ลายอาหรับ

(เปลี่ยนทางจาก ลายอะราเบสก์)

ลายอาหรับ หรือ ลายอะราเบสก์[1] (อังกฤษ: Arabesque) คือลวดลายตกแต่งที่มีลักษณะเป็นลวดลายเรขาคณิต หรือลวดลายวิจิตรที่ทำซ้ำซ้อนเรียงกันเป็นแนวที่มักจะเลียนแบบพรรณไม้หรือสัตว์[2] “ลายอาหรับ” หรือ “Arabesques” ตามชื่อแล้วคือลักษณะลวดลายของศิลปะอิสลามที่พบในการตกแต่งผนังมัสยิด ลวดลายที่เป็นทรงเรขาคณิตเป็นลวดลายที่เลือกใช้จากพื้นฐานทัศนของอิสลามที่มีต่อโลก สำหรับชาวมุสลิมแล้วลวดลายทรงการตกแต่งดังว่าเป็นลวดลายที่ต่อเนื่องเลยไปจากโลกที่เราอยู่ หรือเป็นลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของความไม่สิ้นสุด ฉะนั้นศิลปินอาหรับจึงสื่อความหมายของจิตวิญญาณโดยไม่ใช้ไอคอนเช่นที่ใช้ในศิลปะของคริสต์ศาสนา

“ลายอาหรับ” ที่อาลัมบรา

ถ้ามีลวดลายที่ผิดไปก็อาจจะเป็นการจงใจทำของศิลปินเพื่อที่จะแสดงถึงความถ่อมตัวของศิลปินผู้ที่มีความเชื่อว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่จะทรงเป็นผู้ที่สามารถสร้างความสมบูรณ์แบบได้ แต่สมมุติฐานนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่[3][4][5]

ประวัติ

แก้

งานศิลปะเชิงเรขาคณิตในรูปแบบเชิงอาหรับไม่ได้ใช้กันโดยทั่วไปในตะวันออกกลาง หรือบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมาจนกระทั่งถึงสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของยุคทองของอิสลาม ในช่วงนั้นหนังสือคณิตศาสตร์ของกรีกโบราณและอินเดียได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับที่ “บ้านแห่งมันตา” (بيت الحكمة‎ - House of Wisdom) หรือ “บัยต อัล หิกมะห์” ในแบกแดดที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาการปรัชญาของโลกมุสลิม เช่นเดียวกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรปที่ตามมา ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วรรณกรรมและประวัติศาสตร์เผยแพร่เข้าไปในสังคมของมุสลิมอย่างแพร่หลาย

งานของนักปราชย์โบราณเช่นเพลโต, ยูคลิด, อารยภาตะ (Aryabhata) และพราหมคุปตะ (Brahmagupta) ได้รับการศึกษากันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้มีการศึกษา และมีการทำการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากความต้องการของศาสนาอิสลามในการคำนวณกิบลัต เวลาประกอบกิจละหมาดและรอมะฎอน[6] ปรัชญาของเพลโตที่เกี่ยวกับการมีอยู่ของความเป็นจริงที่แยกออกไปจากสิ่งอื่นที่เป็นความเป็นจริงอันสมบูรณ์แบบทั้งในทางรูปทรงและลักษณะ, ทฤษฎีเรขาคณิตของยูคลิดที่ขยายความโดยอัล-อับบาส อิบุน ซาอิด อัล-ยาวารี (العباس بن سعيد الجوهري‎ - Al-Abbās ibn Said al-Jawharī) (ราว ค.ศ. 800ค.ศ. 860) ใน “ความเห็นเกี่ยวกับทฤษฎีของยูคลิด”, ตรีโกณมิติโดยอารยภาตะและพราหมณคุปตะที่ขยายความโดยอัลคอวาริซมีย์ (محمد بن موسی خوارزمی - Al-Khwārizmī) (ค.ศ. 780[7][8][9]-ค.ศ. 850) และการพัฒนาทฤษฎีเรขาคณิตทรงกลม[6] โดยอะบู อัลวาฟา บัซจานี (ابوالوفا بوزجانی‎ - Abū al-Wafā' Būzjānī) (ราว ค.ศ. 940ค.ศ. 998)

และทฤษฎีตรีโกณมิติทรงกลม[6] โดย อัล-ไจยานี (Al-Jayyani) (ราว ค.ศ. 989ค.ศ. 998)[10] ในการกำหนกิบลัต เวลาประกอบกิจละหมาดและรอมะฎอน[6] ต่างก็เป็นพื้นฐานที่เป็นแรงผลักดันในการสร้าง “ลวดลายอาหรับ” ด้วยกันทั้งสิ้น

ลักษณะลวดลายและสัญลักษณ์

แก้

ลวดลายอาหรับประกอบด้วยลวดลายเรขาคณิตที่ต่อเนื่องติดกันไป บางครั้งก็จะสลับด้วยอักษรวิจิตร ริชาร์ด เอ็ททิงเฮาเซนบรรยายลวดลายอาหรับว่าเป็น “ลวดลายพืชพรรณที่ประกอบด้วยลายใบปาล์มครึ่ง...และเต็ม ที่เป็นลวดลายที่ต่อเนื่องติดต่อกันไปอันไม่จบไม่สิ้น...ที่แต่ละใบงอกออกมาจากปลายใบก่อนหน้านั้น”[11] สำหรับผู้ที่ถือปรัชญาของอิสลามลวดลายอาหรับคือสัญลักษณ์ของสหศรัทธาและวัฒนธรรมของหลักปรัชญาของศาสนาอิสลาม

 
ลวดลายเรขาคณิตอาหรับภายใต้โดมของหลุมศพของฮาเฟซที่ชิราซ

องค์ประกอบสองประการ

แก้

“ลวดลายอาหรับ” มีองค์ประกอบสององค์ องค์ประกอบแรกคือหลักการที่ใช้ในการรักษาความเป็นระบบของโลก หลักการนี้รวมทั้งหลักการพื้นฐานที่ทำให้วัตถุมีโครงสร้างที่ดีและมั่นคง นอกจากนั้นก็เพื่อความสวยงาม องค์ประกอบแรกลายเรขาคณิตแต่ละลายที่ทำซ้ำก็จะมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ในตัว เช่นสี่เหลี่ยมที่มีด้านเท่ากันสี่ด้านเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักสี่อย่างที่มีความสำคัญต่อธรรมชาติเท่า ๆ กัน: ดิน, น้ำ, ลม และ ไฟ ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปโลกที่เราเห็นอยู่ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นวงกลมภายในสี่เหลี่ยมก็จะสลายตัวและไม่อาจจะดำรงตัวอยู่ได้ องค์ประกอบที่สองมีรากฐานมาจากรูปทรงธรรมชาติของพืชพรรณต่าง ๆ องค์ประกอบนี้คือคุณสมบัติของความเป็นสตรีของการเป็นผู้ให้กำเนิด นอกจากนั้นจากการสำรวจลวดลายอาหรับแล้วบางครั้งก็อาจจะกล่าวได้ว่านอกจากองค์ประกอบสองประการดังกล่าวแล้วก็ยังอาจจะมีองค์ประกอบที่สามซึ่งก็คืออักษรวิจิตรอาหรับ

อักษรวิจิตร

แก้
 
ตัวอย่างของอักษรวิจิตรอาหรับ
 
บทเขียนจากอัลกุรอานที่เดลี

แทนที่จะแสวงหาสิ่งที่นำมาซึ่ง “ความเป็นจริงอันแท้จริง” (True Reality หรือ ความเป็นจริงในโลกทางจิตวิญญาณ) สำหรับมุสลิมแล้ว อักษรวิจิตรอาหรับคือการแสดงออกที่มองเห็นได้ของศิลปะที่เหนือศิลปะใด หรือศิลปะของคำอ่าน (หรือการเผยแพร่ความคิดและประวัติศาสตร์) ในศาสนาอิสลามเอกสารชิ้นที่สำคัญที่สุดที่ใช้เล่าขานกันคืออัลกุรอาน สุภาษิตและบทอ่านจากจากอัลกุรอานจะเห็นได้ในศิลปะอาหรับ

องค์ประกอบสามอย่างที่มารวมเข้าด้วยกันเป็น “ลวดลายอาหรับ” ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบสามอย่างที่แตกต่างกันซึ่งเป็นรากฐานของศาสนาอิสลาม

บทบาท

แก้

ลวดลายอาหรับอาจจะเป็นได้ทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ งานศิลปะในขณะเดียวกันก็เป็นงานทางคณิตศาสตร์ที่ลงตัวที่ดูแล้วมีความงดงามและเป็นสัญลักษณ์ ความเป็นสองภาคของลวดลายอาหรับทำให้แบ่งได้อีกเป็นศิลปะทางศาสนาและศิลปะของสาธารณชน แต่สำหรับชาวมุสลิมบางท่านสองสิ่งนี้ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะศิลปะทุกรูปทุกแบบ โลกที่เราอยู่ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่างก็เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนสิ่งเดียวกัน คือพระประสงค์ของพระเจ้าที่ทรงแสดงออกมาจากสิ่งที่ทรงสร้าง หรืออีกแนวคิดหนึ่งก็อาจจะกล่าวได้ว่ามนุษย์เราอาจจะเขียนรูปทรงเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นเป็นลวดลายอาหรับขึ้น แต่รูปทรงเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในการเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น

ความมีแบบแผนและความเป็นเอกภาพ

แก้

งานลวดลายอาหรับที่สร้างในบริเวณต่าง ๆ จะมีความคล้ายคลึงกัน อันที่จริงแล้วความคล้ายคลึงกันดังว่าเห็นได้อย่างชัดเจนจนกระทั่งผู้เชี่ยวชาญแทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นลวดลายอาหรับประเภทใดหรือสมัยใด ซึ่งมีสาเหตุมาจากคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสร้างงานดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นสากล

ฉะนั้นสำหรับมุสลิมโดยทั่วไปงานศิลปะที่ดีที่สุดสามารถสร้างขึ้นโดยมนุษย์เพื่อใช้ในมัสยิดคืองานศิลปะที่แสดงความมีแบบแผนและความเป็นเอกภาพเป็นพื้นฐาน ความมีแบบแผนและความเป็นเอกภาพของโลกที่เราอยู่เชื่อกันว่าเป็นเพียงเงาสะท้อนของโลกของจิตวิญญาณซึ่งตามความเชื่อของมุสลิมแล้วคือสถานที่ที่ความเป็นจริงที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้เท่านั้น ฉะนั้นการใช้รูปทรงเรขาคณิตจึงเป็นการแสดงออกความเป็นจริงอันสมบูรณ์เพราะสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างถูกบดบังด้วยบาปของมนุษย์

อ้างอิง

แก้
  1. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า 'ลายอะราเบสก์'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-06.
  2. http://dictionary.reference.com/browse/Arabesque
  3. Thompson, Muhammad. "Islamic Textile Art: Anomalies in Kilims". Salon du Tapis d'Orient. TurkoTek. สืบค้นเมื่อ 25 August 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. Alexenberg, Melvin L. (2006). The future of art in a digital age: from Hellenistic to Hebraic consciousness. Intellect Ltd. p. 55. ISBN 1841501360.
  5. Backhouse, Tim. ""Only God is Perfect"". Islamic and Geometric Art. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 25 August 2009.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Gingerich, Owen (April 1986), "Islamic astronomy", Scientific American, 254 (10): 74, สืบค้นเมื่อ 2008-05-18{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  7. Hogendijk, Jan P. (1998). "al-Khwarzimi". Pythagoras. 38 (2): 4–5. ISSN 0033–4766. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-06.
  8. Berggren 1986
  9. Struik 1987, p. 93
  10. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Abu Abd Allah Muhammad ibn Muadh Al-Jayyani", "MacTutor History of Mathematics archive"
  11. Richard Ettinghausen, Oleg Grabar, and Marilyn Jenkins-Madina, Islamic Art and Architecture, 650-1250. (New Haven: Yale UP, 2001), 66.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลายอาหรับ   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อักษรอาหรับวิจิตร