สรวิชญ์ สุบุญ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
พันตรี นายแพทย์ สรวิชญ์ สุบุญ (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2526) ชื่อเล่น ก้อง เป็นแพทย์ทหาร นักแสดง พิธีกรชาวไทย สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
สรวิชญ์ สุบุญ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | สุริยา สุบุญ |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2526 จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | ณภัทร - ธาราหิมาลัย (2553) ไอ้วรรณ - ดาวเรือง (2556) องอาจ ชาตินักรบ - คมแฝก (2561) ภัสดา ภัทรราชย์ / ภัทรวีรกิต (นายยิ้ม) - นายยิ้มมะยมหวาน (2562) |
สังกัด | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2551–ปัจจุบัน) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพไทย |
ชั้นยศ | พันตรี |
ประวัติและการศึกษา
เป็นบุตรของพลตรีวิเชียร และนางกาญจนา สุบุญ ฝั่งมารดามีเชื้อสายไทพวน ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.90 และจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ได้คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 เกียรตินิยมอันดับ 1 หลังจากสำเร็จการศึกษาได้เป็นแพทย์ใช้ทุนอยู่ที่โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี เป็นระยะเวลา 1 ปีแล้วย้ายเข้ามาประจำอยู่ที่ บ.ก. สูงสุด ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯมีอาชีพเป็นแพทย์ทหารเวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner) สังกัดกองตรวจโรค หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ปัจจุบันย้ายมาสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม[1]
สรวิชญ์ก้าวสู่วงการบันเทิงด้วยการประกวด เมลสตาร์ชาเลนจ์ หลังจากนั้น เซ็นสัญญาเข้าสังกัด สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และเริ่มเป็นพิธีกรรายการบันเทิงของสถานีฯ ต่อมามีผลงานละครเรื่องแรกคือ พริกไทยกับใบข้าว แสดงคู่กับ พลอย-ชิดจันทร์ รุจิพรรณ[2] เคยแสดงภาพยนตร์วีซีดีแนวสยองขวัญ ของค่ายไรท์บิยอนด์ เรื่อง "ผมอาถรรพ์" ซึ่งกำกับโดย บัลลพ ล้อมน้อย นอกจากนี้ ยังเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับตัวเอง และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา ลงในนิตยสาร เมนเฮลธ์ เป็นประจำด้วย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงาน
ละครโทรทัศน์
- ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2551 | พริกไทยกับใบข้าว | ศักดินา |
ดาวจรัสฟ้า | ชล อภิชัย | |
2552 | จำเลยกามเทพ | คฑา |
2553 | วิวาห์ว้าวุ่น | ธราดล (ดล) |
วนิดา | ร.อ.ประจวบ มหศักดิ์ (รับเชิญ) | |
ธาราหิมาลัย | นายแพทย์ณภัทร | |
ปฐพีเล่ห์รัก | ||
วายุภัคมนตรา | ||
2554 | ชื่นชีวานาวี | หมอเอกชัย |
เจ้าสาวผมไม่ใช่ผี | ทศ | |
2555 | รักประกาศิต | นิพนธ์ |
ก้นครัวตัวแสบ | ปาณัสม์ (ปาน) | |
2556 | พรพรหมอลเวง | นาวิน |
ดาวเรือง | สุวรรณ ขยันสอย (ไอ้วรรณ) | |
2557 | ลูกสาวพ่อมด | บูรพา (ปัจจุบัน) / มิตซูรุ (อดีต) |
2558 | หมอผีไซเบอร์ | คาถา / สาธร |
2559 | บุษบาหน้าตลาด | คฑาหัสต์ วัฒนะภักดี (คฑา) |
2561 | คมแฝก | องอาจ ชาตินักรบ / ปลัดองอาจ อมรเดช |
My Hero วีรบุรุษสุดที่รัก ลมไพรผูกรัก |
ดร.ชาติ กิจสวัสดิ์ | |
2562 | รักจังเอย | ครูสันติ |
สัตยาธิษฐาน | สหัสคุณ สมานนท์ (เอ็ม) | |
นายยิ้มมะยมหวาน | ภัสดา ภัทรราชย์ / ภัทรวีรกิต (นายยิ้ม) | |
2564 | ปาฏิหาริย์รักแม่โพสพ | ความหวัง |
2565 | มัดหัวใจยัยซุปตาร์ | (รับเชิญ) |
2566 | เพราะรัก | ภคพล |
ซิทคอม
พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2552–ปัจจุบัน | สัมผัสพิศวง | หมอทฤษฎี (หมอดี) |
2552–2554 | เทวดาสาธุ | เทวดาสัพเทวานุโมทนา ทันตุ |
2552 | ยมโลกโซไซตี้ | หมอโชค |
แสนแสบ นักสืบผีสิง | หมวดชิดชาย | |
2555 | น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ | พี่หมอก้อง (รับเชิญ) |
ภาพยนตร์
- ปี 2552 ผมอาถรรพ์
- ปี 2555 โจรห้าร้อย สาวน้อยพันล้าน (หนังดังสุดสัปดาห์)
- ปี 2555 สายสืบบอยแบนด์ (หนังดังสุดสัปดาห์)
- ปี 2556 จิตสัมผัส 3D (รับเชิญ)
- ปี 2557 อยากอยู่อย่างใหญ่ รับบท ใหญ่
ผลงานเพลง
พ.ศ. | เพลง | ร้องร่วมกับ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2557 | อึดอัดใจ | ร้องเดี่ยว | เพลงประกอบละคร ลูกสาวพ่อมด |
2558 | ร่ายมนต์ Love | ร้องเดี่ยว | เพลงประกอบละคร หมอผีไซเบอร์ |
2562 | ขวัญใจบ้านนา | ฉันทวิชช์ ธนะเสวี ณฐพร เตมีรักษ์ พริมา พันธุ์เจริญ อรรณพ ทองบริสุทธิ์ |
เพลงประกอบละคร รักจังเอย |
มิวสิกวิดีโอ
- เพลง "ความเจ็บยังคงหายใจ" ศิลปิน ปองศักดิ์ รัตนพงษ์
รางวัลที่ได้รับ
กระแสวิพากษ์วิจารณ์
นับตั้งแต่ช่วงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 หลังสรวิชญ์แสดงความคิดเห็นบนอินสตาแกรมส่วนบุคคลของราณี แคมเปนในเชิงหยอกล้อว่าเธอเป็น ควาย จึงทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อการแสดงความคิดเห็นของสรวิชญ์รวมถึงในอดีตที่สรวิชญ์เคยทำต่อต่อดารานักแสดงคนอื่น ๆ ในอินสตาแกรมและในการปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมและไม่ให้เกียรติบุคคล[5] เช่น กรณีแสดงความเห็นในทางเหยียดสีผิว (racism) ในโพสต์นิยามใหม่อุดมคติความสวยงามสตรี (feminine beauty ideal) และเหมารวมของนักแสดงข้ามเพศรัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น, การยกรองเท้าขึ้นให้ฉันทวิชช์ ธนะเสวีจับแทนมือในรายการโทรทัศน์หนึ่ง และการล้อเลียนนักแสดงผู้หญิงว่าเป็น กะหรี่ เป็นต้น กระแสวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นที่พูดถึงมากในทวิตเตอร์ที่ซึ่งเกิดแฮชแท็ก #หมอก้อง ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[7]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[8]
อ้างอิง
- ↑ "เปิดใจ...หมอก้อง 'รท.นพ.สรวิชญ์ สุบุญ' หมอดารากับชีวิตที่ขอกำหนดเอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-28. สืบค้นเมื่อ 2010-11-08.
- ↑ "การเข้าสู่วงการบันเทิง สรวิชญ์ สุบุญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-18. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- ↑ "คุณกมลภัทร แสวงกิจ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ เป็นผู้มอบเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมช่อดอกไม้ ให้กับ คุณสุริยา สุบุญ ผู้ชนะการประกวด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2011-04-29.
- ↑ "ประกาศผล Tv3 Fanclub Award 09 และ ผู้โชคดีที่ได้รับปฏิทิน ปี 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-29.
- ↑ ดราม่าเดือด #หมอก้อง ติดเทรนด์ทวิต ชาวเน็ตขุดไม่ได้มีแค่ เบลล่า ที่โดน
- ↑ กระแสวิพากษ์วิจารณ์ #หมอก้อง ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๙, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๐, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗
แหล่งข้อมูลอื่น