วัดท่าหลวง (จังหวัดพิจิตร)

วัดในจังหวัดพิจิตร
(เปลี่ยนทางจาก วัดท่าหลวง (พิจิตร))

วัดท่าหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีแม่น้ำน่านไหลผ่านด้านหน้าวัด ตั้งอยู่บนถนนบุษบา ตำบลในเมือง เดิมชื่อ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

วัดท่าหลวง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดราชดิตถารา
ที่ตั้งหมู่ที่ 11 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
ประเภทมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อเพชร
เจ้าอาวาสพระราชสิทธิเวที รศ.ดร. (วิรัติ วิโรจโน/วะสะศิริ ป.ธ.4, ค.บ., รป.ม., กศ.ม., รป.ด., พธ.ด.)
จุดสนใจพระอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปที่มีความงดงามและเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

อาณาเขต

แก้
  • ทิศเหนือ ติดกับที่ตั้งของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร (เดิมเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 หลัง้เก่า และที่ตั้งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร เก่า)
  • ทิศใต้ ติดกับที่ทำการไปรษณีย์พิจิตร
  • ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำน่าน
  • ทิศตะวันตก ติดกับถนนศรีมาลา ตรงกันข้ามเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเมืองพิจิตร เรือนจำจังหวัดพิจิตร และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร

ประวัติวัดท่าหลวง

แก้

วัดท่าหลวง พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 674 ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000 เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 4 หนเหนือ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่จำนวน 46ไร่ 3 งาน17.4 ตารางวา น.ส. 3 ก เลขที่ 470, 471 น.ส. 3 เลขที่ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลงมีเนื้อที่จำนวน 30 ไร่ 2 งาน 42 ตารางวา อยู่ที่ตำบลในเมือง และ ตำบลหนองปลาไหลแห่งละหนึ่งแปลง ตั้งวัดพุทธศักราช 2388ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2492 เขตแดนวิสุงคามสีมา กว้าง 9 เมตร ยาว 26 เมตร เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อพุทธศักราช 2510 - 2513 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อพุทธศักราช 2529 นี้มีมาก่อนที่จะย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันแต่เดิมมีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในป่าพงละเมาะไม้ในเขตหมู่บ้านท่าหลวงอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตรซึ่งในขณะนั้นที่ตั้งตัวเมืองพิจิตรอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าห่างจากตัวเมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ8 กิโลเมตรและได้ย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรเป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด พุทธศักราช 2388 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดท่าหลวง ชื่อของวัดตั้งขึ้นตามชื่อตำบลอันเป็นที่ตั้ง (ในสมัยนั้น) นอกจากนี้วัดท่าหลวงยังมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดราชดิตถาราม แต่ไม่ได้รับความนิยมนำมาใช้เรียกขาน วัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เป็นพระประธานประจำวัด พื้นที่ของวัดมีลักษณะพิเศษคือ ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีถนนบุษบาคั่นระหว่างกลางในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ฝากตะวันออก เป็นเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญเป็นหลัก ส่วนฝากตะวันตกนั้น ประกอบด้วยเขตสังฆาวาส โรงเรียนปริยัติธรรม เขตประกอบฌาปนกิจ และเขตปฏิบัติธรรมของฆราวาส เป็นหลัก โดยมีการอัญเชิญหลวงพ่อพัฒน์ (พัด) พระประธานองค์เดิม มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพื้นที่ ซึ่งเรียกตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัดอยู่ คำว่า "ท่าหลวง" นั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านท่าหลวง คลองท่าหลวง ตำบลท่าหลวง และเคยเป็นชื่อของอำเภอท่าหลวงมาก่อน ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2481เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบันทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดท่าหลวงในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ ฝากตะวันตกวัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ หลวงพ่อเพชรและหลวงพ่อพัฒน์ (พัด)

หลวงพ่อเพชร

แก้

องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม และทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย พระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกหล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร สังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว สูง 3 ศอก 3 นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช 1660 ถึง 1880 สร้างมาแล้วประมาณ 882 ปี เมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจ"หลวงพ่อเพชร"ให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่"หลวงพ่อเพชร"ที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ

ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชร

แก้

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทอง เมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจอมทอง แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หาพระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามแม่น้ำปิง และหลังจากนั้นได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30 - 18.00 น.

ประเพณีประจำปี

แก้
 
แม่น้ำน่านบริเวณด้านข้างวัด

ประเพณีของวัดท่าหลวง เริ่มตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ประมาณ พ.ศ. 2450 ในการจัดรางวัลการแข่งขันเรือยาวประเพณีนั้น ในสมัยหลวงพ่อเอี่ยมและต้นสมัยหลวงพ่อไป๋นั้น จัดผ้าห่มหลวงพ่อเพชรพับใส่พานให้เป็นรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศแก่เรือยาวเมื่อเรือยาวลำใดได้ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรไปแล้ว วัดท่าหลวงเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ช่วงต้นเดือนกันยายน ในวันแรม 6 ค่ำ เดือน 10 และจัดแข่งขันเพียงวันเดียว ประชาชนให้ความสนใจมาชมงานอย่างคับคั่งล้นหลามตลอดมา เพราะวัดท่าหลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตรเพียงวัดเดียวเท่านั้น และต่อมามีการเพิ่มวันในการจัดงานให้มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัล เนื่องในการแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร รายได้จากการจัดงาน ก็มากขึ้นมีผลให้เงินสุทธิของงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรก็จะนำรายได้สุทธิจากงานนั้นส่วนหนึ่งถวายวัดท่าหลวง ทางวัดได้นำเงินจำนวนนี้บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดท่าหลวง

ความสำคัญ

แก้

มวลสารจากวัดท่าหลวง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงนำมาใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

16°26′24″N 100°21′08″E / 16.440026°N 100.352312°E / 16.440026; 100.352312