วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์
วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์ (ไอซ์แลนด์: Vigdís Finnbogadóttir; 15 เมษายน พ.ศ. 2473 –) เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2539 เธอเป็นสตรีคนแรกของโลกที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตย[1][2] และเธอเป็นสตรีที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของประเทศยาวนานที่สุดในโลกด้วยระยะเวลาถึง 16 ปี ปัจจุบันเธอเป็นตัวแทนของประเทศไอซ์แลนด์ในฐานะทูตสันถวไมตรีของยูเนสโกและเป็นสมาชิกของคลับออฟมาดริต[3] เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงเพียงคนเดียวของประเทศไอซ์แลนด์นับแต่ได้รับเอกราชจากประเทศเดนมาร์ก
วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์ | |
---|---|
ฟินปอกาโตว์ตีร์ใน พ.ศ. 2528 | |
ประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ คนที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2523 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536 | |
นายกรัฐมนตรี | กูนน์นา โทดอสเซน สเต็งรึมัวร์ เฮอร์แมนซัน ฟอสสเตน ปาลัสซัน เดวิตัว์ อ็อตซัน |
ก่อนหน้า | กริสติยาน เอลท์จาน |
ถัดไป | โอลาฟัวร์ แร็กนา กริมินสัน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 เมษายน พ.ศ. 2473 เรคยาวิก, ราชอาณาจักรไอซ์แลนด์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยปารีส มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์เกรโนเบิล มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ |
ประวัติ
แก้ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
แก้เธอเกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2473 ที่เรคยาวิก เป็นธิดาของฟินโบกิ รูตเตอร์ โฟวาลซัน วิศวกรและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ และซิกิตัว เอดิสด็อตเตอร์ พยาบาลและผู้บริหารของสมาคมพยาบาลของประเทศไอซ์แลนด์ นอกจากนี้เธอยังมีน้องชายอีกหนึ่งคน[4] เธอเข้าศึกษาด้านวรรณกรรมฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์เกรโนเบิลและมหาวิทยาลัยปารีส ในประเทศฝรั่งเศสระหว่าง พ.ศ. 2492 จนถึง พ.ศ. 2496 จากนั้นเธอศึกษาต่อในด้านประวัติศาสตร์วงการละครเวที มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน จนจบปริญญาตรี และยังได้รับปริญญามหาบัณฑิตจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ ต่อมาเธอสมรสกับแพทย์คนหนึ่งใน พ.ศ. 2497 แต่ได้หย่าร้างในเวลาต่อมา จนกระทั่งเธอรับหญิงคนหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรม เธอจึงเป็นหญิงชาวไอซ์แลนด์คนแรกที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกหมายของประเทศ[5]
เธอคือหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมของการประท้วงต่อต้านและขอให้กองทัพสหรัฐถอนฐานทัพออกจากประเทศไอซ์แลนด์เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และกลุ่มผู้ประท้วงนี้มักจะตะโกนด้วยคำว่า อิสลันด์เออร์เนโทเออร์รินบัด (ไอซ์แลนด์ไม่ใช่เนโท กองทัพสหรัฐจงออกไป)
ชีวิตในวงการวิชาการ
แก้หลังสำเร็จการศึกษา เธอได้เป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสและละครเวทีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยในประเทศและทำงานร่วมกับโรงละครขนาดเล็กหลายครั้ง เธอยังทำงานร่วมกับโรงละครเรคยาวิกตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึง พ.ศ. 2500 และกลับมาทำงานให้อีกครั้งใน พ.ศ. 2504 จนถึง พ.ศ. 2507 ในช่วงฤดูร้อน เธอยังทำงานเป็นมัคคุเทศก์อีกด้วย นอกจากนี้ เธอยังเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสอยู่ที่วิทยาลัยเมนตัตโซคินอีเรคยาวิกและวิทยาลัยเมนตัตโซคินอีฮัมมันฮิอัวร์ นอกจากนี้เธอยังเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์และเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของประเทศอีกด้วย[5]
นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้อำนวยการของโรงละครแห่งเรคยาวิกตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2523 ควบคู่ไปกับเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้วนวัฒนธรรมในแถบนอร์ดิก
ในฐานะประธานาธิบดี
แก้เธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศใน พ.ศ. 2523 ด้วยคะแนนเสียงถึงร้อยละ 33.79 แม้ว่าตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์เป็นแค่ในพิธีการอันเนื่องมาจากปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา[5] แต่เธอมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อประเทศไอซ์แลนด์ในฐานะนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและผลกดันวัฒนธรรมและภาษาไอซ์แลนด์ให้เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก[5] เธอยังเป็นทูตทางวัฒนธรรมของประเทศ และเธอยังเน้นย้ำบทบาทของประเทศในเวทีโลก ซึ่งนำไปสู่การเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดระหว่างโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐ และมิฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2529 เธอมีคติประจำตัวเสมอว่า "อย่าทำให้ผู้หญิงด้วยกันต้องผิดหวัง ผู้หญิงก็สามารถมีบทบาทในเวทีโลกได้ทัดเทียมกับผู้ชาย" และเธอยังส่งเสริมสิทธิการศึกษษให้แก่เด็กหญิงภายในประเทศ เธอจึงเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเป็นผู้นำของสตรี[6]
เธอหมดวาระใน พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งถึง 16 ปี และโอลาฟัวร์ แร็กนา กริมินสัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ต่อจากเธอ[7]
เครื่องอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องอิสริยาภรณ์ไอซ์แลนด์
แก้- ไอซ์แลนด์:
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกฟอลคอน ชั้นประถมาภรณ์พร้อมสายสร้อย (1 สิงหาคม พ.ศ. 2523)[8]
เครื่องอิสริยาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก:
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524)[9]
- ฝรั่งเศส:
- เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นประถมาภรณ์ (12 เมษายน พ.ศ. 2525)
- เครื่องรัฐอิสรยาภรณ์ศิลปินและลิขิต ชั้นเบญจมาภรณ์
- เนเธอร์แลนด์:
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นประถมาภรณ์ (18 กันยายน พ.ศ. 2527)[10]
- สเปน:
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3 (11 กันยายน พ.ศ. 2528)[11]
- สหราชอาณาจักร:
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2533)[12]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525)
อ้างอิง
แก้- ↑ ""Ég missti þann förunaut sem hefði fylgt mér alla ævi"". RÚV (ภาษาไอซ์แลนด์). 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ "Club of Madrid: Vigdís Finnbogadóttir". Club of Madrid. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 July 2010.
- ↑ "Club of Madrid: Full Members". Club of Madrid. 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
- ↑ ""Ég missti þann förunaut sem hefði fylgt mér alla ævi"". RÚV (ภาษาไอซ์แลนด์). 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "First female head of state, Vigdís Finnbogadóttir, elected 35 years ago today". Iceland Magazine. 2015-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-02. สืบค้นเมื่อ 2016-06-26.
- ↑ Torild Skard (2014) 'Vigdís Finnbogadóttir' 'Women of power – half a century of female presidents and prime ministers worldwide. Bristol: Policy Press ISBN 978-1-44731-578-0
- ↑ Kristinsson, Gunnar Helgi (1996). "The presidential election in Iceland 1996". Electoral Studies. 15 (4): 533–537. doi:10.1016/s0261-3794(96)80470-7. ISSN 0261-3794.
- ↑ "Icelandic Presidency Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
- ↑ Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก)
- ↑ State visit, 1994, Photo เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Beatrix, Claus and Icelandese President
- ↑ Boletín Oficial del Estado
- ↑ "Queen Iceland". สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.