สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานอิสระในการดำเนิน งานจัดการกองทุน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 15 มีนาคม 2546 เป็นต้นไป (มีทุนดำเนินการขั้นต้น 3,000 ล้านบาท) [1]

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
The Agricultural Research Development Agency (Public Organization)
เครื่องหมายราชการ
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง15 มีนาคม พ.ศ. 2546; 21 ปีก่อน (2546-03-15)
ประเภทองค์การมหาชน
สำนักงานใหญ่เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • วิชาญ อิงศรีสว่าง, ผู้อำนวยการ
  • ศิริกร วิวรวงษ์, รองผู้อำนวยการ
  • กุลวรา โชติพันธุ์โสถณ, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสำนักงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงาน

จากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลให้รัฐบาลมีมาตรการคุมเข้มในเรื่องการใช้งบประมาณ ทำให้โครงการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว และที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่องไม่สามารถดำเนินการต่อได้ รัฐบาลจึงเห็นชอบให้มีการจัดหาเงินกู้จากต่างประเทศมาดำเนินการต่อ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขผูกพัน (Policy Matrix) โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร[2] ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขันเพื่อการส่งออก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542

ประวัติ

แก้

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานอิสระในการดำเนินงานจัดการกองทุน ตาม พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2546 (มีทุนดำเนินการขั้นต้น 3,000 ล้านบาท)[3] จากกองทุนพัฒนางานวิจัยการเกษตรและบุคลากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสำนักงานฯ 6 ประการ คือ

  1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยการเกษตร
  2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร
  3. จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศในด้านการเกษตร
  4. ร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นของรัฐและเอกชนในการผลิตและพัฒนางานวิจัยและนักวิจัยการเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  5. เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลและสารสนเทศในด้านการเกษตรที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนา ตลอดจนการเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  6. ส่งเสริมให้เกิดกิจการทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดพิมพ์เอกสาร การจัดทำสื่อโสตทัศน์ การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดนิทรรศการ หรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ในด้านการเกษตร

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.arda.or.th/ ประวัติสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
  2. โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (ASPL)[ลิงก์เสีย]
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้