สถานีแยกลำสาลี (อังกฤษ: Yaek Lam Sali station; รหัส: YL09) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีเหลือง โดยยกระดับเหนือถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร[2] เป็นจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และสายสีน้ำตาลในอนาคต[3]

แยกลำสาลี
YL09

Yaek Lam Sali
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′42″N 100°38′44″E / 13.76167°N 100.64556°E / 13.76167; 100.64556
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีYL09
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566; 9 เดือนก่อน (2566-07-03)[1]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
บางกะปิ
มุ่งหน้า ลาดพร้าว
สายสีเหลือง ศรีกรีฑา
มุ่งหน้า สำโรง
ที่ตั้ง
แผนที่
ชานชาลาสถานี

ที่ตั้ง แก้

สถานีแยกลำสาลีตั้งอยู่เหนือถนนศรีนครินทร์ บริเวณทิศใต้ของทางแยกลำสาลี ในพื้นที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

รายละเอียด แก้

สีสัญลักษณ์ แก้

ใช้สีเหลืองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รูปแบบ แก้

เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

ทางเข้า–ออก แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่[4]

  • 1 แยกลำสาลี,   แยกลำสาลี (อาคารเชื่อม, ลิฟต์)
  • 2 ซอยรามคำแหง 56, ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนศรีนครินทร์ (บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยรามคำแหง 54 (บันไดเลื่อน)
  • 4   แยกลำสาลี (อาคารเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อนและลิฟต์)

แผนผัง แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ศรีกรีฑา)
ชานชาลา 2 สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (บางกะปิ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง,   แยกลำสาลี

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นในอนาคต แก้

ในอนาคตบริเวณแยกลำสาลีจะถือเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของรถไฟฟ้า 3 สาย โดยนอกจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีส้มแล้ว ในอนาคตจะมีสายสีน้ำตาลซึ่งใช้สถานีแยกลำสาลีเป็นสถานีปลายทางอีกหนึ่งสาย ในปัจจุบันโครงการสายสีน้ำตาลอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ เนื่องจากต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบพร้อมกัน รวมถึงการเปลี่ยนสถานีแยกลำสาลีของสายสีเหลืองให้กลายเป็นสถานีร่วมอีกด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  2. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง". MRTA Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16.
  3. "MRT Orange Line construction update May 2023". MRTA PR. 12 May 2023.
  4. "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.