วัดแก่งคอย

วัดในจังหวัดสระบุรี

วัดแก่งคอย เป็นวัดเถรวาทในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในย่านกลางอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

วัดแก่งคอย
วัดแก่งคอย
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
เขตอำเภอแก่งคอย
จังหวัดจังหวัดสระบุรี
ภูมิภาคภาคกลาง
สถานะกำลังดำเนินอยู่
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง318 ซอยสุดบรรทัด 1 ถนนสุดบรรทัด ตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110
ประเทศประเทศไทย
วัดแก่งคอยตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี
วัดแก่งคอย
ที่ตั้งในจังหวัดสระบุรี
พิกัดภูมิศาสตร์14°34′23″N 101°03′42″E / 14.572920488736836°N 101.06161904308432°E / 14.572920488736836; 101.06161904308432

ประวัติและการตั้งชื่อ แก้

วัดแก่งคอยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2330 โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น วัดแก่งนางคอย และวัดแร้งคอย ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการคือวัดจมูสโมสร ซึ่งแปลว่า "วัดที่จุดชุมนุมของขุนนาง"[1] จนมาได้ชื่อว่าวัดแก่งคอย ตามชื่อที่ตั้ง ซึ่งคืออำเภอแก่งคอย[1]

ส่วนอดีตเจ้าอาวาสคือหลวงพ่อลา เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และอุปสมบทที่วัดคล้อทอง[1][2][3]

ส่วนประกอบของวัด แก้

ภายในวัดนี้มีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น พระมหาธาตุเจดีย์ศรีป่าสัก ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ โดยมีประชาชนมาสักการะพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว[4]

ส่วนวิหารพระพุทธไสยาสน์นิมิตมงคลมุนีศรีแก่งคอย ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ อาคารนี้สร้างในสมัยเดียวกับพระมหาธาตุเจดีย์ศรีป่าสัก และหลวงพ่อลาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เพื่อรำลึกถึงมารดาของท่าน

รวมถึงมีแบบจำลองพระธาตุไจที่โย่ ซึ่งเป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของพม่า ที่คนไทยเรียกว่าพระธาตุอินทร์แขวน โดยเจดีย์นี้ได้รับการสร้างขึ้นบนเนินเขาเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก และผู้คนนิยมไปสักการะที่นั่น นอกจากนี้ ที่ตั้งดังกล่าวยังมองเห็นแม่น้ำป่าสักในมุมกว้าง[4]

ตลอดจนถ้ำพญานาค อันเป็นถ้ำเทียมที่มีห้องต่าง ๆ โดยแต่ละห้องมีรูปปั้นพญานาค (พญานาค "งูศักดิ์สิทธิ์ผู้ยิ่งใหญ่") จำนวนมาก ซึ่งถือเป็นจุดเด่นและลับตาของวัด[5]

นอกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในบริเวณวัดเช่นกัน เช่น อนุสาวรีย์ผู้ประสบภัยทางอากาศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนักในบริเวณนี้เพื่อโจมตีกองทหารญี่ปุ่น เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดพื้นที่แก่งคอยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการขนส่งยุทโธปกรณ์ทางเส้นทางรถไฟ และการโจมตีทิ้งระเบิดใส่กองกำลังญี่ปุ่นที่แก่งคอยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยหลังจากการทิ้งระเบิด ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงเหยื่อของเหตุระเบิดดังกล่าว ข้างอนุสาวรีย์นั้นยังมีแผ่นหินอ่อนที่มีตัวอักษรญี่ปุ่น ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ รวมถึงชื่อของผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะได้รับการจารึกไว้ที่อนุสาวรีย์[4]

ส่วนด้านหน้าอนุสาวรีย์ทั้งสองมีแบบจำลองหัวรถจักร และงานศิลปะที่แสดงพื้นที่แก่งคอยที่ถูกทิ้งระเบิด[4]

ที่ตั้ง แก้

วัดแก่งคอยอยู่บนถนนสุดบรรทัด ตรงข้ามทางออกตลาดแก่งคอย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 เที่ยวตามหมี (2020-07-20). "🐻'เที่ยวตามหมี 2020 🐻 @แก่งคอย #สระบุรี". Facebook (ภาษาthai). สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 เก็บเรื่องมาเล่าโดยหนุ่มสุทน (2020-08-18). "ท่องเที่ยวย้อนรอยประวัติศาสตร์ กราบหลวงพ่อลา วัดแก่งคอย @สระบุรี". TrueID (ภาษาthai). สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. เก็บเรื่องมาเล่า โดยหนุ่ม-สุทน (2020-03-02). "กราบหลวงพ่อลา วัดแก่งคอย จ.สระบุรี" (ภาษาthai). สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Jaitha, Chonthicha. "วัดแก่งคอย". Museum Thailand (ภาษาthai).{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  5. AungAoey (2022-02-04). "ที่เที่ยวสระบุรี Unseen ถ้ำนาคา วังพญานาค วัดแก่งคอย สวยตระการตา ถ้ำใต้บาดาล". TrueID (ภาษาthai). สืบค้นเมื่อ 2023-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้