คันทวย หรือ ทวย (อังกฤษ: corbel) คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมทำหน้าที่ค้ำยันชายคา ระเบียง หรือ หลังคาของสิ่งก่อสร้าง

ผังคันทวยไม้ที่ Yingzao Fashi จากตำราการก่อสร้าง

คันทวยในสถาปัตยกรรมตะวันออก แก้

สถาปัตยกรรมไทย แก้

 
คันทวย พระระเบียง วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่

คันทวย หรือ ทวย คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทยทำหน้าที่ค้ำยันชายคา มักแกะสลักหรือหล่อเป็นลวดลายสวยงาม คันทวย มีทั้งที่เป็นไม้ และปูนปั้น ตามแต่ประเภทของอาคาร

คันทวย ทางภาคเหนือ จะเรียกทวยหูช้าง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมติดกับเสาหรือผนัง บนแผ่นไม้มีการสลักลายหรือลายฉลุโปร่ง เป็นรูปนาค ลายดอกไม้ หรือลายต่าง ๆ ตามแต่การออกแบบ

สัดส่วนที่สวยงามของคันทวย คือ 4 คูณ 6 หรือ 4 คูณ 7 หรือ 4 คูณ 8 (4 คือส่วนกว้าง 6 7 และ 8 คือส่วนสูง)

สถาปัตยกรรมจีน แก้

สถาปัตยกรรมของประเทศจีน ตามธรรมเนียมการก่อสร้างของจีนจะเรียกคันทวยว่า “dougong” ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล

คันทวยในสถาปัตยกรรมตะวันตก แก้

 
คันทวยแบบฟื้นฟูกรีกโรมันภายใต้ระเบียงที่เมืองอินเดียแนโพลิส รัฐอินดีแอนา
 
คันทวยโรมาเนสก์ ที่คิลเพ็ค (Kilpeck) อังกฤษ เป็นรูปหมาและกระต่าย

คำว่า คันทวย ในสถาปัตยกรรมตะวันตก คือก้อนหินหรือที่ยื่นออกมาจากผนังหรือกำแพงเพื่อรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างที่ยื่นออกมา ถ้าเป็นทวยไม้ก็จะเรียกว่า “tassel” หรือ “bragger” การใช้คันทวยเริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่มานิยมกันในยุคกลางและสถาปัตยกรรมขุนนางสกอตแลนด์

คำว่า “corbel” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าซึ่งมาจากภาษาละติน “corbellus” แปลว่ากา (นก) แปลงมาจากคำว่า “corvus” ซึ่งหมายถึงลักษณะจะงอยปากนก ฉะนั้นฝรั่งเศสจึงเรียกคันทวยว่า “corbeau” ซึ่งแปลว่านกกา และ “cul-de-lampe” สำหรับคันทวยที่อยู่ภายนอกอาคารที่ใช้รองรับหลังคา หรือ “modillon” สำหรับคันทวยที่รองรับน้ำหนักภายในสิ่งก่อสร้าง

การใช้คันทวยในการตกแต่ง แก้

คันทวยของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์มักจะเรียบแต่จะมีการแกะสลักเป็นรูปหน้าคน หัวสัตว์ หรือสัตว์ในจินตนาการ อย่างที่วัดคิลเพ็ค (Kilpeck) อังกฤษที่ยังมีคันทวยจากสมัยนั้นเหลืออยู่เกือบทั้งหมด--85 คันทวยจากเดิม 91

ในสมัยสถาปัตยกรรมอังกฤษตอนต้นประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 การแกะสลักคันทวยก็เริ่มหรูหราขึ้นเช่นคันทวยที่มหาวิหารลิงคอล์น บางครั้งคันทวยก็จะดูเหมือนงอกออกมาจากกำแพงรองรับด้วยเทวดาหรือรูปสลักอื่นๆ สมัยต่อมาก็มีการแกะคันทวยเป็นใบไม้หรือรูปตกแต่งอื่น ๆ ซึ่งคล้ายกับการแกะหัวเสา

คันทวยที่รับน้ำหนักระเบียงในประเทศอิตาลี หรือ ประเทศฝรั่งเศส จะค่อนข้างใหญ่กว่าและตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าอย่างเช่นคันทวย “Cinquecento” จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในอังกฤษจะใช้คันทวยในการก่อสร้างบ้านไม้แบบที่เรียกว่า “half-timber” เพื่อรับน้ำหนักชั้นบนที่มักจะยื่นออกมาจากชั้นล่าง

ฐานคันทวย แก้

ฐานคันทวย (corbel table) คือบัวแนวคันทวยที่ยื่นออกมาซึ่งมักจะใช้รองรับรางน้ำ แต่บริเวณลอมบาร์ดึทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีจะใช้ฐานคันทวยเป็นเครื่องตกแต่งสิ่งก่อสร้างเช่นใช้แบ่งสิ่งก่อสร้างเป็นชั้นๆ หรือตกแต่งกำแพงที่ว่างเปล่า

การใช้ฐานคันทวยในประเทศอิตาลีหรือฝรั่งเศสมักจะทำกันอย่างซับซ้อนบางครั้งก็จะเป็นคันทวยซ้อนกันหลายชั้นเช่นในการทำฐานรับเชิงเทินบนป้อม (machicolation) ของปราสาททั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส

ในการก่อสร้างปล่องไฟสมัยใหม่จะใช้ฐานคันทวยในการก่อสร้างปล่องเป็นฐานคอนกรีตรอบภายในปล่องรับด้วยคันทวย คันทวยอาจจะหล่อพร้อมคอนกรีต หรือเป็นคันทวยสำเร็จรูป



อ้างอิง แก้

  • สมคิด จิระทัศนกุล วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544. ISBN 974-600-681-9

แหล่งข้อมูลอื่น แก้