วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/"หน่วยการบริหาร" หรือ "เขตการปกครอง"
เท่าที่ไล่ดูบทความเกี่ยวกับ Administrative divisions พบว่ามีทั้งที่แปลว่า "หน่วยการบริหาร" และ "เขตการปกครอง" ซึ่งไม่แน่ใจว่าคำใดควรจะเป็นคำที่ถูกต้อง โดยส่วนตัวคิดว่า "หน่วยการบริหาร" น่าจะเหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการอภิปรายเพื่อตกลงว่าให้ใช้คำใดคำหนึ่งเป็นหลัก เพื่อที่จะได้ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับบทความใหม่และบทความที่มีอยู่แล้วต่อไปค่ะ
ขออนุญาต ping ค่ะ: @Geonuch, BeckNoDa, และ Mr.BuriramCN: --ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 14:38, 27 สิงหาคม 2565 (+07)
- จากที่ผมค้นคว้าความหมายคำว่า Administrative Divisions พบความหมายในหนังสือ 4 เล่ม ดังนี้ครับ
- 1. หนังสือ "สมุดรายงานสถิติภาค ฉบับที่ 44, พ.ศ. 2540, น. 385-388." โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี คำว่า "Administrative Divisions" แปลไทยว่า "เขตการปกครอง"
- 2. หนังสือ "Organizational directory of the Government of Thailand, พ.ศ. 2511, น.3" โดย องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (USOM) คำว่า "Administrative Divisions" แปลไทยว่า "สำนักงานเลขานุการกรม"
- 3. หนังสือ "แผนผังส่วนราชการของรัฐบาลไทย, พ.ศ. 2519, น. 34" โดย สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คำว่า "Administrative Divisions" แปลไทยว่า "กองอํานวยการ"
- 4. หนังสือ "สารานุกรมไทย เล่มที่ 20, พ.ศ. 2443" โดย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา คำว่า "Administrative Divisions" แปลไทยว่า "หน่วยการปกครอง"
- ดังนั้น หากแปลว่า "เขตการปกครอง" ก็ไม่ใช่คำผิดครับ ส่วนคำว่า "หน่วยการบริหาร" คำว่า Administrative แปลว่า บริหาร Division แปลว่า หน่วย (ตามหนังสือข้อ 4) หากจะแปลว่า "หน่วยการบริหาร" ก็ไม่ใช่คำผิดเช่นกันครับ และพบคำว่า "หน่วยการบริหาร" กล่าวถึงการปกครองระดับท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
- และผมค้นเจอคำว่า "หน่วยการบริหารท้องถิ่น" ภาษาอังกฤษ เขียนว่า "Local Government Officials" พบจากหนังสือ "ผู้ว่าราชการจังหวัดไทย: วิเคราะห์เปรียบเทียบกับผู้ว่าราชการจังหวัดของสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศสและญี่ปุ่น พ.ศ. 2541. น. 145" แต่งโดย วิรัช วิรัชนิภาวรรณ และ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 4 "หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้น แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด"
- จากความหมายที่แตกต่างกัน 4 ความหมาย ผมมีความคิดเห็นว่า ขึ้นอยู่กับบริบทของเนื้อหาว่ากล่าวถึงอะไร เช่น
- การปกครองขนาดใหญ่ระดับเขต มณฑล หรือภูมิภาค อาจใช้คำว่า "เขตการปกครอง"
- การปกครองระดับท้องถิ่นเล็กกว่าจังหวัด เช่น เทศบาล สุขาภิบาล ใช้คำว่า "หน่วยการบริหาร" หรือ "หน่วยการปกครอง"
- หน่วยงานย่อยระดับกอง แผนก ฝ่าย หรือ สำนัก ในสำนักงานหรือกรม ใช้คำว่า "กองอํานวยการ..." หรือ "สำนักงาน..."
- ลองพิจารณาตามความเหมาะสมครับ ขอบคุณครับ Quantplinus (คุย) 10:28, 30 สิงหาคม 2565 (+07)
- ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ น่าจะใช้เป็นตัวเลือกสำหรับพิจารณาต่อไปได้ ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 12:00, 3 กันยายน 2565 (+07)
สวัสดีครับ สำหรับผมก็เคยเจอปัญหาเกี่ยวกับการแปลคำว่า Administrative Divisions อยู่เหมือนกัน โดยผมเลือกใช้คำว่า “เขตการปกครอง” เนื่องจากใช้บ่อยในบริบทของประเทศไทย แต่ถ้าแปลตามตัวอักษรจริง ๆ ก็จะแปลได้เป็น “หน่วยการบริหาร” ครับ ส่วน subdivision ที่เห็นได้ในชื่อหมวดหมู่ของ enwiki ถ้าแปลตามตัวอักษรน่าจะแปลว่า “หน่วยย่อย” ครับ เนื่องจากอาจหมายความรวมถึงการแบ่งหน่วยย่อยทางนิติบัญญัติ ทางตุลาการ หรือหน่วยย่อยที่แบ่งไว้ทางสถิติที่ไม่ได้มีหน่วยงานการบริหารเลยก็ได้ครับ — 𝑩𝒆𝒄𝒌𝑵𝒐𝑫𝒂 (คุย) 13:36, 2 กันยายน 2565 (+07)
- ความตั้งใจจริง ๆ ก็คืออยากให้มีข้อตกลงที่แน่นอนเป็นหลักฐานว่าจะใช้คำใดเป็นหลักให้ตรงกันเป็นมาตรฐานอ่านะคะ เพราะว่าประเด็นนี้จะยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกถ้าเราขยายขอบเขตไปถึง Administrative Divisions ของประเทศอื่นซึ่งหน่วยหลักหรือหน่วยย่อยระดับบนสุดไม่ใช่จังหวัดหรือไม่ได้เรียกว่า "จังหวัด" อย่างเช่นฝรั่งเศสที่หน่วยย่อยบนสุดคือแคว้น ส่วนจังหวัดเป็นหน่วยย่อยระดับที่สอง หรือกาตาร์ที่หน่วยย่อยบนสุดคือเทศบาล ซึ่งถ้าเทียบกับบริบทประเทศไทยจะเล็กกว่าจังหวัดลงไปอีก ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 12:18, 3 กันยายน 2565 (+07)
- ตามคุณ ZeroSixTwo ข้างบนนะครับ ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับบริบท เข้าใจความตั้งใจคุณ ZeroSixTwo ว่าต้องการให้มีข้อสรุปชัดเจนนำไปใช้งานได้ อาจจะต้องตีกรอบให้แคบลงไหมครับว่าสำหรับบริบทใด บทความ หมวดหมู่ ประเทศ ฯลฯ แล้วหาข้อสรุปในส่วนที่มีความชัดเจนสามารถตกลงกันได้ขึ้นไปก่อน --Taweethaも (คุย) 08:55, 6 กันยายน 2565 (+07)
ขออนุญาตตีกรอบการอภิปรายในหัวเรื่องนี้นะคะ ในหัวเรื่องนี้จะอภิปรายเกี่ยวกับหน่วยย่อยสำหรับการบริหารราชการของประเทศเช่น จังหวัด อำเภอ เทศบาล มณฑล ฯลฯ ก่อน (ซึ่งจะตรงกับหมายเลข 1 และ 4 ที่คุณ Quantplinus เสนอมาด้านบน) ส่วนหน่วยย่อยสำหรับกระทรวงหรือกรมขอเก็บไว้อภิปรายในหัวเรื่องอื่นต่อไป
ขออนุญาต ping อีกครั้ง: @BeckNoDa, Geonuch, Quantplinus, Mr.GentleCN, และ Taweetham: --ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 19:46, 6 กันยายน 2565 (+07)
ข้อความคัดลอกมาอีกครั้ง
- 1. หนังสือ "สมุดรายงานสถิติภาค ฉบับที่ 44, พ.ศ. 2540, น. 385-388." โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี คำว่า "Administrative Divisions" แปลไทยว่า "เขตการปกครอง"
- 4. หนังสือ "สารานุกรมไทย เล่มที่ 20, พ.ศ. 2443" โดย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา คำว่า "Administrative Divisions" แปลไทยว่า "หน่วยการปกครอง"
ความแตกต่างมีเพียง เขต หรือ หน่วย
เสนอทางเลือก
- ยอมให้ใช้ทั้ง เขต และ หน่วย นอกนั้นไม่ให้ใช้แล้ว การหลากคำที่ไม่ยากจนเกินไปก็ไม่ได้มีปัญหาใดๆ ในตัวเนื้อหาบทความ แต่ไม่ได้แก้ไขประเด็นชื่อบทความหรื่อชื่อหมวดหมู่ที่ต้องมีชื่อเดียวเป็นชื่อหลัก
- ลงคะแนนเลือก เขต หรือ หน่วย คำใดคำหนึ่ง เช่น ใช้หน่วยเพราะเชื่อใน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มากกว่า
- กำหนดข้อเสนอให้ชัดเจนมากขึ้นว่า ประเทศ อาณาเขตดินแดน รัฐในรูปแบบ xxx ให้ใช้ เขต ส่วนในรูปแบบ yyy ให้ใช้ หน่วย (xxx/yyy เช่น เขตใช้กับเทศบาลหรือชุมชนที่มีความเป็นเมืองมากกว่า เขตใช้กับบริบทการแสดงข้อมูลเชิงตัวเลขเชิงสถิติ ในขณะที่หน่วยใช้กับการปกครอง การเมือง ฯลฯ)
- คุณ @Potapt: หรืออาสาสมัครท่านอื่นที่เขียนบทความเกี่ยวกับสถานที่/ภูมิศาสตร์ อาจจะช่วยได้ครับ
ถ้าไม่มีท่านอื่นอภิปรายแล้วคุณ ZeroSixTwo เลือกแนวทางสรุปให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้เลยนะครับ --Taweethaも (คุย) 07:31, 8 กันยายน 2565 (+07)
- @Taweethaもเห็นคุณ Taweetha ทำสีแดง "พ.ศ. 2443" ท่านอื่นอาจสงสัย เอ๊ะ!! สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ทิพย์? เลยขออนุญาตเสริมนิดนึงครับ สมัยปี 2443 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา คือ กรมราชบัณฑิต เป็นสำนักย่อยในกรมธรรมการอีกทีนึง เกรงว่าหากเขียน กรมธรรมการ แต่งหนังสือ "สารานุกรมไทย เล่มที่ 20, พ.ศ. 2443" กลัวจะสับสน เลยเขียนสำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้เข้ากับยุคสมัยครับ Quantplinus (คุย) 19:50, 9 กันยายน 2565 (+07)
- เนื่องจากผ่านมาประมาณเกือบหนึ่งสัปดาห์แล้วและยังไม่มีความคิดเห็นเพิ่มเติม จึงขอเสนอแนวทางจากข้อเสนอของคุณ Taweetham ซึ่งคัดกรองจากข้อมูลของคุณ Quantplinus อีกชั้นนึงในส่วนถัดไปนะคะ ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 19:04, 14 กันยายน 2565 (+07)
ขออนุญาต ping อีกครั้ง: @BeckNoDa, Geonuch, Quantplinus, Mr.GentleCN, Taweetham, และ Potapt:
ลงคะแนนแก้ไข
ขออนุญาตแยกประเด็นในการลงคะแนนออกเป็นสองหัวข้อดังนี้ค่ะ
- ในเนื้อหาบทความสามารถใช้ เขตการปกครอง หรือ หน่วยการปกครอง สลับกันได้โดยไม่ถือว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
- ความเห็น ทางเลือกข้อที่ 3 ที่คุณ Taweetham เสนอมาอาจจะใช้เป็นข้อแนะนำเฉย ๆ ว่าถ้าจะใช้ในบริบทนี้ควรใช้คำนี้มากกว่า แต่ไม่ได้กำหนดตายตัว --ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 19:28, 14 กันยายน 2565 (+07)
- สำหรับชื่อบทความหรือชื่อหมวดหมู่ให้ใช้ เขตการปกครอง หรือ หน่วยการปกครอง อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวให้ตรงกันทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างหน้าบทความหรือหมวดหมู่ซ้ำซ้อนกัน
- ความเห็น เรื่องเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่นั้นปัญหาตอนนี้ที่สำคัญที่สุดคือบอตคุงไม่ทำงานมาสามเดือนแล้วอ่านะคะ ตอนนี้คิวหมวดหมู่รอเปลี่ยนชื่อยาวเหยียดเลย --ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 19:28, 14 กันยายน 2565 (+07)
- ความเห็น เรื่องบอตเปลี่ยนชื่อสามารถขอความช่วยเหลือผู้ใช้ที่มีบอตเป็นรายบุคคลได้ ผมช่วยเหลือตรงนี้ให้ได้ถ้าโจทย์การทำงานชัดเจนผ่านการรับรองจากชุมชนแล้วว่าจะใช้ชื่อใด ในกรณีที่ชุมชนไม่มีความเห็นเพิ่มเติม ผมขอให้ดำเนินการแบบ en:WP:BOLD ไปก่อน แล้วจะแก้ไขอย่างไรภายหลังก็เป็นธรรมชาติของภาษาที่มีวิวัฒนาการไปได้ตามยุคสมัย / คุณ ZeroSixTwo เลือกได้เลย หาก 14 วันต่อไปไม่มีผู้คัดค้านก็จะดำเนินการเกี่ยวกับบอตกันต่อไป ผมจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด ให้เวลาผมอีกประมาณ 14 วันหลังจากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนนะครับ (โปรดนำข้อสรุปไปใส่ในหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น หน้าโครงการและ WP:MOS) --Taweethaも (คุย) 10:21, 22 กันยายน 2565 (+07)
- ความเห็น เรื่องเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่นั้นปัญหาตอนนี้ที่สำคัญที่สุดคือบอตคุงไม่ทำงานมาสามเดือนแล้วอ่านะคะ ตอนนี้คิวหมวดหมู่รอเปลี่ยนชื่อยาวเหยียดเลย --ZeroSixTwo (อยู่ระหว่าง "ข้าม" ไปใช้ "ค่ะ" แทนนะคะ) (คุย) 19:28, 14 กันยายน 2565 (+07)