สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2484 - ปัจจุบัน) เป็นนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (NTS) และบริษัท นครไทยสตริปมิล จำกัด (NSM) [1] ต่อมา ได้ก่อตั้ง บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2531 เน้นไปที่การก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม[2] และเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย [3]

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
ไฟล์:สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2484 (82 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา

ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ธุรกิจของนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ต้องแบกรับภาระหนี้กว่าแสนล้านบาท [4] สวัสดิ์ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" และดำเนินการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้

ปัจจุบัน บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีล ได้ร่วมทุนกับบริษัทเหล็กในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย และตั้งบริษัทใหม่ชื่อ มิลเลนเนียม สตีล และได้ขายหุ้นให้กับทาทา สตีลจากประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2549 ส่วนบริษัท นครไทยสตริปมิล ตกเป็นของบริษัท จี สตีล ของนายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล

งานการเมือง แก้

สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7 และร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 ซึ่งพรรคชาติไทยได้รับเลือกตั้งจำนวน 6 ที่นั่ง โดยเขาได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกที่ลาออก ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546
  2. "บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  3. "นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  4. สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง : ที่เหลือวันนี้คือความภูมิใจ เก็บถาวร 2008-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจ
  5. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑