ลำยอง

(เปลี่ยนทางจาก ช่อฟ้า)

ลำยอง หรือ เครื่องลำยอง คือ ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลม เป็นเครื่องตกแต่งในสถาปัตยกรรมไทยที่นิยมสร้างเฉพาะในวัดและพระที่นั่งต่าง ๆ เท่านั้น

ภาพวาดแสดงเครื่องลำยองและองค์ประกอบหลัก ๆ

ลำยองประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๆ ดังภาพ ได้แก่

  1. ช่อฟ้า
  2. ใบระกา
  3. รวยระกา
  4. งวงไอยรา
  5. นาคสะดุ้ง
  6. หางหงส์
  7. กระจังรวน
  8. บัวจงกล
  9. จั่วบังนก
  10. คันทวย

ลำยองหลังคาหน้าจั่ว

แก้

ลำยองประดับหลังคาและหน้าบัน มีองค์ประกอบดังนี้

ช่อฟ้า

แก้
 
ช่อฟ้าสองชนิดคือช่อฟ้าปากหงส์ (ซ้าย) และช่อฟ้าปากครุฑ (ขวา)

เป็นส่วนซึ่งประดับอยู่ส่วนยอดบนสุดของปลายสันหลังคา

องค์ประกอบของช่อฟ้า
  • ส่วนปลายยอดหรือหงอน
  • ส่วนปาก
  • ส่วนท้อง เรียกว่าอกสุบรรณ
ประเภทของช่อฟ้า
  • ช่อฟ้าแบบปากหงส์ เรียกอีกอย่างว่าปากปลา ลักษณะปลายจะงอยทู่หงายขึ้นยื่นไปข้างหน้า
  • ช่อฟ้าแบบปากครุฑ เรียกอีกอย่างว่าปากนก ลักษณะปลายจะงอยแหลมโค้งและงุ้มลง
  • ช่อฟ้าลาว
  • ช่อฟ้าหัวช้าง
  • ช่อฟ้าหัวนกเจ่า
  • ช่อฟ้าแบบประยุกต์ อื่น ๆ

ใบระกา

แก้

เป็นส่วนของปั้นลมประดับตกแต่งอยู่ระหว่างช่อฟ้าและหางหงส์ มีลักษณะลวดลายปลายเรียว มีหลายลักษณะ เช่นลายน่องสิงห์ ลายหอยจับหลัก ลายกระหนก ลายใบเทศ เป็นต้น มีคติความเชื่อว่าเป็นลักษณะของขนปีกของครุฑ

รวยระกา งวงไอยรา นาคสะดุ้ง

แก้
 
ภาพใบระกา งวงไอยรา นาคสะดุ้ง และหางหงส์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
  • รวยระกา เป็นส่วนที่รองรับใบระกา
  • งวงไอยรา เป็นส่วนที่เกี่ยวงอกับแป
  • นาคสะดุ้ง เป็นรวยระกาส่วนที่โค้งงอต่อจากงวงไอยรายาวไปจนจรดหางหงส์

หางหงส์

แก้

เป็นส่วนปลายสุดของปั้นลม มีหลายแบบได้แก่ แบบทรงนาค แบบนาคเบือน แบบเศียรนาค แบบเหรา ฯลฯ

ลานหน้าบัน

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้