สนธิสัญญาลอนดอน (1915)

กติกาสัญญาลอนดอน (อังกฤษ: London Pact) หรือ สนธิสัญญาลอนดอน (อังกฤษ: Treaty of London) ใน ค.ศ. 1915 เป็นสนธิสัญญาลับระหว่างอิตาลีกับฝ่ายไตรภาคี ลงนามในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1915 โดย ราชอาณาจักรอิตาลี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและรัสเซีย[1]

สนธิสัญญาลอนดอน
ข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส, รัสเซีย, บริเตนใหญ่ และอิตาลี ลงนามที่ลอนดอนในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1915
ประเภทข้อตกลงพหุภาคี
บริบทการนำอิตาลีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
วันลงนาม26 เมษายน ค.ศ. 1915 (1915-04-26)
ที่ลงนามลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
ผู้เจรจา
ผู้ลงนาม
ภาคี

ตามข้อความในสนธิสัญญา อิตาลีจะออกจากฝ่ายไตรพันธมิตรแล้วเข้าร่วมกับฝ่ายไตรภาคีแทน ซึ่งระบุไว้แล้วในความตกลงลับที่ลงนามในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 4-5 กันยายน ค.ศ. 1914 ยิ่งไปกว่านั้น อิตาลีจะต้องประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีภายในหนึ่งเดือน (อิตาลีไม่สามารถประกาศสงครามกับเยอรมนีได้ทันเวลา โดยประกาศสงครามใน ค.ศ. 1916) อิตาลียังจะได้รับดินแดนเพิ่มเติมเมื่อสงครามยุติ

ที่การประชุมสันติภาพปารีส ผู้แทนอิตาลียืนยันว่าพวกเขาจะเจรจาเฉพาะกับพันธมิตรยามสงคราม เซอร์เบีย และ มอนเตเนโกร เท่านั้น ไม่ใช่กับศัตรูที่พ่ายแพ้ รวมถึงคณะผู้แทนของราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอตและสโลวีนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาโกรธมากที่สมาชิกสามคนของคณะผู้แทนเป็นผู้แทนของอดีตออสเตรีย-ฮังการี และหนึ่งคนที่เคยรับราชการเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีสงครามของออสเตรีย

สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะตามสนธิสัญญาแวร์ซาย เพราะประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ผู้สนับสนุนการอ้างของสลาฟและไม่ยอมรับสนธิสัญญาดังกล่าว ปฏิเสธคำร้องขอดินแดนดัลเมเชียของอิตาลี[2] อิตาลียังได้ปฏิเสธความตกลงที่ผ่านมาของสนธิสัญญาในการขยายจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลีด้วยอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกาของเยอรมนี และอ้างสิทธิ์เหนือแอลเบเนียแทน[3]

อ้างอิง แก้

  1. Ray Stannard Baker Woodrow Wilson and world settlement, Volume 1 Publisher: Double Day Page and Company 1923 Harvard College Library pages 52–55 [1]
  2. American Society of International Law Volume 15, Oxford University Press 1921 Library of the University of Michigan, page 253 [2]
  3. http://www.firstworldwar.com/source/london1915.htm

ข้อมูล แก้

อ่านเพิ่ม แก้