วัดราชนัดดารามวรวิหาร
วัดราชนัดดารามวรวิหาร หรือ "วัดราชนัดดา" เป็นวัดตั้งอยู่ที่สี่แยกระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาไชย ในเขตพระนคร แปลว่า “วัดของพระราชนัดดา” วัดนี้สร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นพระเกียรติแก่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาในปี 2389[1][2]
วัดราชนัดดารามวรวิหาร | |
---|---|
ทัศนียภาพบริเวณหน้าทางเข้าวัด ซึ่งจะเห็น โลหะปราสาทและอุโบสถ | |
ที่ตั้ง | แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ประเภท | พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | มหานิกาย |
เว็บไซต์ | www.watratchanaddaram.com |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดราชนัดดาราม |
ขึ้นเมื่อ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000039 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389 ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาท แทนการสร้างเจดีย์ นับเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกของไทย โดยสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรมในพระพุทธศาสนา 37 ประการ ยอดปราสาทชั้น 7 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน 67 ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้
สำหรับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดราชนัดดารามนี้ก็ยังเป็นแบบไทย พระอุโบสถเป็นมีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานพระนามว่า "พระเสฏฐตมมุนี" ส่วนพระวิหารก็เป็นศิลปะแบบไทยเช่นกัน ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระนามว่า "พระพุทธชุติธรรมนราสพ"
แต่เดิมโลหะปราสาทไม่ได้ตั้งเด่นเป็นสง่าเมื่อผ่านมาทางถนนราชดำเนินเหมือนในปัจจุบัน เพราะมีการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย หัวมุมถนนราชดำเนิน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกของไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทย โดยอ้างว่าตัวอาคารที่บดบังทัศนียภาพของโลหะปราสาท และวัดราชนัดดา ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายในตอนนั้นที่เริ่มทำลายทิ้งมรดกของคณะราษฎร[3] เพราะตัวอาคารเฉลิมไทยนั้นถือได้ว่าเป็นมรดกคณะราษฎรที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งบนถนนราชดำเนิน ทั้งนี่การทำลายมรดกคณะราฎรถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจยิ่งขึ้น เมื่อที่ตั้งของโรงหนังเดิมถูกกลายเป็นลานพลับพลาเจษฎษบดินทร์ สัญลักษณ์ของกลุ่มกษัตริย์นิยมไปแทน
รูปภาพ
แก้-
พระเสฏฐตมมุนี
-
พระอุโบสถ
-
พระวิหาร
-
ศาลาการเปรียญ
-
ทิวทัศน์หน้าวัดราชนัดดา
-
พระชุติธรรมนราสพ
ระเบียงภาพโลหะปราสาท
แก้-
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
-
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
-
วัดราชนัดดารามวรวิหาร เมื่อครั้นยอดมณฑปยังไม่ได้รับการปิดทอง
-
โลหะปราสาท
-
ยอดมณฑปปิดทองครบแล้วทั้งหมด
-
โลหะปราสาทในปี พ.ศ.2566
-
โลหะปราสาทในตอนกลางคืน มุมจากลานพลับพลาเจษฎษบดินทร์
-
พระบรมสารีริกธาตุบนยอดโลหะปราสาท
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Datta, Rangan (6 November 2022). "A visit to Loha Prasat in Bangkok will fill you with peace, joy and serenity". No. The Telegraph. My Kolkata. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
- ↑ "Wat Ratchanatdaram Worawihan (Loha Prasat)". Amazing Thailand. Tourism Thailand. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
- ↑ "วาทะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เมื่อทุบ "ศาลาเฉลิมไทย" มอง "สถาปัตยกรรมคณะราษฎร" ต่ำทราม".
- ยลโลหะปราสาทหนึ่งเดียวในโลก ที่ "วัดราชนัดดาฯ" เก็บถาวร 2007-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2550 16:02 น.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดราชนัดดารามวรวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์