สยามโมซอรัส
ไดโนเสาร์ชนิดหนึ่ง
สยามโมซอรัส สุธีธรนี[1] (อังกฤษ: Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ "สยามโมซอรัส สุธีธรนี"[1]
สยามโมซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนต้น (บาร์เรมเมียน-อัปเทียน), ~129–113Ma | |
---|---|
ภาพประกอบของตัวอย่างต้นแบบแรกฟันพร้อมเพนนีอังกฤษสำหรับอันตราส่วน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | ไดโนเสาร์ Dinosauria |
เคลด: | ซอริสเกีย Saurischia |
เคลด: | เทโรพอด Theropoda |
วงศ์: | †Spinosauridae Spinosauridae |
วงศ์ย่อย: | †Spinosaurinae Spinosaurinae Buffetaut & Ingavat, 1986 |
สกุล: | †สยามโมซอรัส Siamosaurus Buffetaut & Ingavat, 1986 |
สปีชีส์: | †Siamosaurus suteethorni |
ชื่อทวินาม | |
†Siamosaurus suteethorni Buffetaut & Ingavat, 1986 | |
ชื่อพ้อง | |
|
อ้างอิง
แก้- Buffetaut, E., and Ingavat, R. (1986) Unusual theropod teeth from the Upper Jurassic of Phu Wiang, northeastern Thailand. Revue de Paleobiologie 5(2): 217-220.
- วิฆเนศ ทรงธรรม และ เบญจา เสกธีระ (2549) ไดโนเสาร์ภูเวียง เจ้าฟ้าสิรินธร กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 100 หน้า
- ↑ 1.0 1.1 "ลักษณะทางกายวิภาคของไดโนเสาร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-03. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.