือน
การทำงาน
แก้สุณิสา เริ่มรับราชการเป็นนายทหารแปลข่าวต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2543 สังกัดกรมสรรพาวุธ ต่อมาปี พ.ศ. 2545 ย้ายมาสังกัดศูนย์วิทยุกองทัพบก จัดรายการวิทยุโดยใช้ชื่อว่า "หมวดเจี๊ยบ" กระทั่งย้ายมาเป็นผู้สื่อข่าวสายทหาร ททบ.5 และผู้ประกาศข่าวพยากรณ์อากาศ
สุณิสา เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการเขียนหนังสือ "ทักษิณ Where are you?" และ "ทักษิณ Are you OK?" กระทั่งในปี พ.ศ. 2550 เธอได้ลาออกจากราชการ และเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 30 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับอรอนงค์ คล้ายนก จากพรรคประชาธิปัตย์
สุณิสา เลิศภควัต ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แทนนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เมื่อ วันที่ 12 มี.ค. ปี พ.ศ. 2556[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 113[4]
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกฟ้องร้องในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อหา ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ ป.อาญา ม.116 ข้อหา ยุยงปลุกปั่นฯ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[7]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เซ็นตั้ง “ฟิล์ม รัฐภูมิ + ดาวสภา” นั่งแท่นทีมโฆษกพรรคฯ
- ↑ "สุณิสา เลิศภควัต" รองโฆษกหญิงรบ.หญิง
- ↑ "สุณิสา เลิศภควัต นั่งรองโฆษกรัฐบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ไม่กลัว! 'หมวดเจี๊ยบ' ไล่ส่ง 'บิ๊กตู่' ทนฟังคำวิจารณ์ไม่ได้ ให้ออกไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.