วัดบึงทองหลาง (กรุงเทพมหานคร)
วัดบึงทองหลาง เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่มีอดีตเกจิคณาจารย์อย่างพระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) ศิษย์สำนักวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร โดยสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) ในฐานะพระอุปัชฌาย์ และพระศรีสมโพธิ (แพ ติสสเทวมหาเถร {พ.ศ. 2399-2487} ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ส่งพระภิกษุพัก ธมฺมทตฺโต ในขณะนั้น มาพัฒนา ปกครองดูแลวัดบึงทองหลางในอดีต และพระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) ได้วางรากฐานและพัฒนาวัดบึงทองหลางให้มีความเจริญก้าวหน้า ดังเช่นปัจจุบัน
วัดบึงทองหลาง | |
---|---|
วัดบึงทองหลาง | |
ชื่อสามัญ | วัดบึงทองหลาง, วัดบึง |
ที่ตั้ง | เลขที่ 291 ถนนลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 |
ประเภท | เถรวาทมหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ |
ความพิเศษ | วัดราษฎร์ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้ตามประวัติวัดบึงทองหลางไม่ปรากฏหลักฐานในเชิงเอกสารอย่างชัดเจน เท่าที่พอสืบค้นได้พบว่าวัดบึงทองหลาง เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลความเจริญและเป็นวัดที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงตลอดทั้งปี ใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลย ต่อมามีพระภิกษุธุดงค์มาปักกลดอาศัยปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจึงได้พากันมาทำบุญ ประหนึ่งเป็นจุดศูนย์รวมศรัทธา เมื่อมีพระธุดงค์สลับผ่านไปมาบ่อย ๆ ชาวบ้านจึงมาทำบุญและช่วยกันสร้างกุฏิสงฆ์ให้ท่านพักอยู่ โดยนายนิ่มและนางทองอยู่ เป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ. 2419 และชาวบ้านก็ได้ร่วมมือกันสร้างอุโบสถขึ้นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2430 พร้อมทั้งช่วยกันทำนุบำรุงรักษาวัดให้พัฒนาเจริญสืบมา[1]
ถาวรวัตถุเสนาสนะภายในวัด
แก้1.อุโบสถหลังเก่าเริ่มจัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2462-2466 ในสมัยหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต
2.อุโบสถทรงไทยประยุกต์ รูปเรือสำเภา เริ่มจัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2522
3.หอระฆัง
4.เมรุ
5.ศาลาคู่เมรุ
พระพรศรีสุเวสสุวรรณ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีหลักฐานที่พอจะสันนิษฐานได้ว่า จัดสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 1 โดยวัตถุที่จัดสร้างเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปเป็นปางมารวิชัย เกศอุณาโลมเปลวเพลิง หน้าตัก 3 ศอก เป็นพระประธานอุโบสถวัดบึงทองหลางมาเป็นเวลาเกือบ 100 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนกระทั่งมีการจัดสร้างอุโบสถหลังใหม่ และตัดลูกนิมิตเมื่อ พ.ศ. 2545 และปรับอุโบสถหลังเก่า ให้เป็นวิหาร ที่ประดิษฐานหลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณแทน ดังปรากฏในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาพระพุทธรูปองค์นี้ เคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทวราชกุญชร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา หลวงปู่เมื่อคราวสร้างอุโบสถ ยังหาพระหาพระประธานไม่ได้ จึงไปพบเจ้าคุณอาจารย์ทิม ซึ่งเป็นคนย่านวัดบึงทองหลางเช่นกัน พร้อมทั้งเป็นคู่สวดหลวงปู่พัก ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ส่งไปครองวัดเทวราชกุญชร ด้วยความสนิทสนมในฐานะศิษย์อาจารย์ และคนทุ่งวังทองหลาง บ้านเกิดท่านเจ้าคุณ หลวงปู่จึงไปพบและขอพระพุทธรูป เพื่อมาประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถวัดบึงทองหลาง ซึ่งเจ้าคุณทิม ท่านก็ได้เลือกเอาจากที่วัด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จึงจุดธูป เพื่ออันเชิญ แต่ธูปไม่ติด จนกระทั่งไปพบพระพุทธรูปองค์พระ “หลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ” ที่ถูกอยู่ศาลารายล้อมอุโบสถ และติดกับน้ำ ถูกน้ำเซาะจนฐานเอน หลวงปู่จึงรู้สึกเหมือนมีอะไรมาดลใจ จุดธูปเทียน เพื่อบูชาอัญเชิญ ธูปเทียนกลับลุกสว่างโชติช่วง หลวงปู่พัก ธัมมทัตโต จึงเลือกพระพุทธรูปองค์ ที่ให้ชื่อเรียกในภายหลังจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในภายหลังว่า "พระพรศรีสุเวสสุวรรณ"
พร้อมทั้งขอหลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ จากเจ้าคุณทิม (ในนหนังสือประวัติวัดเทวราชกุญชร มีบันทึกเรียกว่าเพียงว่ามหาทิม) [3] เจ้าคุณจึงถามหลวงปู่กลับว่าองค์สวย ๆ มีเยอะแยะทำไม่เลือกเอาไป หลวงปู่ตอบว่า “สงสาร” หลวงปู่พัก จึงนำพระพุทธรูปดังกล่าว กลับมายังวัดบึงทองหลาง โดยการนำใส่เรือเมล์ (เรือขาวนายเลิศ) ที่วิ่งระหว่างพระนคร-ประตูน้ำ จากประตูน้ำ บางกะปิ อีกทอดหนึ่งเพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดบึงทองหลาง พระพรศรีสุเวสสุวรรณจึงได้มาเป็นพระธานประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดบึงทองหลาง เมื่อหลวงปู่ได้เริ่มสร้างอุโบสถในปี พ.ศ. 2462 และแล้วเสร็จตัดลูกนิมิต เมื่อ พ.ศ. 2466
ที่ดินธรณีสงฆ์วัดบึงทองหลาง
แก้หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต นับได้ว่าเป็นพระเถระที่มาบุกเบิกวัดบึงทองหลาง อย่างแท้จริง ด้วยในช่วงสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้จัดหาที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไว้เป็นสมบัติของวัดบึงทองหลางจำนวนมาก ร่วมประมาณ 300 ไร่ ในปัจจุบัน และได้มีการจัดมอบให้เป็นที่อยู่อาศัย แก่ประชาชนในนามวัดบึงทองหลาง ทำหน้าที่สงเคราะห์ประชาชน ให้เป็นสถานศึกษาโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียนอันประกอบด้วย โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (ประถมศึกษา) โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง (ระดับมัธยมศึกษา 1-6) และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ฯ (ระดับอาชีวะ ปวช. / ปวส.) และจัดมอบให้เป็นที่ทำธสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดทำถนนเส้นเชื่อมระหว่างวัดบึงทองหลาง กับถนนลาดพร้าว หรือถนนเส้นหน้าวัดบึงทองหลาง ซอย 101 ในปัจจุบัน เป็นต้น โดยที่ดินที่ปรากฏหลักฐานเป็นสินทรัพย์ของวัดบึงทองหลางในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1.ที่ดินแปลงตั้งวัดเรียกว่าที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ประมาณ 60 ไร่ อันเป็นสถานที่จัดสร้างศาสนวัตถุที่พัฒนามาพร้อมกับเวลา เช่น อุโบสถ 1 หลัง วิหาร 2 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาสวดศพกว่าประมาณ 16 หลัง กุฏิที่พำนักสงฆ์กว่า 30 หลัง ที่จอดรถ เมรุเผาศพ 4 เตาเผา เป็นต้น
2.ที่ดินแปลงตั้งโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง ประมาณ 30 ไร่
3.ที่ดินแปลงตั้งโรงเรียนวัดบึงทองหลาง ประมาณ 30 ไร่
4.ที่ดินแปลงตั้งวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ประมาณ 30 ไร่
5.ที่ธรณีสงฆ์แปลงถนนลาดพร้าว 101 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชน 101 บึงทองหลาง (หน้าวัด) ที่ตั้ง..ถนนลาดพร้าว ซอย 101 เขตบางกะปิ มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 27 ไร่ ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. 2518 ? และได้รับการจดทะเบียนเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (1992) ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 210+ ครอบครัว 798+ คน
6.ที่ธรณีสงฆ์แปลง ลาดพร้าว 87 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชนจันทราสุข ตั้งอยู่ถนนลาดพร้าว ซอย ๘๗ เขตวังทองหลาง มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 24.07 ไร่ เข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. 2518 และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชน โดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 218+ ครอบครัว 766+ คน
7. ที่ธรณีสงฆ์แปลงรามอินทรา ซอยวัชรพล (ท่าแร้ง) มีเนื้อที่ จำนวน 25 ไร่ จัดสรรค์ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย เรียก ชุมชนวัชรปราณี (ท่าแร้ง) ถนนรามอินทรา ซอยวัชรพล (ห้าแยกวัชรพล) แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2520? และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 225+ ครอบครัว 804+ คน
8. ที่ธรณีสงฆ์แปลงเรียบถนนเกษตร-นวมินทร์ แปลงถนนเกษตรศาสตร์-นวมินทร์ ประมาณ 65 ไร่ จำนวน 2 โฉนด คือ 1125 เนื้อที่ทั้งหมด 43 ไร่ 1 งาน 72 วา (ถูกเวนจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 21.7 วา คงเหลือ 39 ไร่ 50.3 วา) และโฉนดเลขที่ 1126 จำนวน 27 ไร่ 1 งาน 96 วา (ถูกเวนคืน 2 ไร่ 6.6 วา คงเหลือ 25 ไร่ 1 งาน 89.4 วา) ปัจจุบันให้เอกชนเช่า [บุญถาวร สาขาเกษตรนวมินทร์]
9. ที่ธรณีสงฆ์แปลง โฉนดเลขที่ ๘๗๓ เลขที่ดิน ๒๗ ตำบลวังทองหลาง (คลองจั่น) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๘๐ ตารางวา
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้- พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)[4] ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2445- พ.ศ. 2501
- พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส)[5] ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2501- พ.ศ. 2546
- พระครูสุจิตวิมล (จวง สุจิตฺโต) ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2546 - 25 สิงหาคม 2564
- พระอธิการสาธิต สุขกาโม (อาจารย์หนู) ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส 25 สิงหาคม 2564 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ 12 กันยายน 2564
ที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | สมณศักดิ์ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)
สมเด็จพระวันรัตน์ (แดง ยสสีโล) วัดสุทัศนเทพวราราม พระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สมเด็จพระสังฆราชแพ) อนุสาวนาจารย์ |
เจ้าอาวาส
เจ้าคณะแขวงบางกะปิ ตาม พรบ สงฆ์ ๒๔๘๔ (เทียบเท่าเจ้าคณะเขตในปัจจุบัน) |
พระครูสัญญาบัตร อุปัชฌาย์ | พ.ศ.2445 | พ.ศ. 2501 | 1.ริเริ่มจัดสร้างโรงเรียนวัดบึงทองหลางในที่ธรณีสงฆ์ของวัดบึงทองหลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ทั้งอุปถัมภ์ และสนับสนุนงบประมาณ
2.วางรากฐานวัดบึงทองหลาง จัดหาที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ให้เป็นสมบัติของวัดบึงทองหลาง ประมาณ 300 ไร่ ในปัจจุบัน 3.สร้างศาสนทายาท ผ่านการศึกษาอบรมที่วัดบึงทองหลาง จนมีผู้เคารพนับถือหลวงปู่พัก จนกระทั่งปัจจุบัน 4.พัฒนาคนผ่านสถาบันการศึกษาหลายสิบรุ่น หลายพันคน ผ่านโรงเรียนวัดบึงทองหลาง เมื่อ พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน 5.สร้างเสนาสนะภายในวัดบึงทองหลางให้เป็นสมบัติของวัดและพระพุทธศาสนา ตั้แต่มาอยู่วัดบึงทองหลางตั้งแต่ พ.ศ. 2445 จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. 2501 เช่น อุโบสถ 100 ปี สร้าง พ.ศ. 2463 ที่ยังหลงเหลืออยู่ที่วัดบึงทองหลาง ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิที่พักสงฆ์ เป็นต้น 6. จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น พ.ศ. 2484-2485 7. จัดสร้างวัตถุมงคล พ.ศ. 2497 8. จัดสร้างวัตถุมงคล พ.ศ. 2501 | |
พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส)
พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พระอุปัชฌาย์ |
เจ้าอาวาส /ประธานมูลนิธิพระครูธรรมสมาจารย์/ประธานมูลนิธิพระครูพิศาลวิริยคุณ | พระครูสัญญาบัตร อุปัชฌาย์ | พ.ศ. 2501 | พ.ศ. 2546 | - ริเริ่มขอรับบริจาคที่ดิน เพื่อตัดถนนเส้นลาดพร้าว เชื่อมกับวัดบึงทองหลาง ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ. 2508
- ริเริ่มจัดสร้างโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง เมื่อ พ.ศ. 2522 - ริเริ่มจัดสร้างอุโบสถทรงเรือสำเภา เมื่อ พ.ศ. 2522 - ริเริ่มจัดสร้างวิทยาศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ เมื่อ พ.ศ. 2534 - จัดสร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดโสภาราม อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย - จัดสร้างศูนย์การศึกษาพิเศษ มูลค่ารวม 11 ล้านบาท ต.ปากแคว อ.เมือง จ.สุโขทัย | |
พระครูสุจิตวิมล (จวง สุจิตฺโต)
มี พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) เป็นกรรมวาจารย์ (คู่สวด) พระสุวัฒน์ สุทินฺโน (เทศกาล) เป็นอนุสาวนาจารย์ (คู่สวด) |
เจ้าอาวาส | พระครูสัญญาบัตร | พ.ศ. 2546 | 25 สิงหาคม 2564 | มรณภาพด้วยโรคอุบัติใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 | |
พระครูสังฆรักษ์สาธิต (หนู) สุขกาโม
มี พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุจิตวิมล (จวง สุจิตฺโต) เป็นกรรมวาจารย์ (คู่สวด) |
เจ้าอาวาส | ฐานานุกรม ที่พระครูสังฆรักษ์ ในพระราชธรรมาภรณ์ | 12 กันยายน 2564 | ปัจจุบัน | 26 สิงหาคม 2564 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส
12 กันยายน 2564 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส 24 ธันวาคม 2564 ได้รับแต่งตั้งฐานานุกรม ที่พระครูสังฆรักษ์ ในพระราชธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ฯ โดยมีพระวิสุทธาธิบดี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นประธานในการมอบ |
- สถิติพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ของวัดบึงทองหลาง
พรรษา/ปี | แม่ชี | สามเณร | พระนวกะ | พระเก่า | รวม |
---|---|---|---|---|---|
2554 | 10 | 1 | 28 | 113 | 141 |
2555 | 10 | 1 | 30 | 110 | 140 |
2556 | 10 | - | 21 | 115 | 136 |
2557 | 10 | - | 35 | 111 | 145 |
2558 | 10 | - | 35 | 111 | 145 |
2559 | 10 | - | 21 | 113 | 144 |
2560 | 10 | - | 29 | 123 | 152 |
2561 | 10 | - | 29 | 129 | 158 |
2562 | 10 | - | 18 | 128 | 146 |
2563 | 10 | - | 14 | 127 | 141 |
2564 | 10 | - | 20 | 127 | 147 |
2565 | 10 | 2 | 7 | 118 | 137 |
2566 | 4 | 2 | 4 | 120 | 130 |
2567 | 2 | 2 | 5 | 112 | 121 |
เถราจารย์วัดบึงทองหลาง และเถราจารย์ชาววัดบึงทองหลาง
- หลวงปู่หนอ โสภณธมฺโม เถราจารย์ชาวสวรรคโลก น้องชายหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต
- หลวงปู่ทิม ชาววัดบึงทองหลาง เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร
- พระราชสิทธิวิมล (ถนอม ธมฺมฐิติ สกุล กันพิทักษ์) (เกิด พ.ศ. 2479/อายุ 85 ปี)
- พระครูพิทักษ์ถิรธรรม (ถีร์ ฤทธิกุล) (30 ธันวาคม พ.ศ. 2473-31 ธันวาคม 2554 อายุ 81 ปี)
- พระครูวิบูลวิหารกิจ (สนม คุ้มเดชา) (เกิด 21 มกราคม 2478-ธันวาคม 2548 อายุ 70 ปี)
ที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | สมณศักดิ์ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
พระราชสิทธิวิมล (ถนอม ธมฺมฐิติ)
มีพระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) เป็นพระกรรมวาจารย์ (คู่สวด) |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม |
พระครูสัญญาบัตร
พระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช |
สามเณรถนอม กันพิทักษ์ (เกิด พ.ศ. 2479/อายุ 85 ปี) | |||
มหาทิม หรือ เจ้าคุณทิม[6] วัดเทวราชกุญชร ในประวัติแจ้งว่าเป็นลูกหลานชาววัดบึงทองหลาง ที่ไปบวชแต่วัดสุทัศนเทพวราราม และถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร จึงเป็นที่มาของพระพุทธรูปหลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ ณ อุโบสถร้อยปีหลวงปู่พัก | อดีตเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร | ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร |
| |||
หลวงปู่แถม (หนอ) โสภณธมฺโม
เถราจารย์วัดบึงทองหลาง ชาวสวรรคโลก น้องชายหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต |
||||||
พระครูวิบูลวิหารกิจ (สนม คุ้มเดชา)
มีพระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ |
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม |
พระครูสัญญาบัตร | ปัจจุบัน | สามเณรสนม คุ้มเดชา (เกิด 21 มกราคม 2478-ธันวาคม 2548 อายุ 70 ปี) | ||
พระครูพิทักษ์ถิรธรรม (ถีร์)
มีพระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ |
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาส
เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม |
พระครูสัญญาบัตร | พระครูพิทักษ์ถิรธรรม (ถีร์) เติบโตมาจากสามเณรถีร์ ฤทธิกุล
สามเณรถีร์ ฤทธิกุล (30 ธันวาคม พ.ศ. 2473-31 ธันวาคม 2554 อายุ 81 ปี) |
- สถิติพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ของวัดบึงทองหลาง
วัตถุมงคลของวัดบึงทองหลาง และหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต
แก้1. จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น พ.ศ. 2484-2485 หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต
2. จัดสร้างวัตถุมงคล พ.ศ. 2497 หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต
3. จัดสร้างวัตถุมงคล พ.ศ. 2501 หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต
ปฏิทินกิจกรรม ตลอดทั้งปี
แก้- มกราคม 1 มกราคม ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่
- กุมภาพันธ์ มาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
- มีนาคม ทำบุญวันตรุษไทย (แรม 15 ค่ำ เดือน 4)
- เมษายน งานประจำปีปิดทองพระ/ไหว้หลวงปู่พัก (ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี)
- เมษายน 13 เมษายน ทำบุญวันสงกรานต์ สรงน้ำพระ ทำบุญอุทิศบรรพบุรุษ
- พฤษภาคม วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6)
- พฤษภาคม เทศน์มหาชาติ (วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6)
- กรกฎาคม อาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)
- กรกฎาคม เข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8)
- ก.ค.-ต.ค. ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ (ตลอดพรรษา)
- กรกฎาคม-กันยายน วันบูรพาจารย์ ทำบุญอุทิศหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต อดีตเจ้าอาวาส แรม 15 ค่ำ เดือน 8
- ตุลาคม ทำบุญวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)
- ตุลาคม ทอดกฐิน (วันอาทิตย์แรกนับแต่วันออกพรรษา)
- พฤศจิกายน ลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
- ธันวาคม 31 มกราคม สวดมนต์ข้ามปี
- ตลอดทั้งปี สมาทานถือศีลอุโบสถ (ทุกวันพระ)
- ตลอดทั้งปี สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ทุกวันศุกร์-เสาร์
- ตลอดทั้งปี ปฏิบัติธรรมประจำเดือน (1-10 ของทุกเดือน)
อ้างอิง
แก้- ↑ ดร.พิเชฐ ทั่งโต,ปกิณกะคำสอนหลวงพ่อโต, (กรุงเทพ ฯ ,สำนักพิมพ์สินธนา,2549 : พิมพ์เนื่องในงานครบรอบ 80 ปี พระครูพิศาลวิริยคุณ) หน้า 100-112
- ↑ หลักฐานใน พระราชพงศาวดารและจารึกวัดพระเชตุพน ในสมัยรัชกาลที่ 1 กล่าวถึงการรวบรวมพระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2337 ว่าเป็นการกระทำเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป ด้วยการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระพุทธรูปที่ปรักหักพังจากหัวเมืองเหนือ คือสุโขทัย พิจิตร สวรรคโลก ลพบุรี และอยุธยา ลงมาปฏิสังขรณ์ จากนั้นก็ให้ประดิษฐานไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ จำนวน 1,248 องค์ บางส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายให้เชื้อพระวงศ์ หรือข้าราชการคนอื่นๆ นำไปบูชา ประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ วิราวรรณ นฤปิติ. (2560). การเมืองเรื่องพระพุทธรูป. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
- ↑ พระมหาทิม หรือเจ้าคุณทิม แต่เดิมอยู่วัดสุทัศนเทพวราราม เช่นเดียวกับหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต และถูกส่งมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรในภายหลัง รวมทั้งเป็นคู่สวดหลวงปู่พักด้วย มีข้อมูลว่าเป็นชาววัดบึงทองหลาง บางกะปิ กรุงเทพ จนกระทั่งหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต หรือ พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) ถูกส่งมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง (พ.ศ. 2445-2501) โดยสมเด็จพระสังฆราชแพ เมื่อมาอยู่แล้วได้ดำริสร้างอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2462 จึงได้จัดหาพระประธาน จึงได้มาพบปรึกษากับเจ้าคุณทิม ในฐานะคนวัดบึงทองหลางและเป็นครูอาจารย์ โดยได้อนุญาตให้หลวงปู่พัก เลือกพระพุทธรูปจากวัดเทวราชกุญชร ไปเพื่อเป็นพระประธานในอุโบสถ โดยที่สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นผู้ตั้งชื่อพระประธานนี้ว่า "หลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ" ด้วยหลวงปู่พักเคยอยู่จำพรรษาวัดสุทัศน์ และมีสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นพระคู่สวด (หนังสือที่ระลึกงานสมโภชน์ยกช่อฟ้าและฉลองมณฑปธรรมสมาจารย์นุสรณ์ วัดบึงทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. วันที่ 30 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2552,กรุงเทพ ฯ , สำนักพิมพ์ธรรมสภา,2552, หน้า 20-30).
- ↑ หนังสือที่ระลึกงานสมโภชน์ยกช่อฟ้าและฉลองมณฑปธรรมสมาจารย์นุสรณ์ วัดบึงทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. วันที่ 30 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2552,กรุงเทพ ฯ , สำนักพิมพ์ธรรมสภา,2552, หน้า 20-30.
- ↑ ดร.พิเชฐ ทั่งโต,ปกิณกะคำสอนหลวงพ่อโต, (กรุงเทพ ฯ ,สำนักพิมพ์สินธนา,2549 : พิมพ์เนื่องในงานครบรอบ 80 ปี พระครูพิศาลวิริยคุณ) หน้า 110-111
- ↑ พระมหาทิม หรือเจ้าคุณทิม แต่เดิมอยู่วัดสุทัศนเทพวราราม เช่นเดียวกับหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต และถูกส่งมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรในภายหลัง รวมทั้งเป็นคู่สวดหลวงปู่พักด้วย มีข้อมูลว่าเป็นชาววัดบึงทองหลาง บางกะปิ กรุงเทพ จนกระทั่งพระครูธรรมสมาจารย์ (หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต) ถูกส่งมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง (พ.ศ. 2445 - 2501) โดยสมเด็จพระสังฆราชแพ เมื่อมาอยู่แล้วได้ดำริสร้างอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2462 จึงได้จัดหาพระประธาน จึงได้มาพบปรึกษากับเจ้าคุณทิม ในฐานะคนวัดบึงทองหลางและเป็นครูอาจารย์ โดยได้อนุญาตให้หลวงปู่พัก เลือกพระพุทธรูปจากวัดเทวราชกุญชร ไปเพื่อเป็นพระประธานในอุโบสถ โดยที่สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นผู้ตั้งชื่อพระประธานนี้ว่า "หลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ" ด้วยหลวงปู่พักเคยอยู่จำพรรษาวัดสุทัศน์ และมีสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นพระคู่สวด (หนังสือที่ระลึกงานสมโภชน์ยกช่อฟ้าและฉลองมณฑปธรรมสมาจารย์นุสรณ์ วัดบึงทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. วันที่ 30 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2552,กรุงเทพ ฯ , สำนักพิมพ์ธรรมสภา,2552, หน้า 20-30).