สำรอง

สปีชีส์ของพืช
สำรอง
ต้นสำรองในมาเลเซีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
สกุล: Scaphium
สปีชีส์: S.  macropodum
ชื่อทวินาม
Scaphium macropodum
(Miq.) Buem.

สำรอง (อังกฤษ: Malva nut; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scaphium macropodium Beaum)หรือ พุงทะลาย หมากจอง เป็นพืชที่อยู่ใน วงศ์ Sterculiaceae หรือ Malvaceae ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมในเขตจังหวัดจันทบุรีและตราด[1] และพบได้ในบางจังหวัด เช่น ระยอง กาญจนบุรี ยะลา นราธิวาสและอุบลราชธานี นอกจากในไทยแล้วยังพบได้ใน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ เวียดนาม

สำรองออกดอกติดผลทุกปีหรือเว้น 1-3 ปี โดยออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน แก่แล้วจะมีแห้ง ผิวเหี่ยวย่นสีน้ำตาล กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-2.0 เซนติเมตรเมื่อนำผลสำรองมาแช่น้ำ เนื้อบางๆ ที่หุ้มเมล็ด จะดูดน้ำ พองตัวออก มีลักษณะเป็นแผ่นวุ้น เมื่อแยกแผ่นวุ้นออกมา สามารถนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น ยำ ลาบ น้ำพริก แกงจืด สำรองลอยแก้ว น้ำสำรองและสำรองผง โดยแผ่นวุ้นจากสำรองนี้มีสรรพคุณแก้อาการร้อนในและกระหายน้ำ[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 วรัญญา โนนม่วง ชาติชาย ไชยช่วย ทองจวน วิพัฒน์เจริญลาภ และ นฤมล มงคลธนวัฒน์. 2552. การยืดอายุการเก็บรักษาผลสำรองโดยการอบแห้ง[ลิงก์เสีย]. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2552 หน้า 24 – 28