วัดแม่พระราชินีแห่งสากลโลก กาญจนบุรี

วัดแม่พระราชินีแห่งสากลโลก กาญจนบุรี (ละติน: Beata Mundi Regina; อังกฤษ: Beata Mundi Regina Parish) หรือ วัดกาญจนบุรี[2][3] เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ใกล้กับสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

วัดแม่พระราชินีแห่งสากลโลก
Beata Mundi Regina Parish
แผนที่
ที่ตั้ง45 ถนนเจ้าขุนเณร ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี[1]
ประเทศไทย
นิกายโรมันคาทอลิก
ประวัติ
ผู้ก่อตั้งพระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต[2]
สถาปัตยกรรม
บุคคลที่เกี่ยวข้องยอแซฟ ชุลี เยาวสังข์ (ผู้รับเหมาก่อสร้าง)[2]
สถาปนิกบาทหลวงอันเดรอา เช็กกาเรลลี[2]
ปีสร้างพ.ศ. 2498[2]
การปกครอง
มหานครกรุงเทพฯ
มุขมณฑลราชบุรี[1]
นักบวช
มุขนายกพระคุณเจ้าปัญญา กฤษเจริญ
อธิการโบสถ์บาทหลวงกฤติเดช รุจิรัตน์
ผู้ช่วยบาทหลวงสุรินทร์ จารย์อุปการะ

ประวัติ แก้

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ซื้อที่ดินจากนายน้ำแท้ แต้มทอง จำนวน 17 ไร่เมื่อปี พ.ศ. 2489 เพื่อสร้างสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรักขึ้นเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับเชลยศึกผู้วายชนม์ด้วยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ต่อมาโจเซฟ เวลซิง (Joseph Welsing) ทูตเนเธอร์แลนด์ประจำพม่าในขณะนั้น ได้เขียนจดหมายถึงพระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต มุขนายกเขตมิสซังราชบุรี ขอให้สร้างอารามชีลับใกล้บริเวณสุสาน เพื่อจะได้มีผู้คอยสวดภาวนาแก่ผู้วายชนม์ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นหลานชายของนายเวลซิง ต่อมาพระคุณเจ้าเปโตรพิจารณาเสนอแก่นายเวลซิงว่าควรสร้างโบสถ์แทนอารามชีลับเพื่อให้คริสต์ศาสนิกชน ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ และนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมสุสานและภาวนาแก่ผู้ล่วงลับได้ นายเวลซิงจึงเห็นดีด้วยจึงบริจาคทรัพย์จำนวน 7,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อที่ดินจำนวน 3 ไร่เศษสำหรับสร้างโบสถ์เล็ก ๆ หลังหนึ่ง[2] โดยตั้งอยู่ด้านหลังสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก[4]

โบสถ์เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2498 โดยมีคุณพ่ออันเดรอา เช็กกาเรลลีออกแบบให้เข้ากับสุสาน และยอแซฟ ชุลี เยาวสังข์เป็นช่างก่อสร้าง จนเสร็จสมบูรณ์ในปีถัดมา โดยนายเวลซิงขอให้จารึกชื่อเรยีนา (Regina) ซึ่งเป็นชื่อภรรรยาผู้ล่วงลับที่โบสถ์นี้ พระคุณเจ้าเปโตรจึงตั้งชื่อโบสถ์ว่าเบอาตา มุนดี เรยีนา (Beata Mundi Regina) อันเป็นสมัญญานามของพระนางมารีย์พรหมจารีแปลว่า "ราชินีแห่งสากลโลก"[2][5]

เดิมวัดแม่พระราชินีแห่งสากลโลก กาญจนบุรีจะขึ้นอยู่กับวัดแม่พระมหาทุกข์ ท่าม่วง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 ถึง พ.ศ. 2538 เพราะไม่มีบาทหลวงประจำและมีศาสนิกชนไม่มากนัก กระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี เขตมิสซังราชบุรีจึงได้จัดให้มีบาทหลวงอยู่ประจำ[2] โบสถ์ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2549[5][6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "วัดแม่พระราชินีแห่งสากลโลก กาญจนบุรี". สังฆมณฑลราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "ประวัติวัดกาญจนบุรี". วัดแม่พระราชินีแห่งสากลโลก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "คำสอน Delivery ที่วัดกาญจนบุรี". ศูนย์คริสตศาสนธรรมมิสซังราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พิธีบวงสรวงและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนา งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควและงานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี ๒๕๕๖". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี. 3 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 "Beata Mundi Regina War Monument Catholic Church—Kanchanaburi, Thailand—Roman Catholic Churches on Waymarking.com". www.waymarking.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.
  6. Twomey, Christina; Koh, Ernest (2014). The Pacific War: Aftermaths, Remembrance and Culture. Routledge Studies in the Modern History of Asia. Routledge. ISBN 9781317807889.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้