อุทยานแห่งชาติภูเวียง
อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
อุทยานแห่งชาติภูเวียง | |
---|---|
ที่ตั้ง | จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
พื้นที่ | 203,125 ไร่ (325 ตร.กม.)[1] |
จัดตั้ง | 24 มิถุนายน 2508 |
ผู้เยี่ยมชม | 33,925[2] (2549) |
หน่วยราชการ | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
ลักษณะภูมิประเทศแก้ไข
อุทยานแห่งชาติภูเวียง มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาล้อมรอบเป็นวงอยู่ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่ คล้ายแอ่งกระทะซึ่งเป็นที่ราบและลอนลาด ส่วนพื้นที่โดยรอบแอ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขาซึ่งมีมุมเทเข้าหาใจกลางแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีความลาดชันปานกลางถึงลาดชันสูง เทือกเขาชั้นนอกสุดมียอดเขาสูงสุด 844 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ และเทือกเขาชั้นในมียอดเขาสูงสุด 470 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศเหนือของพื้นที่เทือกเขาชั้นในนี่เองที่เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนระดับต่ำสุดของเชิงเขาอยู่ระดับ 210 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมในพื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำพอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 ได้มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี
ลักษณะภูมิอากาศแก้ไข
อุทยานแห่งชาติภูเวียงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จึงแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 36.5 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 1,199 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม 16.6 องศาเซลเซียส
แหล่งท่องเที่ยวแก้ไข
ด้านธรรมชาติแก้ไข
- ทุ่งกูกดิ
- ทุ่งใหญ่เสาอาราม
- น้ำตกซำจำปา
- น้ำตกตาดกลาง
- น้ำตกตาดจำปา
- น้ำตกตาดฟ้า
- น้ำตกตาดฮางริน
- น้ำตกทับพญาเสือ
- น้ำตกวังสักสิ่ว
- โปร่งยุบ
- สุสานหอย
- หินลาดกกกุ่ม
- อ่างเก็บน้ำหัวภูชน
ด้านประวัติศาสตร์แก้ไข
- ถ้ำคนนอน
- ถ้ำฝ่ามือแดง
- ถ้ำหินลาดหัวเมย
- พระพุทธไสยาสน์
- ร่องน้ำจั่น
- รอยพิมพ์เท้าไดโนเสาร์ ที่หินลาดป่าชาด
- ซากไดโนเสาร์ ที่สามารถเยี่ยมชมได้มี 4 หลุม ได้แก่ (ดูเพิ่มที่บทความ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง และ แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง)
- หลุมขุดค้นที่ 1 ภูประตูตีหมา
- หลุมขุดค้นที่ 2 ถ้ำเจีย
- หลุมขุดค้นที่ 3 ห้วยประตูตีหมา
- หลุมขุดค้นที่ 9 หินลาดยาว
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 48
- ↑ สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ