วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/ตุลาคม 2551

อยากทราบความหมายของคำว่า ถีติปริวัตร์

อยากทราบความหมายของคำว่า ถีติปริวัตร์ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.91.19.204 (พูดคุย | ตรวจ) 13:00, 3 ตุลาคม 2551 (ICT)

"วัฒน์ กับ วัตน์" คำไหนเขียนถูก

((ยุคโลกาภิวัฒน์ หรือ กระแสโลกาภิวัตน์ )) คำว่า "วัฒน์ กับ วัตน์" คำไหนเขียนถูก --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.172.105.126 (พูดคุย | ตรวจ) 02:42, 10 ตุลาคม 2551 (ICT)

สำหรับคำนี้ เขียนว่า โลกาภิวัตน์ ครับ

  • "วัตน์" = ความเป็นไป, ความเป็นอยู่ (บาลี: วตฺตน; สันสกฤต: วรฺตน)
  • "วัฒน์" = ความเจริญ, ความงอกงาม (บาลี: วฑฺฒน)

เป็นคนละคำกัน --Octra Dagostino 11:47, 11 ตุลาคม 2551 (ICT)

percent point

ทราบไหมคะว่า คำนี้ [1] ภาษาไทยแปลว่าอะไร ขอบคุณค่ะ Nini 11:42, 11 ตุลาคม 2551 (ICT)

วิสัชนา

"percentage point" ภาษาไทยว่า "จุด" ค่ะ เป็นศัพท์เศรษฐศาสตร์ เช่น

"The Federal Reserve said that the federal funds rate is down by three-fourths of a percentage point from 4.25 percent of the total number."

ว่า "กองคลังสำรองกลาง (จะแปลชื่อนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ แฮ่ ๆ) แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่า กองทุนกลางมีอัตราลดลงสามในสี่จุดจากร้อยละ ๔.๒๕ ของจำนวนทุนทั้งหมด" เป็นต้นค่ะ

ดู

1. "ทุนสัมปทานโทรคมในรบ.ทักษิณ กับธรรมาภิบาลภาครัฐ". (๒๕๔๙, ๗ ธันวาคม). มติชนรายวัน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: < http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006dec07p1.htm >. (เข้าถึงเมื่อ: ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑).

2. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (๒๕๔๙, ๙-๑๐ ธันวาคม). ทุนสัมปทานกับธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: < http://www.tdri.or.th/ye_06/ye06rept/g3/somkiat.pdf >. (เข้าถึงเมื่อ: ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑).

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๐๘ นาฬิกา (GMT+7)

โอ้ ขอบคุณค่ะNini 02:26, 12 ตุลาคม 2551 (ICT)

ปล. The Federal Reserve เรียกกันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จ้า [2]

ซ่องชาย

ถามบ้างค่ะ อันเนื่องมาจากบทความ "en:Cleveland Street scandal" ซึ่งเค้ากำลังแปลในหน้า "สถานค้ากามชายแห่งถนนเคลฟแลนด์" ปัญหามีว่า เอาภาษาชาวบ้านเลยนะคะ "ซ่องกะหรี่ชาย" เนี่ย จะเรียกยังไงดีคะ นึกไม่ออกแฮะ

๑. ถ้าว่า "ซ่องกะหรี่ชาย" ก็ไม่สุภาพอีก

๒. ถ้าว่า "สถานโสภณีชาย" โสเภณีก็แปลว่าหญิงขายบริการทางเพศ โดยรูปศัพท์โสเภณีก็เป็นอิตถีลิงก์อยู่แล้ว ใช้ไม่ได้

๓. ถ้าว่า "สถานบริการทางเพศชาย" ก็อาจเข้าใจได้ว่า เป็นสถานที่ให้บริการอะไรก็ได้เกี่ยวกับเพศชาย

๔ จะว่า "ซ่องชาย" เฉย ๆ ทีแรกก็คิดว่าน่าจะโอเชนะ แต่ทบทวนดูและเปิดพจนานุกรมแล้ว "ซ่อง" แปลว่าแหล่งที่มาสุมชุมนุมกันอย่างลับ ๆ ถ้าเรียกแค่นั้นก็ไม่รู้ว่าเป็นซ่องสำหรับทำอะไร จึงไม่น่าเรียกอย่างนี้

จนปัญญาค่ะ เค้าเลยเรียก "สถานค้ากามชาย" ไปก่อน ใครเห็นว่าควรเรียกอย่างไรก็วิสัชนาด้วยนะคะ ขอบคุณจ้ะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๑๙ นาฬิกา (GMT+7)

ถามถึงอักษรย่อฃองภาษาอังกฤษย่อมาจากคำไหน

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Adinon (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:44, 12 ตุลาคม 2551 (ICT)

--MaGa NosFeRaTu 09:34, 13 ตุลาคม 2551 (ICT) (คำตอบอยู่ข้าง ๆ ตัวย่อ)

คำที่ไม่จำกัดขอบเขต

คำว่าตัวกูของกูที่พระพุทธทาสได้พูดมีความหมายเช่นไรและให้เน้นความหมายละเอียดด้วยนะครับขอบคุณ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.8.189.165 (พูดคุย | ตรวจ) 13:46, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)

ทำผิดแล้วพลางความผิด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.125.13 (พูดคุย | ตรวจ) 16:32, 16 ตุลาคม 2551 (ICT)

น่าจะหมายถึงความยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง อย่างไรก็ตามผมไม่เคยอ่านหนังสือของท่านนะครับ --Octra Dagostino 09:20, 17 ตุลาคม 2551 (ICT)

โปรดดู อัตตา

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๑๘ นาฬิกา (GMT+7)

การเลือกใช้ภาษา

การใช้ภาษาในประเทศไต้หวันใช้ภาษาอะไรเหรอคะ เห็นเค้าว่ากันว่าภาษาจีน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.164.186 (พูดคุย | ตรวจ) 09:02, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

เอ่อ ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) ก็ต้องใช้ภาษาจีนอยู่แล้วละฮะ แต่ว่าใช้สำเนียงไหนก็แค่นั้นแหละ สำหรับไต้หวันใช้ภาษาจีนกลาง (Mandarin) ครับ --MaGa NosFeRaTu 19:34, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

ภาษาไต้หวันก็มีนะครับ --Octra Dagostino 20:24, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

" ข้าพเจ้า " ทำแทนตัวผู้พูด ใช้อย่างไรถูกต้องที่สุด ?

ข้าพเจ้า คำแทนตัวผู้พูด ได้เห็นและได้ยินบ่อยมาก เมื่อมีพระกระแสรับสั่ง ฯ แต่ ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไม เห็นและได้ยินคำนี้ใช้อย่างทั่วๆ ไป ในทุกสถานที่ทุกระดับ เหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ มีบางครั้งผู้รู้ก็ทักท้วง แต่ยังไม่มีข้ออ้างอิงที่เด่นชัดพอเข้าใจได้ ขอความรู้และข้ออ้างอิง เป็นการด่วน !!! --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 222.123.199.236 (พูดคุย | ตรวจ) 02:08, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

  • เป็นคำสุภาพ ไม่มีระดับครับ Kuruni 12:27, 19 ตุลาคม 2551 (ICT)

ข้าพเจ้าเป็นปฐมบุรุษสรรพนาม ใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ

สรรพนามมีหลายชนิดค่ะ เช่น บุรุษสรรพนาม ประพันธสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม วิภาคสรรพนาม ฯลฯ สนใจไปค้นดูเอาเอง

สำหรับการใช้ "ข้าพเจ้า" ในภาษาเขียน ดูหน้า ๖ ค่ะ ส่วนในภาษาพูดทั่ว ๆ ไปก็อาจอนุโลมเอาตามหลักในภาษาเขียนได้

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๒:๔๔ นาฬิกา (GMT+7)

Co.,Ltd. กับ Inc.

อยากทราบว่า คำว่า Co.,Ltd. กับ Inc. ต่างกันยังไง และนำไปใช้อย่างไรบ้าง 125.25.46.114 ขอบคุณค่ะ

Inc. หมายความว่า บริษัท (ทั่ว ๆ ไป) ย่อมาจาก incorporated

ส่วน Co., Ltd. คือ บริษัทจำกัด ย่อมาจาก limited company

โปรดดู นิติบุคคล

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๑๕ นาฬิกา (GMT+7)

การอ่านวันเดือนปีเกิดของคนโบราณ

การอ่านวันเดือนปีเกิดของคนโบราณ เช่น ส ฯ มะโรง อ่านได้เป็นอย่างไรครับ ตรงกับวันเดือนปีอะไร ขอทราบวิธีอ่านด้วยครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.250.110 (พูดคุย | ตรวจ) 13:20, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

ไปยาลน้อยอย่างเดียวบอกวันที่ไม่ได้ครับ เพราะจะต้องมีตัวเลขไทยเขียนไว้ข้างบนหรือข้างล่าง เพื่อบอกว่าขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ ทางซ้ายเป็นวันในสัปดาห์ ทางขวาน่าจะรู้อยู่แล้วครับ (แต่ไม่มีเดือนบอกด้วยนี่สิ)

มะโรง

แบบนี้จะได้ วันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ (เดือน?) ปีมะโรง --Octra Dagostino 22:05, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

การอ่านจำนวนนับ

"๒,๙๔๗,๓๙๒,๐๐๐ ล้าน" หรือจำนวน "๒,๙๔๗,๓๙๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐" อ่านว่าอย่างไรคะ

แบ่งเป็นชุด ๆ ไว้ให้ค่ะ จะได้ดูง่าย = ๒,๙๔๗, | ๓๙๒,๐๐๐, | ๐๐๐,๐๐๐

ขอบคุณค่ะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๒๐:๓๔ นาฬิกา (GMT+7)

แบบนี้ง่ายกว่า   หรือ สองล้าน เก้าแสน สี่หมื่น เจ็ดพัน สามร้อย เก้าสิบ สอง คูณ สิบยกกำลังเก้า (วิทย์ไปไหมเนี่ย)

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:39, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

สองพันเก้าร้อยสี่สิบเจ็ดล้านสามแสนเก้าหมื่นสองพันล้าน (ภาษาไทยแบ่งทีละล้าน ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะแบ่งทีละพัน ส่วนจีนนั้นแบ่งทีละหมื่น) --Octra Dagostino 20:52, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

ที่ถามนี่ ไว้เขียนใบถอนเงินเหรอครับ? --Wap 23:25, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

เปล่าจ้า อิอิ ไม่ค่อยได้เขียนใบถอนเงินหรอกจ้ะ เพราะชอบพกทองคำแท่งน่ะ ไปจ่ายตลาด ซื้อผักกำหนึ่งสองบาท ก็จ่ายเป็นทองคำแท่ง 55+

เอาจริง ๆ ก็คือ ถามไปนับวันเดือนปีในนรกภูมิค่ะ เผื่อดีไม่ดีอีกหน่อยมีโอกาสได้ไปอยู่อาศัยจะได้นั่งนับวันถูก 55+ ว่าแต่ระวังจะไปจ๊ะเอ๋กันนะ 55+

ล้อเล่น ๆ อย่าเครียดจ้ะ เค้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธหรอก แล้วก็ไม่ได้นับถือศาสนาอื่นใดด้วย เค้าเป็น irreligious person แต่ที่ถามนั้นเพราะไปนับปีในนรกตามศาสนาพุทธจริง ๆ แหละ

อ้อ~! ขอบคุณพี่ Octra Dagostino ด้วยจ้า

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๒๓:๓๖ นาฬิกา (GMT+7)

ดูเพิ่มที่ สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ --Octra Dagostino 09:23, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)

พ้องรูป-พ้องเสียง

การพ้องรูป-พ้องเสียงคืออะไร ยกตัวอย่างด้วย--ถวิล เกตุถาวร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.185.243 (พูดคุย | ตรวจ) 23:31, 20 ตุลาคม 2551 (ICT)

คำพ้องรูป น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น "ขัน" (น้ำ) กับ (ไก่) "ขัน", "คู" (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) "คู".

คำพ้องเสียง น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย, กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า "ไวพจน์".

ไวพจน์ น.

๑. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, "คำพ้องความ" ก็ว่า, (ป. เววจน) ;

๒. (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า "คำพ้องเสียง".

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๑:๑๖ นาฬิกา (GMT+7)

คำพ้องรูปยังสามารถแบ่งได้อีกสองแบบคือ คำพ้องรูปอ่านเหมือนกัน (Homonym) กับคำพ้องรูปอ่านต่างกัน (Heteronym) และคำพ้องเสียงก็สามารถแบ่งได้อีกสองแบบคือ คำพ้องเสียงเขียนเหมือนกัน (Homophone) กับคำพ้องเสียงเขียนต่างกัน (Heterophone) นอกจากนั้น Homonym กับ Homophone แทบจะมีความหมายเหมือนกันเลย มันถึงเป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ว่าไม่รู้จะตั้งชื่อบทความภาษาไทยว่าอะไรดี --Octra Dagostino 11:39, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)

เสริมให้ คำพ้องความ ก็คือ คำเหมือน (Synonym) ส่วนตรงข้ามก็คือคำตรงข้าม (Antonym) --Octra Dagostino 11:44, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)

อยากรู้เรื่องภาษา

อยากรู้ภาษาอังกฤษของคำว่า พระธาตุดอยสุเทพ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.175.210.26 (พูดคุย | ตรวจ) 07:59, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)

ใช้ทับศัพท์ครับ (Wat) Phrathat Doi Suthep = (วัด) พระธาตุดอยสุเทพ --MaGa NosFeRaTu 15:31, 21 ตุลาคม 2551 (ICT)

เงินยูโร

เงิน1ยูโร ที่ประเทศนี้ เท่ากับกี่บาทของประเทศไทย --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.172.177.186 (พูดคุย | ตรวจ) 17:42, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

ประเทศนี้คือประเทศไหน?

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒$ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๐:๕๔ นาฬิกา (GMT+7)

เชยจริง เงินยูโรนี่ใช้ในทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนนี่ ราคากลางในตลาดโลกตรวจสอบได้ที่ Yahoo Financeโลดเลย

ส่วนราคาที่จะซื้อจริงนั้น ให้ตรวจสอบที่ธนาคารสาขาที่มีบริการธุรกรรมต่างประเทศ หรือ ในตาหงอกนิวส์ก็มีบอกเหมือนกัน แต่บอกไว้ก่อนว่า แต่ละธนาคารเสนอราคาไม่เท่ากันหรอก แต่ก็ต่างกันไม่กี่เปอร์เซนต์

ราคาปัจจุบันในตลาดการเงินไทย ณ 15:44, 23 ตุลาคม 2551 (ICT) คือ 45.96 บาท ต่อ ๑ ยูโร

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 15:44, 23 ตุลาคม 2551 (ICT)

พี่ขี้เมาครับ เท่าที่ผมทราบนี่ ยกเว้นสหราชอาณาจักร ยังใช้เงินปอนด์อยู่ครับ (อาจเป็นเพราะว่า 1 ปอนด์มีค่ามากกว่า 1 ยูโร) --lovekrittaya gwperi 12:27, 24 ตุลาคม 2551 (ICT)

ก็อังกฤษไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปนี่ครับผม --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 20:27, 26 ตุลาคม 2551 (ICT)

อังกฤษ (หรือ สหราชอาณาจักร) เป็นสมาชิก EU นะครับ แค่ไม่ได้ใช้เงินยูโรกับไม่ใช่ schengen state เท่านั้นเอง เลยดูแปลกแยกจากประเทศอื่น เงินยูโรไม่ได้ใช้ในทุกประเทศของ EU มีอังกฤษ เดนมาร์ก สวีเดน และพวกประเทศสมาชิกใหม่ที่ไม่ได้ใช้เงินยูโรครับ --Cakra 16:54, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

เออ จริงด้วย ๕๕๕ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 01:21, 28 ตุลาคม 2551 (ICT)

ขอบใจ กับ ขอบคุณ ~~

สองคำนี้ดูเผินๆ อาจจะเหมือนกันอ่ะคับ แต่ผมสงสัยว่า วิธีการใช้จริงๆ ของสองคำนี้อ่ะครับ ที่ผมคิดได้นะครับ

ขอบใจ ใช้กับคยที่อายุน้อยกว่า หรือคนที่สนิทกัน

ขอบคุณ ใช้กับสถานการณ์ที่เป็นทางการ หรือใช้กับผู้ใหญ่ คนที่ไม่รู้จักเพิ่งเจอหน้ากัน

อะไรอย่างนี้หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ

แม่นแล้วครับ --Wap 21:21, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

อาจจะเคย

ถ้าเราจะเขียนว่า คนๆนั้นอาจจะเคยทำอะไรบางอย่างมาก่อนนี่ เราจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษในรูปแบบไหนดีครับ เช่นจะบอกว่า "เราจะต้องจัดห้องของโรงแรมให้ได้มาตรฐานของโรงแรมในเครือเดียวกับเรา เพราะลูกค้าอาจจะเคยไปพักที่โรงแรมในเครือเดียวกัน แต่สาขาอื่นมาก่อนนี้" จะเขียนอย่างไรดีครับ? --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 21:52, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

"The room service under the same standard is required to be held within every branches of our hotel, for the clients might have been dwelling at any of which."

โอเชไหมจ๊ะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๒๒:๐๑ นาฬิกา (GMT+7)

วากั๊ตตะ อาริงาโต้ โยโกฮาม่า ^^

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 22:05, 27 ตุลาคม 2551 (ICT)

ความหมายของคำว่า ชนักติดหลัง

อยากทราบความหมายของคำว่า ชนักติดหลัง ว่า หมายความว่าอะไร และมีที่มาที่ไปของความหมายนั้นอย่างไร จาก ลักษิกา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.8.38.5 (พูดคุย | ตรวจ) 03:53, 28 ตุลาคม 2551 (ICT)

ชนัก [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอช้างทำด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก.

จากความหมายแรกจากพจนานุกรม น่าจะพอเดาออกนะครับ --Octra Dagostino 11:15, 28 ตุลาคม 2551 (ICT)

ชนักติดหลัง (สำ) น. ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่.

ในพจนานุกรมก็มีจ้ะ คุณ Octra Dagostino หาไม่หมด

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๑๑:๕๙ นาฬิกา (GMT+7)

สงสัยที่มาขอศัพท์อ่ะ

คำว่า "ไอ้สันขวาน" นี่มันกลายเป็นคำด่าได้ไงอ่ะ โทษนะ ไม่ได้อยู่เมืองไทย ไม่รู้จริงจริง

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 16:24, 29 ตุลาคม 2551 (ICT)

มีคำว่าไอ้ ตามด้วยคำนาม (ที่ฟังดูแล้วหยาบกระด้าง (คนละอย่างกันกับหยาบคาย ในที่นี้ผมหมายถึงคำที่ฟังดูห้วนๆ หรือกระแทกเสียง) หรือไม่ค่อยสุภาพ) ก็เป็นคำด่าได้เช่นกัน สำหรับในกรณีนี้ ผมเดาว่า อาจจะด่าโจรใต้น่ะครับ เพราะอยู่ตรงสันขวานพอดี หรือไม่ก็ใช้อย่างมีอคติ เนื่องจากคนใต้หลายคน กับคนเหนือหลายคน คนตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน (ไม่พูดว่า"ทุกคน"นะครับ เพราะไม่ใช่"ทุกคน"หรอกครับ) มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ชอบคนละพรรคกัน อะไรทำนองนั้นครับ --lovekrittaya gwperi 17:04, 31 ตุลาคม 2551 (ICT)

ผมว่าไม่เกี่ยวนะ เพราะได้ยินครั้งแรกตอน เสธ แดง ด่า คุณสันต์ หลังจากนั้น พบบ่อยในเว๊บประมูลอ่ะ แต่ของแบบนี้ มันน่าจะมีที่มาที่ไปมากกว่านั้นะ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:50, 31 ตุลาคม 2551 (ICT)

แต่เค้าว่ามันน่าจะเป็นคำเข้าคู่กันของคำด่าว่า "(อี) สันด๋อย" อะนะ "ด๋อย" แปลว่าอวัยวะเพศหญิง ส่วน "ขวาน" ก็น่าจะแทนอวัยวะเพศชาย เป็น "อีสันด๋อย" และ "ไอ้สันขวาน" ยังงี้อะมั้ง

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑, ๐๐:๐๑ นาฬิกา (GMT+7)

สันขวานคงหมายถึงประเทศแดงที่อยู่ตรงสันขวาน ไม่คิดว่าจะเป็นภาคใต้เพราะภาคใต้คือด้ามขวาน --Octra Dagostino 09:05, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

  • นั่นน่ะสิครับ เอ่อ คือผมเข้าใจผิดไปน่ะครับ คิดว่าสันขวานคือตรงนั้น จริงๆนะครับคุณOctraฯ --lovekrittaya gwperi 17:54, 4 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

สันขวานอยู่คนละด้านกับคมขวานครับ การใช้คำว่าไอ้สันขวานจึงอาจจะสามารถแสดงความหมายได้หลายอย่างพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน หนึ่งคือเห็นว่าอยู่คนละฝ่ายหรือคนละข้างกับตน สองคิดว่าตนเองแหลมคมกว่า อีกฝ่ายทื่อกว่า (น่าจะหมายถึงสติปัญญาหรือความสามารถ) สามคือเห็นว่าอีกฝ่ายที่ถูกด่านั้นทั้งทื่อ ทั้งแข็ง ทั้งด้านชา สี่คือด่าว่าโง่หรือไร้ประโยชน์ เพราะไม่เห็นว่าอีกฝ่ายจะเป็นดังคมขวาน แต่เป็นดังสันขวานที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมากนัก --lovekrittaya Obama & Biden or Osama bin Laden? 16:21, 17 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ภูมิปัญญาคืออะไร

ภูมิปัญญาคืออะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.123.179 (พูดคุย | ตรวจ) 05:29, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)

ภูมิปัญญา[พูม–] น. พื้นความรู้ความสามารถ. --Cakra 22:24, 30 ตุลาคม 2551 (ICT)