ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 เป็นศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นศูนย์ประชุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่
Chiang Mai International Exhibition and Convention Centre
ศูนย์ประชุมฯ ปี 2555
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเทศประเทศไทย
พิกัด18°49′33.6″N 98°57′46.8″E / 18.826000°N 98.963000°E / 18.826000; 98.963000
เริ่มสร้างพ.ศ. 2552
แล้วเสร็จพ.ศ. 2555
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่ในอาคาร 60,000 m2 (650,000 sq ft)[1]
เว็บไซต์
www.cmecc-mice.com

ศูนย์ประชุมฯตั้งอยู่บนที่ดิน 326 ไร่ ณ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ บริเวณทิศใต้ของสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ก่อสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 3,024 ล้านบาท[2] และเปิดใช้เมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ในระยะเริ่มแรกอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อมาได้โอนมาอยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)[3] และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด[4] ตามลำดับ

ข้อมูลทั่วไป

แก้

พื้นที่ส่วนหลักภายในศูนย์ประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น

  • โถงต้อนรับ
  • นิทรรศการ
    • โถงนิทรรศการ (11,340 ม2)
    • ลานนิทรรศการกลางแจ้ง (7,443 ม2)
  • ห้องประชุมย่อย
    • ความจุ 100, 150, 300 และ 750 ที่นั่ง
  • อาคาร รวงผึ้ง
  • อาคารภัตตาคารและศูนย์อาหาร

การใช้งานที่สำคัญ

แก้

การใช้งานในสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19

แก้

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ มีมติให้จัดตั้ง "โรงพยาบาลสนาม จังหวัดเชียงใหม่" ภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ซึ่งเปิดรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 มีการเพิ่มของผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลในจังหวัดไม่มีห้องความดันลบเพียงพอที่จะรองรับ เบื้องต้นมีเตียงรับผู้ป่วยในโถงแรกจำนวน 252 เตียง และเตรียมขยายเพิ่มเติมอีกหนึ่งห้อง จำนวนประมาณ 500 เตียง โดยพื้นที่ของศูนย์ประชุมสามารถรองรับได้เป็นจำนวน 1,000 เตียง[6]

อ้างอิง

แก้
  1. นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยม ศูนย์ประชุมและการแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ รัฐบาลไทย. 26 ธันวาคม 2555
  2. มติคณะรัฐมนตรี 29 กรกฎาคม 2551 อนุมัติวงเงินงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2,369,746,695.44 บาท และงบประมาณที่ได้รับเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี 15 พฤศจิกายน 2554
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-01-25. เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๕ ก. ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖.
  4. "ยุบพิงคนคร!! มีผล 15 เม.ย. 62 โอนศูนย์ประชุมให้ธนารักษ์ ไนท์ซาฟารีโอนไปสวนสัตว์". เชียงใหม่นิวส์. 2019-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
  5. "ประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นแล้ว". CNX News. 2013-05-20.
  6. "เชียงใหม่ระดมเสริมเตียง รพ.สนาม รับมือผู้ติดโควิด-19 พุ่งสูง". ไทยโพสต์. 2021-04-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้