วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอร่างนโยบาย Consensus

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย
การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

ความย่อของบทสรุปที่บรรลุมีดังนี้

ผ่านร่างโยบายดังกล่าวเป็นนโยบาย

เนื่องจากไม่มีผู้คัดค้านแต่มีผู้เข้าร่วมอภิปรายน้อย จึงผ่านเฉพาะหลักการส่วนที่เป็นหลักยึดถือปฏิบัติทั่วไปแล้วเท่านั้น Horus (พูดคุย) 17:29, 6 เมษายน 2562 (ICT)


ขอเสนอ วิกิพีเดีย:ร่างนโยบาย Consensus เพื่อประมวลหลักการสำหรับการอภิปรายในวิกิพีเดีย โดยเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวเนื่องกับการเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติใหม่และการปรับแก้นโยบายและแนวปฏิบัติเดิม

วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้มีเพื่อ

  1. แก้ไขช่องโหว่ในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการสร้าง Consensus
  2. เป็นหลักสำหรับผู้ใช้ทุกคนรวมทั้งที่ไม่มีประสบการณ์จะได้ตัดสิน Consensus ได้ด้วยตนเอง เช่น Consensus ในหน้าบทความที่มีข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้สองคน
  3. แก้ปัญหาการอภิปรายส่วนกลางที่มีผู้เข้าร่วมอภิปรายไม่เพียงพอ

@B20180, Lerdsuwa, Mda, Sry85, และ พุทธามาตย์: ขอเชิญผู้ดูแลระบบที่ยัง active อยู่ทุกคนร่วมออกความเห็นครับ ในฐานะเป็นผู้ใช้ที่มีประสบการณ์น่าจะ represent ความเห็นของชุมชนได้ในระดับหนึ่งครับ --Horus (พูดคุย) 21:47, 6 มีนาคม 2562 (ICT)

ใจความสำคัญของร่างนโยบาย แก้

ส่วนที่ยึดถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว แก้

บ่อเกิดของ Consensus
  • Consensus by editing หมายถึง การแก้ไขใด ๆ หากไม่มีผู้อื่นมาเปลี่ยนหรือลบออก ถือว่าได้รับ consensus และหากมีการเปลี่ยนหรือลบออกแล้วไม่มีการเปลี่ยนหรือลบออกอีก ถือว่าการแก้ไขใหม่ได้รับ consensus เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
  • พยายามใช้หน้าพูดคุยเพื่ออภิปรายความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างผู้เขียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  • Consensus by editing จะขัดต่อนโยบายหรือแนวปฏิบัติ หรือ consensus ในวงกว้างกว่าไม่ได้
  • Consensus by discussion หมายถึง การใช้หน้าคุยเพื่ออภิปรายให้เกิดข้อสรุปร่วมกัน
  • Consensus by discussion จะขัดหรือแย้งกับนโยบายหรือแนวปฏิบัติวิกิพีเดียข้ออื่นไม่ได้ (เพื่อไม่ให้เกิดการประนีประนอมกันเองระหว่างผู้ใช้)
การสร้าง Consensus
  • ให้ใช้หน้าคุยของบทความอภิปรายการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัญหา หากการอภิปรายนั้นยุติลงแล้วอาจถือว่าได้รับ consensus (สำหรับหน้านั้น ๆ หน้าเดียว)
  • ผู้เขียนอาจใช้หน้า WP:AN เพื่อระงับข้อพิพาทด้านพฤติกรรมระหว่างผู้ใช้ (ไม่ใช่ข้อพิพาทด้านเนื้อหา)
  • คัดค้านอภิปรายนอกวิกิ ห้ามการใช้หุ่นเชิด ห้ามรบกวนกระบวนการสร้าง Consensus ห้าม shopping
การตัดสิน Consensus
  • Local consensus ไม่สามารถ override community consensus
Consensus สามารถเปลี่ยนได้
  • สำหรับยกประเด็นที่ไม่เคยพิจารณามาก่อนหน้านี้
คำวินิจฉัยที่ไม่ขึ้นกับ Consensus
  • เช่น ของมูลนิธิวิกิมีเดียและโครงการอื่นที่วิกิพีเดียภาษาไทยได้รับผลกระทบ

ส่วนที่ตั้งใหม่ตามนโยบายนี้ แก้

บ่อเกิดของ Consensus
  • Consensus เกิดหลังจากรับเอาความกังวลที่เหมาะสมของทุกฝ่ายไปพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไข
การสร้าง Consensus
  • ในการสร้าง Consensus ให้ตัดสินจากคุณภาพของการให้เหตุผล และการอ้างนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
  • ห้ามผู้เขียนเพิกเฉยต่อการอภิปรายเพื่อให้ได้ Consensus
  • ควรลดการใช้ poll เพื่อตัดสิน consensus และทุกครั้งให้สื่อสารโดยชัดเจนว่าเป็น poll (การหยั่งเสียง) ไม่ใช่ vote (การออกเสียงลงคะแนน) ยกเว้นบางรายการ เช่น การเห็นชอบผู้ดูแลระบบ
  • เปิดให้ผู้เขียนมองหาบุคคลภายนอกที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ได้ Consensus
การตัดสิน Consensus
  • ตัวอย่างผลลัพธ์การอภิปรายกรณีไม่มี Consensus

--Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)

หัวข้อที่ต้องอภิปรายต่อไป แก้

ความเห็นต่อหลักการ ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงหลักการ แก้

  • เห็นด้วย เนื่องจากเป็นผู้เสนอ --Horus (พูดคุย) 23:28, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
  • เป็นกลาง ไม่คัดค้านในตัวเนื้อหาของหลักการเนื่องจากหลักการน่าจะเป็นที่ยอมรับโดยปริยายแล้ว แต่เห็นว่าลักษณะภาษาน่าจะสามารถเขียนให้เข้าถึงผู้ใช้และสอดคล้องกับบริบทการใช้งานได้มากกว่า เช่น --210.1.21.126 11:44, 15 มีนาคม 2562 (ICT)
    • "...it is often better to accept a less-than-perfect compromise—with the understanding that the page is gradually improving—than to try to fight to implement a particular preferred version immediately. The quality of articles with combative editors is, as a rule, far lower than that of articles where editors take a longer view." (ในหลายครั้ง การยอมรับข้อสรุปที่อาจไม่ได้เป็นข้อสรุปที่ดีที่สุด โดยพิจารณาต่อไปว่าหน้าดังกล่าวจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมเป็นการดีกว่าการพยายามให้ใช้ตามรุ่นใดรุ่นหนึ่งของหน้าดังกล่าวที่ดีที่สุดโดยทันที เนื่องจากคุณภาพของบทความที่ผู้เขียนมีข้อถกเถียงมักจะด้อยกว่าบทความที่ผู้เขียนพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ในระยะยาวได้)
    • "...and describes exceptions to the principle that all decisions are made by consensus." (และอธิบายข้อยกเว้นในหลักการที่ว่าการตัดสินใจต่าง ๆ ต้องอาศัยความเห็นพ้องต้องกัน)
      •  สำเร็จ ปรับปรุงการใช้ภาษาตามข้อทักท้วง --Horus (พูดคุย) 22:47, 17 มีนาคม 2562 (ICT)

คำแปลคำว่า "Consensus" แก้

  • ขอเสนอ "ฉันทามติ" หรือ "ความเห็นพ้อง" (คำว่า ความเห็นพ้อง มาจากคำว่า ความเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งล้อศัพท์บัญญัติ แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าใช้น้อยกว่าคำว่า "ฉันทามติ") --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย ความเห็นพ้อง --B20180 (คุย) 11:59, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย ใช้ "ความเห็นพ้อง" ตามการอภิปรายครั้งก่อนก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 20:25, 7 มีนาคม 2562 (ICT)

การปิดอภิปรายโดยมี Consensus แก้

  • เสนอว่า (1) ผู้ใช้ใด ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องไม่เป็นคู่กรณีหรือเป็นผู้ดูแลระบบ สามารถปิดการอภิปรายโดยถือว่าผลการอภิปรายนั้นเป็น Consensus ได้หากพิจารณาความกังวลที่เหมาะสมของทุกฝ่ายไปพิจารณาแล้ว แต่ Consensus นั้นจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายหรือแนวปฏิบัติข้ออื่น (2) ผู้ใช้ที่คัดค้านแต่ไม่แสดงข้อประนีประนอมหรือทางแก้เพิ่มเติมอาจไม่ถือว่าผู้ใช้นั้นแสดงความกังวลที่เหมาะสม (จะไปเข้าข่ายการประวิงเวลา [filibuster]) --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
เป็นกลาง --B20180 (คุย) 12:03, 7 มีนาคม 2562 (ICT)

มาตรการสำหรับผู้ที่เพิกเฉยต่อการอภิปรายเพื่อให้ได้ Consensus แก้

  • เสนอว่า หลังจากแจ้งผู้ใช้ที่พิพาทตามสมควรแล้ว ผู้ใช้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพิกเฉยต่อการอภิปรายและยังดำเนินการแก้ไขอันเป็นเหตุให้พิพาทกันอยู่ ผู้ใช้สามารถแจ้งผู้ดูแลระบบให้บล็อกผู้ใช้คนดังกล่าวได้ฐานละเลยการอภิปรายเพื่อสร้าง Consensus ส่วนในกรณีผู้ดูแลระบบที่คู่กรณีละเลยการอภิปรายเพื่อสร้าง Consensus สามารถบล็อกผู้ใช้คู่กรณีได้ --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
    อาจต้องอภิปรายต่อว่าการแจ้งผ่านทาง Ping อย่างเดียวเพียงพอถือว่าแจ้งผู้ใช้คู่กรณีอย่างสมควรแล้วหรือไม่ หรือต้องใช้ช่องทางอื่นเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้อ้างได้ว่าคู่กรณี "ไม่รับรู้" --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
    ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ (Archive 252, Archive 281 ของหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ) เคยมีการอภิปรายว่าผู้ใช้สามารถเลี่ยงการแจ้งเตือนได้โดยปิดระบบแจ้งเตือน แต่การแก้ไขหน้าพูดคุยจะปฏิเสธไม่ได้ว่าได้มีการแจ้งเตือนแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายวิกิพีเดียภาษาอังกฤษใช้กับวิกิพีเดียภาษาไทยไม่ได้ (รวมถึงในทางกลับกันด้วย) จึงต้องมีการอภิปรายใหม่ในวิกิพีเดียภาษาไทยเพื่อสร้างแนวปฏิบัติครับ --58.8.148.211 22:08, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
    ขอบคุณครับ กำลังสงสัยอยู่ว่าเหตุใดบางที Ping จึงถือว่าไม่เพียงพอตามนโยบาย --Horus (พูดคุย) 22:16, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
  •  ความเห็น ที่ผ่านมา บางครั้งผู้ใช้เพิกเฉย เพราะขี้เกียจเถียงหรือเหนื่อยที่จะอธิบายก็มี เช่น เหนื่อยกับดราม่าของผู้ใช้บางราย (เชื่อว่าเพิ่งเจอกันมา) --B20180 (คุย) 12:06, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
    สาระสำคัญของนโยบายส่วนนี้มีว่า ผู้ใช้ที่พิพาทกันสองฝ่ายจะต้องพยายามอภิปรายกันเพื่อให้ได้ Consensus กรณีที่มีผู้ใช้ฝ่ายเดียวพยายาม reach out ไปหาคู่กรณีอย่างสมเหตุสมผลแล้ว (ทั้ง Ping ทั้งส่งสารไปยังหน้าคุยเพื่อเชิญมาร่วมอภิปราย) ควรจะมีมาตรการต่อคู่กรณีที่ไม่ยอมหันหน้าคุยกันเพื่อให้เกิด Consensus ครับ ถ้าเป็นกรณีผู้ใช้ทั่วไป ควรระบุช่องทางให้ผู้ใช้ดังกล่าวสามารถร้องต่อผู้ดูแลระบบไว้เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน จุดประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เขาไปเข้าร่วมสงครามแก้ไขนั้นเอง ส่วนถ้าเป็นผู้ดูแลระบบกรณีที่คู่กรณีกระทำการดังกล่าวก็สามารถบล็อกได้ทันที จะเห็นว่าไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม (รวมทั้งกรณีขี้เกียจเถียงหรือคร้านอธิบาย) เราควรมีมาตรการส่วนนี้ไว้ให้เป็นลำดับกระบวนการชัดเจนครับ แต่รายละเอียดอาจจะถกกันทีหลังได้ เช่น ผู้ดูแลระบบไม่ควรบล็อกคู่กรณีของตน แต่ให้แจ้ง AN ก่อน แต่ถ้าไม่มีการตอบสนองภายใน x ชั่วโมง สามารถบล็อกได้เอง เป็นต้น --Horus (พูดคุย) 14:11, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
โอเคครับ โดยรวมแล้วเห็นด้วย --B20180 (คุย) 14:37, 7 มีนาคม 2562 (ICT)

Venue สำหรับการชักชวนความเห็นภายนอก แก้

  • ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี en:Wikipedia:Third opinion และ en:Wikipedia:Requests for comment สำหรับให้บุคคลภายนอกรับแจ้งประเด็นที่ต้องการความเห็นของบุคคลภายนอก ผมคิดว่าในวิกิพีเดียภาษาไทยควรมีหน้าที่ทำหน้าที่ดังกล่าวไว้ ปกติถ้าต้องการความเห็นวงกว้างในปัจจุบันอาจจะใช้สภากาแฟ เป็นต้น แต่คิดว่าควรมีหน้าสำหรับเป็นระดับขั้นก่อนที่จะมาถึงสภากาแฟ (เพราะเป็นการอภิปรายที่เห็นทั้งโครงการ) แต่ถ้าคิดว่าสภากาแฟอย่างเดียวพอแล้ว หรือถ้าจะให้สอบถามขอความเห็นผู้ใช้ภายนอกเป็นรายบุคคลดีอยู่แล้วจะไม่เสนอให้เพิ่มก็ได้ครับ --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
 ความเห็น สภากาแฟสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทยน่าจะเพียงพอแล้ว เพราะผู้ใช้ที่ร่วมอภิปรายส่วนใหญ่มักมีประสบการณ์และ active กันระดับหนึ่ง จึงเข้าใจปัญหาภายใน ส่วนการขอความเห็นจากบุคคลภายนอก ก็น่าจะเป็นเฉพาะกรณี เช่น การสอบถามความหมายคำศัพท์เฉพาะวิชาชีพจากผู้เชี่ยวชาญสาขานั้น --B20180 (คุย) 12:16, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
ทั้งหมดให้อภิปรายบนวิกิพีเดียครับ ส่วนคำว่า "บุคคลภายนอก" (third party) ในกรณีนี้หมายถึง คนกลางที่คู่กรณีสองฝ่ายให้การยอมรับครับ แนวคิดคือถ้าเป็นผู้ใช้ขาประจำอาจจะใช้วิธีส่งสารถามผู้ใช้อีกคนเป็นการส่วนตัว หรือทั้งผู้ใช้เก่าหรือใหม่อาจจะใช้สภากาแฟได้ แต่ผมอยากให้มี venue สำหรับขอความเห็นในวงแคบ ๆ อย่างเป็นทางการก่อนจะถึงสภากาแฟครับ เพื่อให้ผู้ใช้หน้าใหม่สามารถเรียกใช้ได้ ที่คิดคร่าว ๆ คือ ให้มีผู้ใช้แสดงตนว่าพร้อมออกความเห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น ผู้ใช้ ก สนใจประเด็น ก ข ค แล้วถ้ามีผู้ใช้สองคนพิพาทกันในประเด็นที่ผู้ใช้ ก สนใจก็สามารถแจ้งมาให้ผู้ใช้ ก เข้าไปเป็นคนกลางในข้อพิพาทนั้นครับ ข้อพิพาทระดับนี้ เช่น เรื่องสีในกล่องเดอะเฟซ เมื่อปี 2561 เป็นต้นครับ จะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กเกินกว่าจะขึ้นป้ายประกาศอภิปรายส่วนกลาง --Horus (พูดคุย) 14:15, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
ก็ดีครับ เช่นนั้นน่าจะไม่มีปัญหาอะไร --B20180 (คุย) 14:41, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย สนับสนุนให้มี Requests for comment ตามที่คุณ Horus กล่าวมาและส่วนหนึ่งมาจากที่ผ่านมาบางประเด็นที่ผู้ใช้ตั้งในหน้าคุยของบทความถูกละเลยเพราะไม่มีใครมองเห็นยกเว้นผู้ที่ที่ติดตามหน้าเปลี่ยนแปลงล่าสุดหรือรายการเฝ้าดูซึ่งอาจมองผ่านไปบ้าง สุดท้ายจึงไม่ได้ข้อสรุป แต่ยังไงก็ตามคงต้องหาวิธีการให้คนสนใจหน้า Rfc ด้วยเหมือนกัน ส่วน Third opinion คิดว่าชุมชนยังไม่ใหญ่มากอาจรวมกับ Rfc หรือสภากาแฟไปก่อนได้ครับ --Geonuch (คุย) 20:49, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
ป.ล. กลายเป็นว่าผมลืมไปเองว่ามีส่วน ขอความเห็น ในหน้าศาลาประชาคม --Horus (พูดคุย) 13:47, 9 มีนาคม 2562 (ICT)

การอภิปรายที่มีผลทั้งโครงการ แก้

  • การอภิปรายที่มีผลทั้งโครงการ เช่น นโยบายและแนวปฏิบัติ อินเตอร์เฟซ ตัวกรองการละเมิด เป็นต้น จะต้องเปิดต่อสาธารณชนอย่างน้อย 14 วัน แต่จะปิดอภิปรายหลังจากผู้ร่วมอภิปรายคนสุดท้ายอภิปรายแล้วเมื่อใดก็ได้ เมื่อพิจารณาความกังวลที่เหมาะสมของทุกฝ่ายแล้ว
    • คำว่า เปิดต่อสาธารณชน นี้ ไม่แน่ใจว่าผ่านแม่แบบ:ประกาศ หรือส่วนหัวรายการเฝ้าดู เพียงพอหรือไม่ เพราะช่วงนี้มีผู้ใช้หลายคนมาโวยวายว่าปิดการอภิปรายโดยที่พวกเขาไม่รับรู้ โดยส่วนตัวขอคัดค้านการส่ง message เป็นรายบุคคลเพื่อเรียกมาอภิปราย เพราะดูเหมือนสแปม --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
เป็นกลาง --B20180 (คุย) 12:38, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
 ความเห็น อยากให้มีการใช้ มีเดียวิกิ:Sitenotice ให้เป็นประโยชน์ครับ หรือในวิกิพีเดียภาษาเพื่อนบ้านมีการใช้แม่แบบ AdvancedSiteNotices (ตัวอย่าง: เวียดนาม, มาเลย์, อินโดนีเซีย) เป็นตัววิ่งมีทั้งแนะนำการเขียน เชิญอภิปราย หรือกระทั่งกลุ่ม Social Media ขอฝากไว้ด้วยครับ --Geonuch (คุย) 21:07, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
หมายความว่า ในการอภิปรายส่วนกลางจำเป็นต้องโฆษณาทั้ง (1) ในแม่แบบประกาศ (2) ในส่วนหัวของรายการเฝ้าดู และ (3) ใน SiteNotice จึงจะถือว่าได้แจ้งผู้ใช้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องแล้วหรือเปล่าครับ ส่วนเรื่องการใช้ AdvancedSiteNotices ผมไม่มีความเห็นครับแต่คิดว่าเป็นไอเดียที่ควรเสนอต่อสภากาแฟเป็นประเด็นแยกต่างหากครับ --Horus (พูดคุย) 16:25, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
ผมเห็นว่า (1) กับ (2) มีข้อจำกัดเพราะบางคนไม่สามารถเข้าถึงแม่แบบประกาศเท่าที่เห็นคือมีแค่ในหน้าศาลาประชาคมกับเปลี่ยนแปลงล่าสุดซึ่งบางคนก็ไม่ได้ใช้เช่นเดียวกับรายการเฝ้าดูครับ เลยเสนอให้พิจารณาข้อ (3) ซึ่งผู้ใช้ลงทะเบียนจะมองเห็นได้ทั่วทั้งวิกิพีเดียจึงน่าจะเพียงพอเพราะเหมือนประกาศโดยทั่วกันแล้ว ส่วน AdvancedSiteNotices ไว้พูดกันทีหลังก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 21:08, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
ผมสงสัยว่าการที่ต้องนำหัวข้อทุกหัวข้อขึ้น SiteNotice ทุกครั้งจะ practical หรือเปล่า (หรือคุณมีเกณฑ์ให้บางเรื่องเท่านั้นที่ต้องโฆษณาทางนี้?) ต้องไม่ลืมนะครับว่าแม่แบบนี้ให้ผู้ดูแลระบบแก้ไขได้เท่านั้นและมีแถบให้ปิดอยู่แล้ว --Horus (พูดคุย) 23:10, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
โดยส่วนตัวถ้าเป็นเรื่องมีผลกระทบต่อผู้ใช้จำนวนมากอยากให้เอาลงครับ ต่อไปอาจต้องกำหนดเพิ่มว่าอภิปรายระดับไหนจึงจะนำลง SiteNotice ได้ (ถ้าใช้ AdvancedSiteNotices จะเป็นแม่แบบ ผู้ใช้แก้ได้ไม่ต้องถึงมือผู้ดูแลระบบ) --Geonuch (คุย) 20:02, 10 มีนาคม 2562 (ICT)
@Geonuch: อยากให้ช่วยระบุเกณฑ์เป็นข้อ ๆ มาเลยได้ไหมครับ เพราะตอนนี้อยากให้มีเกณฑ์เป็นชิ้นเป็นอันไปเลย จะได้แก้ปัญหาคน "ไม่เห็นการอภิปราย" (คือจะมาอ้างทีหลังว่าไม่รู้เห็นว่าเขาอภิปรายกันไม่ได้) --Horus (พูดคุย) 10:22, 17 มีนาคม 2562 (ICT)
เท่าที่ผมเห็นว่าทำได้ในตอนนี้โดยนำความเห็นก่อนหน้าของคุณ Horus มา คือ (1) ระบุในแม่แบบประกาศ+ส่วนหัวของรายการเฝ้าดู (ปกติผู้ใช้ประจำจะทราบกันหรือมีคนช่วยเพิ่มให้) (2) ระบุในกระดานประกาศประชาคมหรือ Rfc (ปัจจุบันยังไม่ค่อยใช้กันมากนัก) และอาจมี (3) ระบุใน SiteNotice (อันนี้ผมยังไม่สามารถหาว่าการอภิปรายระดับไหนจะนำมาใส่ในนี้) --Geonuch (คุย) 07:58, 20 มีนาคม 2562 (ICT)
คิดว่าถ้าจะเสนออาจจะเป็นพวกการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้จำกัด/เพิ่มสิทธิของผู้ใช้ การเปลี่ยนแปลงอินเตอร์เฟซ พวกนี้น่าจะสำคัญพอครับ ส่วนประเด็นเรื่องสถานที่อภิปราย คิดว่า RfC กับหน้าศาลาประชาคมอาจจะใช้กับหัวข้ออภิปรายที่ไม่ใช่ "ส่วนกลาง" เสียทีเดียว (เพราะในหน้านั้นก็มีแม่แบบประกาศอยู่แล้ว) เอาเป็นว่าตอนนี้กำลังคุยว่าจะเพิ่ม SiteNotice เป็น required venue สำหรับการอภิปรายส่วนกลางหรือไม่นะครับ --Horus (พูดคุย) 21:34, 20 มีนาคม 2562 (ICT)
ขออภัยที่ ping มาตอนแรกเข้าใจว่าหมายถึงพื้นที่อภิปรายทั้งหมด ส่วนตัวตามที่คิดไว้ตอนแรกคือใช้ SiteNotice ไว้ประกาศการอภิปรายหลาย ๆ ส่วนเพราะเห็นว่าผู้ใช้ในวิกิพีเดียไทยยังมีข้อจำกัดในการรับทราบถึงการมีส่วนร่วมในชุมชนเพราะไม่เห็น (อธิบายไปก่อนหน้าด้านบน) แต่เมื่อทราบข้อจำกัดต่าง ๆ ในตอนนี้จึงเห็นว่าควรใช้ SiteNotice เฉพาะการอภิปรายส่วนกลางที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ทั้งหมดครับ --Geonuch (คุย) 07:06, 23 มีนาคม 2562 (ICT)
  • หากการอภิปรายดังกล่าวจบลงโดยไม่มีผู้เข้าร่วมการอภิปรายเพียงพอ ควรเป็นอย่างไรต่อ
    (1) ให้การอภิปรายนั้นผ่านโดยปริยาย ตามหลัก Silence = consent แต่ให้ถือเป็น consensus ที่อ่อน
    (2) ให้การอภิปรายนั้นไม่ผ่าน ผู้เสนอสามารถรอเวลาอีกระยะหนึ่งแล้วสามารถเสนอใหม่ได้ หากไม่มีผู้เข้าร่วมการอภิปรายเพียงพออีกครั้ง ให้ถือว่าการอภิปรายนั้นผ่านโดยปริยาย
    (3) ให้นำการอภิปรายนั้นไปทดลองปฏิบัติดูก่อนระยะหนึ่ง ในระหว่างนั้นให้มีการประเมินผล ดูว่ามีผู้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร หากครบกำหนดเวลาแล้วไม่มีความเห็นใด ๆ ให้กลับมาใช้ตาม (2) --Horus (พูดคุย) 21:39, 6 มีนาคม 2562 (ICT)
เป็นกลาง --B20180 (คุย) 12:38, 7 มีนาคม 2562 (ICT)

การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่