รูด็อล์ฟ เฮ็ส
รูด็อล์ฟ วัลเทอร์ ริชชาร์ท เฮ็ส (เยอรมัน: Rudolf Walter Richard Heß; 26 เมษายน 1894 – 17 สิงหาคม 1987) เป็นนักการเมืองคนสำคัญในนาซีเยอรมนี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1933 เขาดำรงตำแหน่งจนปี 1941 เมื่อเขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับเป็นนักโทษและสุดท้ายถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพ รับโทษจำคุกตลอดชีวิต
รูด็อล์ฟ เฮ็ส | |
---|---|
รองฟือเรอร์ Stellvertreter des Führers | |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน 1933 – 12 พฤษภาคม 1941 | |
ฟือแรร์ | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | มาร์ทีน บอร์มัน (หัวหน้าสำนักงานใหญ่พรรคนาซี) |
ไรช์สไลเทอร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1933–1941 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | รูด็อล์ฟ วัลเทอร์ ริชชาร์ท เฮ็ส 26 เมษายน ค.ศ. 1894 อเล็กซานเดรีย อียิปต์ จักรวรรดิออตโตมัน |
เสียชีวิต | 17 สิงหาคม ค.ศ. 1987 ซพันเดา เบอร์ลินตะวันตก ประเทศเยอรมนีตะวันตก | (93 ปี)
เชื้อชาติ | เยอรมัน |
พรรคการเมือง | พรรคแรงงานชาติสังคมนิยมเยอรมัน (NSDAP) (1920–1941) |
คู่สมรส | Ilse Pröhl (22 มิถุนายน 1900 – 7 กันยายน 1995) สมรส 20 ธันวาคม 1927 |
บุตร | วอล์ฟ รือดีเกอร์ เฮ็ส (18 พฤศจิกายน 1937 – 14 ตุลาคม 2001) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมิวนิก |
ลายมือชื่อ | |
เฮ็สสมัครเข้าเป็นทหารในกรมทหารปืนใหญ่สนามบาวาเรียที่ 7 เป็นทหารราบเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติ เขาได้รับบาดเจ็บหลายครั้งระหว่างสงคราม และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก ชั้นสองในปี 1915 ไม่นานก่อนสงครามยุติ เฮ็สขึ้นทะเบียนเพื่อฝึกเป็นนักบิน แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทนี้ เขาออกจากกองทัพในเดือนธันวาคม 1918 ด้วยยศร้อยโทสำรอง (Leutnant der Reserve)
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1919 เฮ็สสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยมิวนิก ที่ซึ่งเขาศึกษาวิชาภูมิรัฐศาสตร์กับคาร์ล เฮาโชแฟร์ ผู้สนับสนุนมโนทัศน์เลเบนซเราม์ ("ที่อยู่อาศัย") ซึ่งต่อมากลายเป็นเสาหลักของอุดมการณ์พรรคนาซี เฮ็สเข้าร่วมพรรคนาซีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1920 และร่วมกับฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1923 อันเป็นความพยายามของนาซีที่ล้มเหลวเพื่อยึดรัฐบาลบาวาเรีย ระหว่างรับโทษจำคุกจากความพยายามรัฐประหารนี้ เฮ็สช่วยฮิตเลอร์เขียนงานของเขา ไมน์คัมพฟ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานแนวนโยบายของพรรคนาซี
เมื่อนาซียึดอำนาจในปี 1933 เฮ็สได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของพรรคนาซีและได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์ เขาเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดอันดับสามในประเทศเยอรมนี รองแต่เพียงฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง นอกเหนือจากการปรากฏตัวแทนฮิตเลอร์ในการปราศรัยและชุมนุม เฮ็สลงนามผ่านกฎหมายหลายฉบับซึ่งรวมกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1935 ซึ่งถอดสิทธิของชาวยิวในประเทศเยอรมนีนำไปสู่ฮอโลคอสต์
เฮ็สยังสนใจการบิน โดยเรียนบินอากาศยานที่ซับซ้อนขึ้นซึ่งมาพัฒนาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1941 เขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเขาหวังจัดการเจรจาสันติภาพกับดุ๊กแฮมิลตัน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคนสำคัญในฝ่ายค้านของรัฐบาลอังกฤษ เฮ็สถูกจับกุมทันทีที่มาถึงและถูกอังกฤษควบคุมตัวจนสิ้นสงคราม (หลังจากฮิตเลอร์ได้ทราบการกระทำของเฮ็สทำให้เขาโกรธมากและทำการปลดเขาออกจากรองฟือเรอร์และได้แต่งตั้งมาร์ติน บอรมันแทน) เมื่อเขากลับประเทศเยอรมนีเพื่อรับการไต่สวนในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กอาชญากรสงครามคนสำคัญในปี 1946 ตลอดการไต่สวน เขาอ้างว่าป่วยเป็นภาวะเสียความจำ แต่ภายหลังรับว่าเป็นอุบาย เฮ็สถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพและคบคิดกับผู้นำเยอรมันอื่นเพื่อก่ออาชญากรรมและถูกย้ายไปเรือนจำซแพนเดาในปี 1947 ซึ่งเขารับโทษจำคุกตลอดชีวิต ความพยายามซ้ำ ๆ ของสมาชิกครอบครัวและนักการเมืองคนสำคัญเพื่อให้ปล่อยตัวเขาถูกสหภาพโซเวียตขัดขวาง ขณะยังถูกควบคุมตัวในซแพนเดา เขาเสียชีวิตโดยดูเหมือนฆ่าตัวตายในปี 1987 เมื่ออายุ 93 ปี หลังเสียชีวิต เรือนจำถูกทำลายเพื่อมิให้กลายเป็นที่บูชาของนีโอนาซี
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Allen, Martin (2004). The Hitler/Hess Deception : British Intelligence's Best-Kept Secret of the Second World War. London: Harper Collins. ISBN 978-0-00-714119-7.
- Allen, Peter (1983). The Crown and the Swastika: Hitler, Hess, and the Duke of Windsor. London: R. Hale. ISBN 978-0-7090-1294-8.
- Costello, John (1991). Ten Days that Saved the West. London: Bantam. ISBN 978-0-593-01919-1.
- Douglas-Hamilton, James (1979). Motive for a Mission: The Story Behind Rudolf Hess's Flight to Britain. Edinburgh: Mainstream. ISBN 978-0-906391-05-1.
- Haiger, Ernst (2006). "Fiction, Facts, and Forgeries: The 'Revelations' of Peter and Martin Allen about the History of the Second World War". Journal of Intelligence History. 6 (1): 105–117. doi:10.1080/16161262.2006.10555127. S2CID 161410964.
- Hess, Rudolf; Hess, Ilse (1954). Prisoner of Peace. London: Britons. OCLC 1302579.
- Hutton, Joseph Bernard (1971). Hess: The Man and His Mission. New York: Macmillan. OCLC 126879.
- Le Tissier, Tony (1994). Farewell to Spandau. Leatherhead: Ashford, Buchan & Enright. ISBN 978-1-85253-314-4.
- Leasor, James (1962). Rudolf Hess: The Uninvited Envoy. London: Allen & Unwin. OCLC 1373664.
- Padfield, Peter (1991). Hess: Flight for the Führer. London: Weidenfeld & Nicolson. ISBN 978-0-297-81181-7.
- Rees, John R; Dicks, Henry Victor (1948). The Case of Rudolf Hess: A Problem in Diagnosis and Forensic Psychiatry. New York: Norton. OCLC 1038757.
- Thomas, W. Hugh (1979). The Murder of Rudolf Hess. New York: Harper & Row. ISBN 978-0-06-014251-3.
- Schwarzwäller, Wulf (1988). Rudolf Hess: the Last Nazi. Bethesda, Md: National Press. ISBN 978-0-915765-52-2.
- Rudolf Hess autopsy results (Italian and English)
- "Reported statement by Hess". The Scotsman. Johnston Press. 14 February 2005.
- 'The Facts about Rudolf Hess', a transcript of a British Foreign Office report on Rudolf Hess's capture and subsequent interrogations. National Archives file # FO 371/34484.
- Fox, Jo (2011). "Propaganda and the Flight of Rudolf Hess, 1941–45" (PDF). The Journal of Modern History. 83 (1): 78–110. doi:10.1086/658050. JSTOR 658050. S2CID 154294679. (subscription required)
- กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ รูด็อล์ฟ เฮ็ส ในหอจดหมายเหตุข่าวสารคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของ ZBW